กิจกรรมบำบัดเพื่อคุณภาพชีวิตทางสังคม
บทความอ้างอิง: Everard, K.M., Lach, H.W.,
Fisher, E.B., & Baum, M.C. (2000). Relationship of activity and
social support to the functional health of older adults. The
Journals of Gerontology; 55B (4):
S208-12.
ในยุคปัจจุบัน นักวิชาการทางการแพทย์ได้กำหนดค่าดัชนีของคุณภาพชีวิตทางสังคม ได้แก่ ค่ารางวัลแห่งชีวิตของวัยผู้สูงอายุ (Successful Aging) โดยมีความหมายรวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจที่มีสุขภาพดี ไม่มีโรคและความพิการ และมีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
กลุ่มวัยผู้สูงอายุเหล่านี้ จะต้องพัฒนาแนวทางการดำรงชีวิตได้อย่างเป็นระบบ คือมีสุขภาพกายและจิตที่ดีในการทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดระยะเวลาของการดำรงชีวิตในวัยทำงาน มีความสามารถในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทางสังคม ได้อย่างมีความสุข ในขณะเดียวกันการได้รับความช่วยเหลือจากสังคม (Social Support) ในวัยผู้สูงอายุก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนถึง การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมตลอดระยะเวลาของการมีส่วนร่วมบำเพ็ญประโยชน์ในสังคม ตั้งแต่วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ จนถึงวัยผู้สูงอายุ เมื่อมีสุขภาวะที่ไม่สบายกายไม่สบายใจเมื่อใด การได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ดีทางสังคมก็ช่วยรักษาความไม่สบายการไม่สบายใจนั้น เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อการกุศลทำให้หัวใจอิ่มบุญ เป็นต้น
“ไม่สิ้นไร้คนดี
ในสังคม” สะท้อนความรู้สึกของคนไทย
ที่ร่วมด้วยช่วยกันประคับประคองพลเมืองดีของชาติในวัยผู้สูงอายุ
ให้สามารถนำประสบการณ์ที่ดีในชีวิตมาถ่ายทอดให้รุ่นลูกรุ่นหลานนำมาพัฒนาประเทศชาติสืบไป
ในขณะเดียวกันรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างพวกเรา
ก็ต้องรู้จักนำกิจกรรมที่ดีมาเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเหล่านี้ด้วย
ผู้เชี่ยวชาญทางกิจกรรมบำบัด (Occupational
Therapist) ได้แบ่งระบบการทำกิจกรรมอยู่สี่ระดับ ได้แก่
ระบบที่หนึ่ง คือ กิจกรรมที่ต้องอาศัยเครื่องมือ (Instrumental activities) เช่น ช๊อปปิ้ง ทำอาหาร ทำงานบ้าน
ระบบที่สอง คือ กิจกรรมทางสังคม (Social activities) เช่น เดินทาง ปาร์ตี้ ไปแหล่งบันเทิง การบำเพ็ญประโยชน์
ระบบที่สาม คือ กิจกรรมยามว่างที่ใช้แรงมาก (High-demand leisure activities) เช่น ว่ายน้ำ ทำสวน เดินเล่น
ระบบที่สี่ คือ กิจกรรมยามว่างที่ใช้แรงน้อย (Low-demand leisure activities) เช่น อ่านหนังสือ ดูทีวี ฟังเพลง
คำถามคือ “กิจกรรมในระบบใด
ที่เราควรแนะนำให้กลุ่มผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมปฏิบัติ
เพื่อบรรลุเป้าหมายของการรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีทางสังคม”
คำตอบคือ เมื่อเรียงตามลำดับความสำคัญของระบบการทำกิจกรรม
กิจกรรมยามว่างที่ใช้แรงมาก กิจกรรมทางสังคม
และกิจกรรมที่ต้องอาศัยเครื่องมือ
ช่วยพัฒนาสุขภาพทางกายของวัยผู้สูงอายุ
ในขณะที่กิจกรรมยามว่างที่ใช้แรงน้อย
ช่วยพัฒนาสุขภาพทางจิตใจของวัยผู้สูงอายุ
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม มีความสำคัญมากกว่า การรอคอยความช่วยเหลือทางสังคม นั่นคือไม่ว่าท่านจะอยู่ในวัยใดก็ตาม การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อเป็นพลเมืองดีทางสังคม สามารถก่อให้เกิดคุณค่าและรางวัลแห่งชีวิตแก่ทุกๆท่าน ก่อนถึงวัยผู้สูงอายุครับ