เสวนาตั้งโจทย์วิจัยเกษตรกรรมยั่งยืน


ผมไปนั่งสังเกตการณ์การประชุมเรื่อง การสร้างเครือข่ายงานวิจัยแบบมุ่งเป้าด้านการพัฒนาการเกษตรยั่งยืน ในการประชุม นักวิจัยใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. เมื่อวันที่ ๑๗ ต.ค. ๕๑

 

รศ. อุทัย คันโธ ผอ. สถาบันวาจกกสิกิจ มาเล่าเรื่องการใช้มูลสุกรเป็นแหล่งอาหารพืช   เอามาเป็นปุ๋ยได้หลากหลายรูปแบบ   น้ำขี้หมูเจือจางเอาฉีดพ่นใบได้ผลดีมาก     ยิ่งเก็บนานยิ่งดี   ผลการทดลองหลายอย่างต้นพืชงามขึ้นอย่างน่าตกใจ    ฟังแล้วเห็นโจทย์วิจัยเพื่อหาคำอธิบายผลของการลองใช้ได้ผลมากมาย   น้ำ จากการล้างคอกก็มีธาตุอาหารครบ  

ผลการทดลองทำอย่างหนึ่ง คือใช้น้ำสะกัดมูลสุกรแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว    ช่วยให้ข้าว งอกเร็ว โตเร็ว คลุมต้นหญ้าได้ก่อน    จึงไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า    คำถามวิจัยคือ จะอธิบายการที่ได้ผลดีอย่างไร  

ถึงขนาดเวลานี้มีการเลี้ยงหมูเอาขี้   เอาขี้ไปแช่น้ำ   เอาไปเป็นปุ๋ยฉีดไร่มันสำปะ หลัง    พบว่าน้ำแช่ขี้หมูมีสาหร่าย แพลงค์ตอน เกิดขึ้นเต็ม

มีการทดลองในการปลูก ข้าว มันสำปะหลัง ผัก มะนาว มะระ พริก ดาวเรือง   เน้นการฉีดพ่นทางใบ   ได้ผลดีอย่างน่าประหลาดใจทั้งสิ้น

 

ผมถามตัวเองว่าโจทย์น่าจะเริ่มจากการถามตัวเอง หรือถามกันเอง ว่าเกษตรกรรมยั่งยืนต่างจากเกษตรกรรมปัจจุบันอย่างไร    ทำความเข้าใจในระดับที่ลึก ว่าต่างกันอย่างไร   เรามีความรู้ หรือเทคนิควิธีการตรงส่วนต่างนี้แค่ไหน   ตรงไหนที่ยังไม่รู้ 

 

ฟัง รศ. อุทัย คันโธ แล้ว   ผมบอกตัวเองว่า โจทย์วิจัยเกษตรกรรมยั่งยืน น่าจะมีธรรมชาติเป็น explanatory research   เพราะส่วน action research ได้มีฝ่ายปฏิบัติดำเนิน การมาก่อนแล้ว    

 

การหมักฟางเกิดก๊าซ มีเธน แค่ไหน   

ลดต้นทุนการผลิต   

จับนักพืช กับนักสัตว์มาพบกัน

 

ศ. ดร. อารันต์ ตีความ STAR ว่าต้องมีคนที่เป็น “ดาว ๔ คน มารวมตัวกัน   แต่ไม่ค่อยมีคนระดับ STAR   ต้องมุ่งเป้าไปที่คนระดับ Pre-STAR   ผมจึงมองเห็นกระบวน การจัดการให้เกิดทีม   

 

ศ. ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ มองที่น้ำ   มองที่การวิจัยการจัดการน้ำ    ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่มากของทั้งโลก

 

มีการมองที่คนสาขาเกษตร   แต่ผมมองต่าง ว่านักวิจัยสาขาเกษตรน่าจะทำงานร่วมกับสาขาอื่น   คำว่า เกษตรกรรมยั่งยืนอาจทำให้เราหลงทางในเชิงการวิจัย   ที่มัวมุ่งมองเฉพาะนักวิจัยเกษตร   

 

ธรรมชาติของการวิจัยเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืนน่าจะมี action นำ   explain ตาม   หมุนเวียนหนุนกัน เป็นวัฏฏจักรไม่รู้จบ 

 

วิจารณ์ พานิช

๖ พ.ย. ๕๑

 

หมายเลขบันทึก: 221161เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์ผมสนใจมากเรื่องนี้ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้เรียนมาด้านนี้(เรียนทางด้านสถิติ และคอมฯ)แต่มีความสนใจในการทำวิจัยด้านการเกษตรแบบยั่งยืนที่บ้าน

พ่อทำมานานแล้วครับ เป็นชาวบ้านธรรมดาท่านลองผิดลองถูกทำมานานมาก จนตอนนี้ได้ผลดีมากครับ ที่บ้านไม่เคยใช้ปุ๋ยเคมีเลย ให้ผลผลิตข้าวดีมาก ผักด้วย ไว้ผมถ่ายภาพมาให้ดูครับ แล้วคำถามว่าเราจะทำอย่างไรชาวบ้านถึงจะยอมทำตาม การทำเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี ประมาณ 4 - 5 ปี ถึงได้ผลครับ เพราะสภาพดินต้องปรับปรุงเยอะมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท