ไตรโคเดอร์ม่ากับการรักษาโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน


สัปดาห์แรกพบว่าเชื้อโรคค่อยๆ ลดลง สังเกตจากแผลค่อยๆ แห้งและมีเนื้อไม้ค่อยๆ งอกออกมา

คุณจิตินันท์  มุสิโก  เกษตรกรคนเก่งชาวสวนทุเรียน  อ.พะโต๊ะ  จ.ชุมพร เป็นเกษตรกรที่มีใจรักการปลูกทุเรียนอยู่เป็นทุนเดิมบวกกับการมีแนวคิดอยู่ตลอดเวลาที่จะทำสวนทุเรียนแบบปลอดสารพิษ โดยจะไม่ใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืช ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์ผ่านโทรศัพท์ว่า :

"พี่เป็นคนชอบอ่านหนังสือเพื่อประดับความรู้  โดยเฉพาะหนังสือเกี่ยวกับการเกษตร" วันหนึ่งได้อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์เจอบทความเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรครากเน่าโคนเน่า ในบทความได้อ้างถึงที่มาของบทความ คือ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จึงได้โทรศัพท์ติดต่อสอบถามมาที่ชมรมฯ เกี่ยวกับปัญหาและวิธีแก้โรครากเน่าโคนเน่าโดยละเอียดและได้รับคำแนะนำให้ใช้ "เชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า" ชนิดฉีดพ่นและคลุกผสมกับปุ๋ยธาตุอาหาร ผนวกกับน้องชายเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่สระบุรีจึงได้นำจุลินทรีย์ EM มาที่บ้านด้วย จึงเกิดแนวคิดว่า : น่าจะเอาเศษผักเศษอาหารมาหมักรวมกันแล้วคลุกผสมเชื้อไตรโคเดอร์ม่าราดโคนต้นทุเรียนและทาบริเวณแผลที่มีการเข้าทำลายของเชื้อโรค

 สัปดาห์แรกพบว่าเชื้อโรคค่อยๆ ลดลง สังเกตจากแผลค่อยๆ แห้งและมีเนื้อไม้ค่อยๆ งอกออกมาปิดบริเวณแผลจนปิดสนิท  ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไม่พบโรครากเน่าโคนเน่าในแปลงทุเรียน เนื่องจากใช้ไตรโคเดอร์ม่าคลุกผสมกับปุ๋ยน้ำที่ได้จากการหมักเศษผักเศษอาหารกับ EM ราดโคนต้นทุเรียนมาโดยตลอด อีกทั้งยังทำให้ทุเรียนเพิ่มผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 3 - 5 ตัน / ไร่ เนื่องจากทำให้ระบบรากแข็งแรง ทนต่อการเข้าทำลายของโรค และสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่  ทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น

คุณจิตินันท์  ยังฝากถึงเกษตรกรที่ยังใช้สารเคมีในการปราบศรัตรูพืชอยู่ ให้หันมาทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับนักวิชาการได้ที่โทร.  081-398-3128

มนตรี   บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 221023เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2008 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท