กินปลาทูป้องกัน "โรคหัวใจ"


ปลาทูจะมีสารโอเมก้า 3 ค่อนข้างมาก ในเนื้อปลาทู 100 กรัมมีสารโอเมก้า 3 ราว 2-3 กรัมโดยปกติในหนึ่งวันร่างกายต้องการโอเมก้า 3 ประมาณวันละ 3 กรัมต่อวันการรับประทานโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3 ทำให้ร่างกายขาดความสมดุล ส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบขึ้นในระบบต่างๆ ภายในร่างกาย

ปลาทู ปลากะพง ก็มี "โอเมก้า 3"

 

            "โอเมก้า 3" ที่มีอยู่ในน้ำมันปลา ซึ่งเป็นไขมันประเภทอิ่มตัว มีประโยชน์ในเรื่องลดอัตราการตาย จากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตีบ และยังลดคอเลสเตอรอล  ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งลดความหนืดของเลือด ลดการอักเสบ ทำให้ความข้นในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

            การรับประทานน้ำมันปลา จะสร้างความสมดุลปรับระดับเลือดในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ ไขมันปลาประกอบด้วยสารอีพีเอและดีเอชเอ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีอยู่ในปลาทะเลน้ำลึกในเขตหนาว เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล

 

            ส่วนเมืองไทยปลาเหล่านี้มีราคาสูง จึงแนะนำให้รับประทานปลาทู และปลากะพง ทดแทน เพราะปลาทูจะมีสารโอเมก้า 3 ค่อนข้างมาก ในเนื้อปลาทู 100 กรัมมีสารโอเมก้า 3 ราว 2-3 กรัมโดยปกติในหนึ่งวันร่างกายต้องการโอเมก้า 3 ประมาณวันละ 3 กรัมต่อวัน

 

            อย่างไรก็ตาม การจะรับประทานอาหารเสริมน้ำมันปลาซึ่งมีโอเมก้า 3 นั้น ต้องได้รับการตรวจเช็กจากแพทย์ก่อนว่าร่างกายขาดโอเมก้า 3 หรือไม่ เพราะหากร่างกายได้รับสารโอเมก้า 3 เพียงพอแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำมันปลามารับประทาน

อ้างอิงจาก : http://www.thaihealth.or.th/node/5640


กิน ปลาทู สู้โรคหัวใจ - บำรุงสมอง
ลดการอักเสบพร้อมปรับสมดุลระดับเลือดในร่างกายให้เป็นปกติ

ในปัจจุบันนี้ ผู้คนต้องทำงานหนัก ทำให้เกิดภาวะเครียด ขณะที่บางคนรับประทานอาหารแต่ละมื้อไม่ครบ 5 หมู่ ประกอบกับมลพิษที่อยู่ในอากาศ เกิดอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ มากขึ้นกว่าในอดีต
ดังนั้น วิตามินและอาหารเสริมจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิต โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในน้ำมันปลาที่หลายๆ คนรู้จัก เนื่องจากโอเมก้า 3 เป็นไขมันประเภทไม่อิ่มตัว มีประโยชน์ในเรื่องลดอัตราการตายจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตีบ และยังลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ตลอดถึงยังลดความหนืดของเลือด ลดการอักเสบ รวมทั้งสร้างความสมดุลและปรับระดับเลือดในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติได้
แต่ปัญหาก็คือสารอาหารเหล่านี้มีอยู่ในปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในเขตหนาว อย่างปลาแซลมอน ปลาเม็คเคเรล ทำให้ราคาของปลาเหล่านี้เมื่อนำมาจำหน่ายในเมืองไทยมีราคาค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ย่อมมีทางแก้


ศ.นพ.ปิติ พลังวชิรา ให้คำแนะนำว่า
ศ.นพ.ปิติ พลังวชิรา
ผอ.ศูนย์โรคผิวหนัง คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผู้เชี่ยวชาญด้าน
Antiaging Medicine ให้คำแนะนำว่า เมื่อปลาเหล่านี้มีราคาแพง จึงอยากแนะนำให้คนไทยรับประทานปลาทู และปลากระพง ทดแทน เพราะในปลาทูจะมีสารโอเมก้า 3 ค่อนข้างมาก ราคาไม่แพง โดยในเนื้อปลาทู 100 กรัมมีสารโอเมก้า 3 ประมาณ 2-3 กรัม ซึ่งปกติในหนึ่งวันร่างกายต้องการโอเมก้า 3 ประมาณวันละ 3 กรัมต่อวันอย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่จะรับประทานอาหารเสริมอย่างน้ำมันปลาซึ่งมีโอเมก้า 3 นั้น ต้องได้รับการตรวจเช็กจากแพทย์ก่อนว่าร่างกายขาดโอเมก้า 3 หรือไม่ เพราะบางคนไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำมันปลามารับประทานเพราะร่างกายได้รับสารโอเมก้า 3 เพียงพอแล้ว จะเป็นการสิ้นเปลืองเงินโดยไม่จำเป็น แต่สำหรับคนที่ไม่เดือดร้อนทางการเงินก็สามารถหาซื้อน้ำมันปลารับประทานได้

 

"การบริโภคอาหารของคนในปัจจุบันนี้
ส่วนใหญ่รับประทานโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3 ซึ่งโอเมก้า 6 นั้นมีอยู่ในน้ำมันพืชชนิดต่างๆ และยังมีอยู่ในไข่ การรับประทานโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3 ทำให้ร่างกายขาดความสมดุล ส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบขึ้นในระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ทำให้เกิดเป็นโรคไขข้ออักเสบ เบาหวาน เกิดการอักเสบขึ้นในสมองและในที่สุดจะเป็นอัลไซเมอร์ได้""อย่างไรก็ตามในบางคนที่อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีควรจะหาอาหารที่ประกอบด้วยโอเมก้า 3 และหาน้ำมันปลารับประทานได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยแห่งการเจริญเติบโตและที่สำคัญในวัยนี้โอเมก้า 3จะช่วยบำรุงสมอง จนถึงวัยสูงอายุที่ร่ายกายเริ่มเสื่อมสภาพโอเมก้า 3 ก็ช่วยปรับสมดุลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้" ศ.นพ.ปิติแนะนำ

ขอขอบคุณ : ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
จาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

อ้างอิงจาก : http://variety.teenee.com/foodforbrain/2111.html

 

คำสำคัญ (Tags): #โอเมก้า 3
หมายเลขบันทึก: 221173เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณข้อมูลดีๆ

คุณแม่เป็นโรคหัวใจพอดี

ขอบคุณนะคะ

สวัสดีครับ คุณadd

ขอบคุณครับ..ที่ได้ประโยชน์

จากบทความ...ปลาทูผมชอบรับประทานมากครับ

เราควรได้รับ โอเมก้า 3,6,9 จากอะไรได้บ้าง วันๆนึงควรทานปริมาณเท่าใด จึงเป็นผลดีๆอย่างไร ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งหรือไม่

แล้วเคยอ่านเจอว่าคนเป็นโรคตับ ไม่ควรทานของทอดของมันๆ แปลว่าตับมีหน้าที่กำจัดน้ำมันส่วนเกิน เช่นผัดผัก ปลาทอด กล้วยทอด น้ำมันปาล์มทั้งนั้น เราควรซื้อน้ำมันถั่วเหลือง กับน้ำมันมะกอก มาตวงช้อนกินให้สมดุลกัน จะดีไหม หรือจะมีผลเสียอย่างไรคะ

กรุณาให้วิทยาทานด้วย ดิฉันอยากทราบมากเพราะพี่สาวเคยเสียด้วยตับอักเสบ ไปค้นคว้าห้องสมุดเจอ Home Medicine บอกว่าเป็นโรคตับห้ามทาน ปลาทอด กล้วยน้ำว้า แต่ไม่ทราบว่าเพราะอะไรค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีครับคุณวรรักษ์ สวัสวงศ์
ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น การสร้างน้ำดี ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน เก็บสำรองอาหาร โดยการเก็บ glucose ไปสะสมไว้ในเซลล์ตับ ในรูปของ glucogen และเมื่อร่างกายต้องการใช้ ก็จะทำการเปลี่ยน glucogen มาเป็น glucose ตับเป็นแหล่งสะสมวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ดี และบี12 และยังทำหน้าที่ขจัดสารพิษที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดตับยังทำหน้าที่สร้าง วิตามินเอ จากสารแคโรทีน ซึ่งมีสะสมอยู่ในพวกแครอทและมะละกอ สร้างธาตุเหล็ก ทองแดง และยังสร้างสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กินและทำลายเชื้อโรค และเป็นแหล่งให้พลังงานความร้อนแก่ร่างกายจะเห็นได้ว่าตับทำหน้าที่สำคัญมากมายให้แก่ร่างกายเรา ฉะนั้นหากเซลล์ตับถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพไป ก็จะมีผลเสียแก่สุขภาพของเรา เราจึงควรหมั่นตรวจสอบสมรรถภาพของตับอย่างสม่ำเสมอการทดสอบสมรรถภาพของตับ ทำได้โดยทดสอบทางห้องชันสูตร แตผลการทดสอบไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า ตับปกติดีร้อยเปอร์เซนต์ หรือเสื่อมสภาพไป แต่การทดสอบสามารถบ่งชี้ถึงความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ก็มีประโยชน์ในการแยกประเภทของโรค การติดตามการดำเนินของโรค และการติดตามผลการรักษา
โรค
โรคตับอักเสบ หมายถึง โรคที่เซลล์ของตับมีการอักเสบเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้สารพิษ หรือการติดเชื้อจุลชีพ หรือติดเชื้อไวรัส ปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่ติดเชื้อจากไวรัส ตับจะบวมโต ผู่ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นบริเวณตับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย บางรายมีไข้ต่ำๆ คลื่นใส้ และอาเจียน บางรายตัวเหลื่อง ตาเหลือง
โรคตับอักเสบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง อาการของผู่ป่วยจะคล้ายคลึงกัน ต้องอาศัยการตรวจเลือดเพื่อดูอาการของตับ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ทราบถึงตัวเชื้อต้นเหตุ และเป็นแนวทางในการดูแลป้องกันและรักษาผู้ป่วย
โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัสต่างชนิดกัน จะมีความรุนแรงและการรักษาต่างกันไปที่พบบ่อยเกิดจากเชื้อ
1. ตับอักเสบ เอ
2. ตับอักเสบ บี
3. ตับอักเสบ ซี
4. ตับอักเสบ ดี
5. ตับอักเสบ อี


อาหาร

เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมที่นี่ได้ครับ
อ้างอิงจาก http://www.school.net.th/library/snet4/june22/vi_liver.htm

 

สำหรับผู้ที่เป็นโรคตับเพียงเล็กน้อย เช่น เป็นพาหะของเชื้อไวรัสบี ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิด ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลัน การรับประทานน้ำหวานมาก ๆ ไม่มีรายงานว่าทำให้การดำเนินของโรคดีขึ้นกว่าการไม่ได้รับประทานน้ำหวาน อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถบริโภคอาหารได้ เนื่องจากมีคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ในกรณีเช่นนี้การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรทพวกแป้ง และน้ำตาล เป็นหลักจะทำให้ย่อยอาหารได้ง่าย และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง สำหรับผู้ป่วย ซึ่งเริ่มมีอาการตับแข็งแล้ว อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารที่มีรสเค็มจัด เนื่องจากการรับประทานอาหารเค็มสามารถทำให้อาการบวม หรืออาการท้องมานเลวลงได้ โดยทั่วไปแล้วในผู้ป่วยที่มีอาการบวม หรือท้องมาน แพทย์จะแนะนำให้รับประทานเกลือได้ไม่เกินวันละ 2 กรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือป่นประมาณเศษหนึ่งส่วนสามช้อนชาต่อวันเท่านั้น ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งควรรับประทานอาหารที่สะอาดปรุงขึ้นใหม่ ไม่ควรรับประทานอาหารที่เก็บค้างคืน หรืออาหารที่ประกอบขึ้นสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น การลวก การย่าง เพราะบ่อยครั้งทีเดียวที่ผู้ป่วยโรคตับแข็งมาพบแพทย์ด้วยอาการติดเชื้อจากทางระบบทางเดินอาหาร ซึ่งบางครั้งสามารถเป็นรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยตับแข็งที่ไม่มีอาการซึม หรืออาการทางสมอง สามารถรับประทานโปรตีนได้ตามปกติเหมือนกับคนปกติทั่วไป ผู้ที่มีอาการทางสมองร่วมกับภาวะตับแข็ง ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจำกัดปริมาณโปรตีนที่ได้จากสัตว์ อย่างไรก็ตามสามารถเสริมโปรตีนได้ในรูปของโปรตีนได้ในรูปของโปรตีนจากพืช หรือถั่ว เป็นต้น ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่เป็นผัก และผลไม้ให้เพียงพอเพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการภาวะท้องผูก การรับประทานอาหารเสริมที่เป็นโปรตีนที่มีกิ่ง (Branch Chains Amino Acid) อาจทำให้ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามอาหารเสริมดังกล่าวยังมีราคาแพง และทดแทนได้ด้วยการรับประทานโปรตีนจากพืช ปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่า อาหารเสริมต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจะมีประโยชน์โดยแท้จริงกับผู้ป่วยโรคตับนอกจากการรับประทานอาหารที่ถูกต้องร่วมกับพืช ผัก และผลไม้ที่สะอาดในปริมาณที่พอเพียงจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย การรับประทานอาหารเผ็ด หรือเปรี้ยวไม่มีผลเสียโดยตรงอย่างไรต่อตับ

ขอบคุณนะค้า...  สำหรับข้อมูลปลาทู 

พอดีกำลังหาข้อมูลว่า เพราะเหตุใดจึงไม่นำปลาทูไปทอดในน้ำมัน 

Thank  You  So  Much  0.........    As   Soon   Prosblem ...... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท