“นาบก” วิวัฒนาการย้อนรอย “ข้าวไร่”


ทำไมเราต้องใช้น้ำในการทำนากันอย่างมากมาย ทั้งที่ข้าวไม่ได้ต้องการน้ำมากอย่างที่ทุกคนเข้าใจ

ในการประชุมวิชาการการจัดการทรัพยากรน้ำ ที่เมืองแอดดิส อะบาบา ประเทศเอธิโอเปีย ในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น มีเรื่องหนึ่งที่กล่าวถึงกันมากก็คือ

“การลดการใช้น้ำ” หรือ “การใช้น้ำน้อยลง”

ในการประชุมนี้ มีโครงการวิจัยหนึ่งที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ไม่ต่ำกว่า ๔๐ ล้านบาท ก็คือ “การทำนาแบบลดการขังน้ำ (Aerobic Rice)

ผมแปลอย่างนี้ เพราะผมรู้สึกว่าโครงการนี้ ยังไม่เข้าสายตาผมเท่าไหร่

เพราะ แค่ระดับเกษตรกรของไทยทำได้ดีกว่านั้นมาก

ของเขามีการขังน้ำในช่วงปลายฤดูเพียงอย่างเดียว นอกนั้นแค่ดินชื้น

ได้ผลผลิต ระหว่าง ๕๐๐-๑๐๐๐ กก. ต่อไร่ (ผลผลิตจากหลายพันธุ์ และหลายประเทศ)

แต่ของเกษตรกรไทยเรา ทำที่อำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี (พ่อทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ) ทำแบบไม่ขังน้ำเลย มีแต่รดน้ำเหมือนรดผัก ปรากฏว่าได้ผลผลิตถึง ๑,๖๐๐ กก. ต่อไร่

แบบว่า ตารางเมตรละกิโลกรัมเลยครับ

Na000004

สภาพแปลงทดลอง งานปัญหาพิเศษ นักศึกษา ป ตรี

(นักศึกษากำลังกำหนดจุดเก็บตัวอย่างดินและพืช เพื่อสรุปผลการทดลอง)

ส่วนที่แปลงนาผม ทำแบบอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว บนคันนาใหญ่ ที่เป็นดินจากการขุดบ่อ ที่มีดินบนปนดินล่างแบบไม่มีสัดส่วนแน่นอน (ไม่มีการขังน้ำแน่นอน) แต่ไม่ได้ทำเป็นแปลงๆ เนื่องจากความแปรปรวนดังกล่าว

จึงหว่านข้าวและประเมินผลเป็นรายกอ ที่งอกมาจาก ๑ เมล็ด

มพบว่า ข้าวเหนียว กข ๖ มีการเจริญจนให้ผลผลิตได้ กอละ ๒๐-๓๐ รวง

Dscf2435s

ข้าวพันธุ์ กข ๖ ที่เจริญในจุดที่ดินค่อนข้างดี (มีดินชั้นบนมากหน่อย) 

แต่ไม่มีการขังน้ำตลอดฤดูการปลุก

ทั้งๆที่เป็นดินชั้นล่างขุดใหม่ๆ ไม่มีการปรับปรุงดินใดๆทั้งสิ้น

เพราะต้องการทดสอบดินในการทำเป็นงานศึกษาของนักศึกษา ในวิชาปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี แบบแทบไม่มีต้นทุนการวิจัย

Na000001

ต้นข้าวที่ขาดทั้งน้ำและปุ๋ย (ดินอุดมสมบูรณ์ต่ำ)

แทบไม่ออกดอก และไม่น่าจะให้ผลผลิต

(เป็นภาพฝังใจชาวบ้านทั่วไปว่า "ข้าวต้องการน้ำ")

เพราะผมใช้คันนา และเมล็ดข้าวที่ผมมีอยู่แล้วในการวิจัย

แต่

ผลผลิตที่ได้จะแปรปรวนไปตาม ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

กล่าวคือ ในจุดที่ดินพอใช้ได้เท่านั้นที่จะให้ผลผลิตสูง

แต่จุดที่เป็นดินล่างล้วนๆนั้น แทบไม่โต และส่วนใหญ่ไม่ได้ผลผลิต

ที่แตกต่างจากสภาพที่มีน้ำแช่ขังนั้น จุดที่ดินดีหรือไม่ดี ผลผลิตจะแตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น

ผมจึงได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า

การใช้น้ำแช่ขังข้าวเป็นการช่วยละลายธาตุอาหารพืชให้กับข้าวได้ดี

แต่ถ้าเราปรุงดินให้ดีขึ้น ความต้องการน้ำแช่ขังจะลดลงทันที หรือไม่ต้องมีเลยก็ได้

ดังนั้น

การประหยัดน้ำในการทำนาจึงอยู่ที่การปรุงดินให้ดีพอที่ข้าวจะได้รับธาตุอาหารเพียงพอ เช่นเดียวกับ “ข้าวไร่” ที่เป็นวิถีเดิมของคนไทยในอีสานมานานหลายร้อยปี

ทำให้ผมเพิ่งเข้าใจว่า

ทำไมเราต้องใช้น้ำในการทำนากันอย่างมากมาย ทั้งที่ข้าวไม่ได้ต้องการน้ำมากอย่างที่ทุกคนเข้าใจ

ขอแค่มีความชื้นในดิน และดินมีธาตุอาหารเพียงพอที่ข้าวจะโตได้ ก็พอแล้ว

ผมจึงกำลังร่างโครงการเชิงนโยบายที่จะใช้การปรับปรุงดินในระบบเกษตรอินทรีย์ ทดแทนการใช้น้ำจำนวนมาก ดังที่ทราบกันทั่วไป ว่า

·        การปลูกข้าวต้องใช้น้ำมาก

·        และเกษตรกร ก็มีแต่ร้องขอน้ำ (ที่มีอยู่อย่างจำกัด) ในการทำนา

เท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

แต่ถ้าเราหันมาปรุงดินแบบเกษตรอินทรีย์แล้ว การใช้น้ำ ไม่ต้องมากก็ได้

ผมจึงไม่สงสัยเลยว่าทำไม เกษตรอินทรีย์ที่ ยโสธร เกษตรกรใช้ไม้สัก น้ำหยอดจากพวยกา แล้วดำนา ก็ยังได้ผล

Oa398

ารทำนาอินทรีย์ที่ขาดแคลนน้ำที่ยโสธร สิงหาคม ๒๕๕๑

าเหตุที่ต้องเป็นเกษตรอินทรีย์ เพราะ เพื่อลดความจำเป็นของการใช้น้ำละลายปุ๋ยเคมี

งานนี้กำลังได้รับความสนใจจากทั้งเกษตรกร และทางฝ่ายบริหาร โดยเลขาฯ รัฐมนตรี กระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้ขอให้ผมนำเรื่องนี้ไปส่งให้ เพื่อการพิจารณาหารือร่วมกับ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ประมาณสัปดาห์นี้

นี่คือ ที่มาของการเขียนเรื่องนี้ครับ

และผมอาจจะพิจารณาขอรับการสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานให้ทุนที่เกี่ยวข้อง

ขนาดงานที่ทาง IRRI ทำไม่ค่อยอะไรสักเท่าไหร่ ยังได้งบตั้ง ๔๐ ล้านบาท

ผมมักน้อย ขอแค่สักระดับเงินแสนก็พอ

และคิดว่าจะทำงานได้มากกว่าระดับที่นักวิชาการระดับโลกที่ IRRI ทำได้แน่นอน

ผมมั่นใจในทีมงานและเครือข่ายครับ

และน่าจะคุ้มค่าแน่นอน กับการประหยัดการใช้น้ำและงบการจัดหาน้ำในระดับประเทศได้ หลายล้านลูกบาศก์เมตรต่อฤดูกาล

จึงขออนุญาตกราบเรียนท่านรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องครับ

สวัสดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 223417เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

สวัสดีค่ะ อันเป็นลูกหลานชาวนาคนหนึ่ง ประสบปัญหาและอุปสรรคในการทำนาหลาย

อย่าง รวมทั้งเรื่องของ "น้ำ" ในพื้นที่ที่นาของครอบครัวที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ อันจึงสนใจเรื่อง “การลดการใช้น้ำ” หรือ “การใช้น้ำน้อยลง”

ของท่านอาจารย์เป็นอย่างมากค่ะ

ขอบพระคุณครับ

คราวนี้ชาวนาคงจะได้แนวทางปฏิบัติแบบใหม่ที่ให้ผลผลิตดีต้นทุนต่ำ

และที่สำคัญคือการไม่ยึดติดกับสิ่งที่ผ่านมา ทำตามกันจนลืมพื้นฐานความเป็นจริงที่พืชต้องการ ขอแค่ความพอดี ทุกอย่างก็ลงตัวอย่างเหมาะสม

ที่ประจวบฯ เค้าปลูกมันเทศในดินทรายใช้ระบบรดน้ำวันละ 3 เวลา เหมือนคนเลยครับกินวันละ 3 มื้อให้ปุ๋ยเคมี 1-2ครั้ง ก็ได้ผลผลิตดีครับ แต่ถ้าเขาหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพก็น่าจะดีกว่า(ด้านคุณภาพผลผลิตนะครับไม่ใช่ด้านปริมาณ) ซึ่งกระผมเจอเพียงป้าเมียดที่พยายามทำให้ลูกใช้ ทราบจากป้าเมียดว่าได้ผลดีแต่เพื่อนไม่ทำตามครับ เนื่องจากส่วนใหญ่ยึดติดรูปแบบเดิมที่ทำตามกันมาครับ ถ้าเขาทำด้วยความเข้าใจก็คงหันมาใช้แบบช้าๆแต่มั่นคงครับ อิอิ ท้ายนี้ขอให้อาจารย์ประสบความสำเร็จเร็วๆนะครับ เกษตรกรจะได้ตาสว่างซะที นะครับ (เมื่อก่อนกระผมกับป้าเมียดก็พยายามทดลองและนำไปให้เกษตรกรรายอื่นทดลองใช้ แต่ส่วนใหญ่ใจร้อนครับไม่ค่อยอยากรอก็หันกลับไปใช้เคมีเหมือนเดิม จนกระทั่งหันมาปลูกมันเทศที่ต้นทุนต่ำทำให้ยิ่งไม่สนใจปุ๋ยชีวภาพ มีเพียงป้าเมียดครับที่รักเดียวใจเดียวกับชีวภาพ ขอขอบพระคุณป้าเมียดครับ แต่ตอนนี้ป้าหันไปขายก๋วยเตี๋ยว เนื่องจากเคยถูกขโมยเครื่องสูบน้ำครับจึงเปลี่ยนอาชีพ อนาคตคงจะกลับไปทำเกษตรอินทรีย์ที่ที่ดินของตนเอง เนื่องจากที่ๆเช่าถูกเจ้าของใหม่ทำโครงการบ้านจัดสรร ชีวิตก็เพียงเท่านี้ครับ)

ผม นายกรัฐมนโทในฐานะประธานคณะรัฐมนโท ขออนุมัติงบประมาณสำหรับโครงการวิจัยนี้มีผลทันที

ขอสนับสนุนโครงการวิจัยนี้ของคุณครูแสวงหมดใจเลยครับ เพื่อแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนให้กับเกษตรกรไทยและเกษตรกรทั่วโลกครับ

ผมจะขออนุญาตคุณครูแสวงไว้ ณ.ที่นี้เลย ที่จะนำข้อมูลของคุณครูไปให้เครือข่ายชาวนาที่ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง ไว้เป็นกรณีศึกษาและแบบเรียน บังเอิญว่าเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 พย.51 ที่ผ่านมา ภรรยาเพิ่งจะพาลูกชยคนโตชั้น ป5ไปเรียนรู้การเป็นชาวนาที่ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง และหัดดำนาด้วย ครับ และคาดว่าราวเดือน กพ.52 จะพาเค้าไปเกี่ยวข้าวที่เค้าดำไว้ด้วยครับ

  • ตามมาอ่าน มาชื่นชม และมาเชียร์ให้ได้อะไรตามใจนึก
  • หมายถึงที่การสนับสนุน การศึกษาต่อเพื่อหาคำตอบ ที่ยังคาใจ เพื่อประโยชน์แห่งมหาชนต่อไปให้ยิ่งๆขึ้นนะครับ
  • พอบอกว่า  “ข้าวไร่” ที่เป็นวิถีเดิมของคนไทยในอีสานมานานหลายร้อยปี ทำให้นึกถึงความหลังว่าครั้งกระโน้น สมัยเด็กๆ  ที่บ้านผมทางใต้ เราทำนาเอาข้าวไปขาย  แต่ปลูกข้าวไร่เอาไว้กินครับ 
  • ข้าวไร่เขาจะใช้วิธีเก็บมาเป็นรวง มัดสวยงาม  ส่วนข้าวนาจะเกี่ยวแล้วเป็นมัดเป็นฟ่อน
  • เดี๋ยวนี้หรือครับ .. ทุ่งนาที่เคยวิ่งเล่น หาปลา ตกปลา กลายเป็นสวนปาล์ม สวนยางไปมากแล้ว  คนทำนามีน้อยลงทุกที
  • คิดถึงครับ

กราบเรียนท่านรัฐมนโท

ผมจะส่งโครงการได้ที่ไหนครับ อิอิ

  • แถวบ้านเรียก "นาดอน" บ้าง "นาโคก"บ้างครับ
  • Dsc00894 
  • ผมเก็บภาพมาบอกพี่น้องชาวนาว่าเป็นนาที่ดีที่สุด จัดการง่ายที่สุด ต้นทึนต่ำที่สุด และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้าวพันธุ์ไหน
  • เทียบกับนาลุ่มแบบนี้ http://gotoknow.org/file/kruwoot/napajon1.jpg แล้วคนละเรื่อง
  • แต่น่าเสียดายที่พี่น้องมักทำนาดีๆให้เป็น "นาพาจน" แบบนี้ http://gotoknow.org/file/kruwoot/napajon6.jpg และแบบนี้ http://gotoknow.org/file/kruwoot/e4.jpg กันเป็นส่วนใหญ่
  • เพราะขาดการสังเกต ศึกษาเรียนรู้  และใส่ใจอย่างจริงจังครับ
  • สวัสดีครับ

คุณครูแสวงครับส่งมาที่ http://gotoknow.org เลยครับ พวกเราในฐานะสมาชิก gotoknow และสมาชิกคณะรัฐมนโทจะรีบพิจารณาอนุมัติให้ทันทีในสมัยประชุมนี้ครับ รับรองว่าก่อนคณะรัฐมนตรีสมหญิงแน่นอนครับ 5555

ขอบคุณครับท่านรัฐมนโท และครูวุฒิ

ผมว่าเรามาทำงานร่วมกันดีกว่าครับ

ผมว่านี่คือ "เส้นทางกู้ชาติ" ครับ

ทั้งเกษตรอินทรีย์และการใช้น้ำน้อย

ผมจะค่อยๆขยายความในโอกาสต่อไปครับ

ได้เลยครับคุณครู เดียวไปเอามือตบของลูกก่อน 555 เกษตรอินทรีย์และการจัดการน้ำโดยการใช้น้ำแต่พอเพียงเป็นหนทางเดียวครับที่เป็นหนทางรอดของเกษตรกรจริงๆครับ นี้ผมให้ความเห็นในฐานะพ่อค้าคนหนึ่งเลยครับ อีกอย่างที่จะฉายภาพให้เห็นคือ การรับจำนำสินค้าเกษตรหลายๆตัว ผมขอถามว่าใครเคยเห็นโรงรับจำนำช่วยให้คนใช้บริการมีฐานะดีขึ้นบ้างครับ การรับจำนำสินค้าเกษตรก็ เหมือนกับรัฐบาลเป็นโรงรับจำนำนั่นแหละครับ ไม่ว่าคุณจะเอาระบบการนำเงินตรงไหนมาใช้ หรือเปลี่ยนแปลงระบบการจำนำอย่างไร คุณก็คือโรงรับจำนำ ดังนั้นโรงรับจำนำก็ไม่ได้ทำให้คนใช้บริการมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเลย แต่รัฐมนตรีเกษตรทุกยุคทุกสมัยก็ทำตัวเป็นโรงรับจำนำมาตลอดเลย ไม่เคยสอนให้เกษตรกรบริหารจัดการตัวเค้าเองในทุกๆเรื่อง

ตอนนี้ยางพาราก็กำลังจะกลายเป็นตัวปัญหาให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาเป็นโรงรับจำนำเป็นชนิดต่อไปหล่ะครับ ไหนจะราคาดิ่งพสุธาเนื่องจากจีนลดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุตสหกรรมรถยนต์ซึ่งเป็นตัวดันราคายางพาราให้สูงริบในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา ไหนจะพื้นที่ปลูกที่เพิ่มขึ้นในภาคอีสานและเหนือจะทำให้มีsupplyเพิ่มขึ้นอีกใน1-5ปีข้างหน้านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3ปีข้างหน้าเนื่องจากโครงการกล้ายางครับ

ผมอยากรู้ว่ามันจะมีปัญหาวัชพืชหรือเปล่าครับถ้ามีจะแก้ไขอย่างไร

วัชพืชในนา ส่วนใหญ่เมล็ดมากับน้ำ และตกค้างในดินบ้าง

วัชพืชบนบก เมล็ดมีแค่ตกค้างในดิน กับปลิวมาบ้าง

เราต้องกันที่ต้นเหตุและปลายเหตุ

คือกำจัดที่ตกค้างออกซะก่อน การคลุมดินก็ลดการงอก และการเจริญของต้นวัชพืช

ตอนนี้ผมกำลังลองหลายแบบ

และแบบที่ชาวบ้านกลัวมาก คือ "หญ้าหวาย" ผมนำมาปลูกที่นา เพื่อ "ลอง" การกำจัด

ภายใต้แนวคิด "ถ้าผมกลัวหญ้า แสดงว่าสมองผมเล็กกว่าต้นหญ้า"

แต่ ผมเชื่อว่าสมองผมใหญ่กว่าต้นหญ้า ผมเลยไม่กลัวหญ้า ครับ

ผมก็คิดว่าสมองท่านน่าจะใหญ่กว่าต้นหญ้านะครับ อิอิ

มาใช้สมองกำจัดหญ้า แทนการยืมปัญญา(ที่ป็นพิษ)ของคนอื่นโดยการใช้สารเคมี และต้นทุนอื่นๆ ที่แพงกันเถอะครับ อิอิ

โครงการดีๆ เข้าใจและยินดีเป็นเครือข่าย...ครับอาจารย์??...ผมเปิดศูนย์เรียนรู้แล้ว..อาจารย์ว่างๆ..มีโอกาสเชิญแวะเยี่ยมบ้างน่ะครับ.."ศูนย์เรียนรู้ทักษะชีวิตบ้านสวนไร่นา" อำเภอลำปลายมาศ บุรีรัมย์ ครับ?..

นาแบบนี้จะต้องปรุงดินมากแค่ไหน ถ้าแร่ธาตุในดินเท่ากับ 0.3 - 0.1

ดินที่ผมทำ ไม่ได้ปรับปรุงอะไรเลย จึงได้ผลผลิตเป็นจุดๆ

มีทั้งโตดี และไม่ได้ผลผลิตเลย

ผมคิดว่า ต้องรอผลการวิเคราะห์ดินก่อนครับ

แล้วจะรายงานให้ทราบครับ

เรียนท่าน ผอ ถนอม

วันหลังผ่านไปจะแวะเยี่ยมครับ

คิดว่าคงยังใช้มือถือเบอร์เดิมนะครับ

ถ้าเปลี่ยน แจ้งด้วยครับ

ทางอีเมล์ก็ได้ครับ

ผมอยากทราบว่าหลังการเก็บเกี่ยวเสร็จ เราควรที่จะปลูกพืชอะไรต่อจากข้าวครับ เพื่อบำรุงดินครับ และต้องเป็นพืชที่ไม่ต้องเอาใจใส่มาก ไม่ต้องมีการจัดการมากมายนะครับ..

พืชอะไรก็ได้ เราเรียกว่า "ปุ๋ยพืชสด" ครับ

 

ขอแลกเปลี่ยนกับอาจารย์นะครับ

ผมเคยเห็นงานทดลองเกี่ยวกับข้าวน้ำน้อยอีกแบบนะครับ คือ การทำข้าวแบบประณีต หรือ SRI(System Rice Intensification) ซึ่งมีหลักการพื้นฐานอยู่ที่การปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักในปริมาณสูง, การปักดำข้าวต้นเดียวในระยะที่เหมาะสม(ขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน), การให้น้ำแบบแห้งสลับเปียกหรือให้น้ำที่ผิวดินไม่เกิน 5 เซนติเมตร รวมไปถึงการป้องกันแมลงศัตรูพืช ปูนา และหอยเชอรี่ด้วยกับดักและชีววิธี เช่น ใช้ไหดักปูนา การใช้สารสกัดสมุนไพร

ซึ่งผมก็ตามไปคุย ไปดูกับมูลนิธิข้าวขวัญ ที่สุพรรณบุรี และสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนที่เชียงใหม่ ก็ได้ประเด็นค้นพบเพิ่มเติมว่า การใช้ข้าวพันธุ์พื้นบ้านจะตอบสนองกับระบบดังกล่าวได้ดีกว่าข้าวพันธุ์ปรับปรุง(เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปกลับมา วันนั้นแบตเตอรี่กล้องผมหมดพอดีเลย)

น่าจะนำมาปรับใช้กับ การทำนาในอีสานได้นะครับ โดยประยุกต์ภูมิปัญญาแบบที่อาจารย์ถ่ายรูปมาให้ดูนี่นะครับ และน่าลองใช้ข้าวพื้นบ้านที่ชอบพื้นที่ดอนด้วยนะครับ น่าสนใจมากๆ เลยครับ

สนับสนุนอาจารย์ตลอดไปครับ

นาน้ำน้อย มีวัชพืชรบกวนมากไหมครับ ถ้ามีมากเราจะจัดการกับมันยังไงดี โดยไม่ต้องใช้สารเคมี

ปี51อาจารย์ได้ผลผลิตข้าวเท่าไหร่ครับต่อไร

ปี52อาจารย์คิดว่าจะได้เพิ่มขึ้นไหมครับ ทำยังไง

ทุกๆปีอาจารย์ได้ผลผลิตเพิ่มตลอดหรือเท่าเดิมหรือน้อยลง

อาจารย์ลองปลูกข้าวพันธุ์อื่นๆนอกจากที่เคยปลูกบ้างยังครับ

ขอบคุณครับ

นาหลุมที่ชาวบ้านทำได้ผลดีกว่านาหว่าน เพราะหญ้าน้อย หรือแทบไม่มีครับ

นาไม่ขังน้ำ ก็แบบเดียวกับข้าวไร่ครับ

ปราบหญ้าให้อยู่ แล้วไม่ต้องดูแลมากครับ

แล้วนาบนภูเขานี่จะปรับปรุงดินอย่างไรดีครับ

เพราะฝนตก ช้ำก็ชะปุ๋ยออกไปหมด

นี่คือที่มาของการทำคันดินไงครับ

รวมทดลองปลูกด้วยคนนะคะ

เตรียมดินแล้ว โดยใช้รถแทรกเตอร์ผานดินขึ้นมาแล้วไถกลบ

ขอเมล็ดข้าวจากเพื่อนไว้แล้ว 1 กิโล

แต่เอ...พื้นที่ทดลอง 1 งาน ต้องใช้เมล็ดจำนวนเท่าไหร่คะ

หลังจากอ่านนาบกของอ. และอ่านทุกคอมเม้นท์แล้วก็อยากกลับไปไร่

แม้ว่าอ.จะเขียนบันทึกนี้ตั้งแต่ปี 51 ปีนี้เพิ่งให้ความสนใจเร่องพืช ไร่ พืชสวน

วันหยุดนี้จึงกลับและได้ข้อคิดมากมายค่ะ ชาวไร่ที่นี่ชอบปลูกอ้อย

เพราะไม่ต้องทำอะไรกับมันมาก รวมทั้งมันสัมปะหลัง

ไม่นิยมปลูกพืชสวนครัว ก็งง เหมือนกัน

สิ่งที่เราอยากรู้ชาวไร่มันไร่อ้อยก็บอกว่าไม่รู้ทำไม่เป็น

แม้ไร่มะม่วงก็ราดเคมีอย่างเดียวต้นทุนสูงแม้ว่าจะขายได้ราคาก็เถอะ

หักลบกันแล้วเหลือไม่พอใช้ งงไปกว่านั้นคือเขาไม่สนปุ๋ยชีวภาพเอาเสียเลย

เสียดายจังเลยที่หลายหน่วยงานพยายามอบรมให้ความรู้..แล้วมันก็หายไป

อ่านบันทึกนี้แล้วจึงรู้ว่าดินก้นบ่อปลูกข้าวไม่ได้ผล อิอิ

ก็รู้สึกอยากลองอยากทดลองเอาปุ๋ยหมักที่ทำเองไปละเลงในแปลงทดลอง

ทิ้งไว้สัก 1 สัปดาห์ ค่อยขุดดินเป็นหลุมเตรียมปลูกข้าว

ทำอย่างนี้ไม่ทราบว่าถูกวิธีทำนาไหมคะ

ไม่เคยทำนาเลย แต่ตอนนี้กำลังเริ่มทำนาอินทรีย์ แบบนาหว่านครั้งแรกในชีวิต กำลังเรียนรู้การทำนาแบบนี้ เพราะสนใจเรื่องการใช้ต้นทุนต่ำแต่ได้ข้าวที่มีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิงแวดล้อม ผืนนาอยู่ที่ลำปลายมาศ บุรีรัมย์ ต้องการคำแนะนำจากผูมีประสบกาณ์ช่วยชี้แนะแนวทางการทำนาอินทรีย์แบบยั่งยืน และถ้าใช้น้ำน้อยแต่ได้ผลผลิตดีก็ถือเป็นเทคนิคที่ยอดเยี่ยมสุดยอดเลยค่ะ ช่วยแนะนำลูกหลานที่มีใจรักอาชีพชาวนาด้วยนะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ลองไปอ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้วจะเข้าใจครับ

ข้าวไม่ต้องการน้ำมากกว่าพืชอื่น ทุกอย่างเป็นค่านิยม และความเข้าใจคลาดเคลื่อนครับ

ขอบพระคุณมากครับสำหรับข้อมูล ผมจะลองทำดูครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท