นโยบายอาชีวศึกษา : อยากเรียนต้องได้เรียน


แนวคิดการเปิดรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวนในลักษณะที่เรียกว่า อยากเรียนต้องได้เรียน โดยรับนักศึกษาที่ประสงค์จะเข้าเรียนในสาขาวิชาต่าง ๆ ในแบบที่เรียกว่าไม่อั้น ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของนักศึกษาอาชีวศึกษามาเป็นเวลานาน ขณะที่หลักคิดของผู้บริหารอาชีวศึกษาก็คือ การเพิ่มจำนวนนักศึกษา เพราะมีผลต่อการเพิ่มของงบประมาณ ขณะที่หลักคิดของหน่วยงานอย่าง สมศ. มองว่าการเพิ่มปริมาณมีผลต่อคุณภาพ เป็นสิ่งที่สวนทางกัน

แนวคิดการเปิดรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวนในลักษณะที่เรียกว่า  อยากเรียนต้องได้เรียน โดยรับนักศึกษาที่ประสงค์จะเข้าเรียนในสาขาวิชาต่าง ๆ ในแบบที่เรียกว่าไม่อั้น   ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของนักศึกษาอาชีวศึกษามาเป็นเวลานาน   ขณะที่หลักคิดของผู้บริหารอาชีวศึกษาก็คือ การเพิ่มจำนวนนักศึกษา  เพราะมีผลต่อการเพิ่มของงบประมาณ   ขณะที่หลักคิดของหน่วยงานอย่าง สมศ. มองว่าการเพิ่มปริมาณมีผลต่อคุณภาพ  เป็นสิ่งที่สวนทางกัน   

ขณะที่ความจริงก็คือ หลักคิดของอาชีวศึกษา  ต้องการงบประมาณเพิ่ม  เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพราะนักศึกษา ปวช. เรียนฟรี  ทำให้ไม่มีเงินที่เก็บจากนักศึกษา  ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการก็ไม่ได้เพิ่มงบประมาณจากเดิมให้เพียงพอ   ผลพวงมาจากนโยบายเรียนฟรี 12 ปี  แต่ไม่สอดคล้องกับการจัดงบประมาณของอาชีวศึกษา

ขณะที่อาชีวศึกษาเองก็กำลังจะก้าวไปสู่ระดับปริญญาตรี   ทำให้หลายหน่วยงานมีความเป็นห่วงเพราะการจัดในระดับ ปวช.,ปวส. ก็ยังมีปัญหาอยู่มาก   การจัดระดับปริญญาตรีโดยไม่ได้เตรียมการใด ๆ มาเลย ความพร้อมค่อย ๆ สร้าง   ก็จะกลายเป็นปัญหาระยะยาวในอนาคตเช่นกัน

 

 

http://www.thairath.co.th/news.php?section=education&content=110631

ไทยรัฐ
ปีที่ 59 ฉบับที่ 18555 วันอาทิตย์ ที่ 9 พฤศจิกายน 2551

สอศ.เลิก “อยากเรียนต้องได้เรียน” [8 พ.ย. 51 - 04:41]
 
เมื่อวันที่ 7 พ.ย. นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ “ครบรอบ 8 ปี สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)” โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า 8 ปีที่ผ่านมา สมศ.ได้ประเมินสถานศึกษาเป็นจำนวนมาก แต่ยังมีสถานศึกษาอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของ สมศ.หรือแม้แต่สถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สมศ.ไปแล้ว จะทำอย่างไรให้สถานศึกษาเหล่านั้นรักษามาตรฐานรวมถึงทำให้มีมาตรฐานดียิ่งๆ ขึ้นไป ถือเป็นโจทย์ที่ต้องขบคิดต่อไป ด้าน ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการ สมศ. กล่าวว่า การประเมินสถานศึกษาในรอบ 2 (พ.ศ. 2549-2553) ขณะนี้ดำเนินการมาได้ 3 ปี ซึ่งยังเหลือสถานศึกษาที่ยังไม่ได้ประเมินดังนี้ ระดับขั้นพื้นฐาน 6,000 แห่ง ระดับอาชีวะ 180 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 36 แห่ง คิดว่าจะสามารถประเมินและสังเคราะห์ข้อมูลได้แล้วเสร็จทันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม จากการประเมินเบื้องต้นพบว่ามีสถานศึกษามีคุณภาพดีขึ้นกว่ารอบแรกในทุกระดับโดยเฉลี่ยประมาณ 5% แต่ยังถือว่าไม่น่าพอใจนัก โดยเฉพาะระดับอาชีวะและอุดมศึกษา ยังไม่สามารถผลิตกำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานได้ ทั้งนี้ การที่สถานศึกษามีคุณภาพดีขึ้นไม่มากนัก ก็เนื่องจากปัญหาขาดแคลนครูอาจารย์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณยังไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ตนยังยืนยันว่าสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ควรยกเลิกนโยบายเด็กอยากเรียนอะไรก็ต้องได้เรียน เพราะทำให้ ไม่ได้คัดเลือกเด็กที่มีคุณภาพเข้ามาเรียนสายอาชีวะ และยิ่งกว่านั้นสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือให้อาชีวะเปิดสอนถึง ปริญญาตรี ซึ่งคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างเข้มงวด ไม่เช่นนั้นปริญญาตรีจะเฝือและไม่มีคุณภาพ.

หมายเลขบันทึก: 221778เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2008 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มหาวิทยาลัยบางแห่ง ก็เป็นเช่นเดียวกัน รับ สองสามรอบ นักการศึกษาต้องแก้ให้ตรงจุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท