ทำนาปลอดสารพิษแบบคุณ จำเนียน เสือยอด


ทำนาปลอดสารพิษ

คุณ จำเนียน เสือยอด อยู่บ้านเลขที่ 37/2 ม.5 ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี  รู้จักชมรมเกษตรปลอดสารพิษจากการแนะนำของกลุ่มเกษตรกรบ้านทองเอน ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรในกลุ่มนี้ยึดอาชีพทำนาข้าวเป็นหลัก โดยเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม คุณจำเนียน เสือยอด  ก็เป็นหนึ่งในเกษตรกรกลุ่มนี้ซึ่งยึดอาชีพการทำนามานานหลายปี โดยปัญหาที่พบส่วนมากก็จะไม่แตกต่างกับเพื่อนบ้านในเขตพื้นที่อื่นๆ มากนักกล่าวคือมีโรคและแมลงเข้ารบกวนและทำลายอยู่แทบทุกระยะของการทำนา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องโรคกาบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรา ปัญหาเรื่องของหนอนกอเข้าทำลาย ปัญหาเรื่องเพลี้ยต่างๆในระยะใบอ่อน โดยในหลายปีมานี้ คุณ จำเนียน เสือยอด  ก็ได้ทดลองใช้ยากำจัดศัตรูพืชและยากำจัดโรคพืชเสมอมา และทดลองเปลี่ยนตัวยาที่เกษตรกรหลายคนแนะนำมาว่าดี แต่ท้ายที่สุด แมลงและ โรคก็กลับมาระบาดอีกเช่นเดิม

            ปัญหาที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นตัวการสำคัญที่ทำความเสียหายให้กับนาข้าวของ คุณ จำเนียน ยังผลให้ได้ผลผลิตต่อไร่ไม่คุ้มทุนกับค่าสารเคมีกำจัดแมลงและสารกำจัดโรคพืชที่ลงทุนไป ซึ่งนับวันราคาก็ยิ่งสูงมากขึ้น จนเมื่อ คุณ จำเนียน ได้มีโอกาสเรียนรู้แนวทางการทำเกษตรปลอดสารพิษจากนักวิชาการในชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เกี่ยวกับการทำนาปลอดสารพิษ ภายใต้สโลแกน ลดต้นทุน เกื้อหนุนธรรมชาติซึ่งมีการให้ข้อมูลตั้งแต่เริ่มปลูกข้าวไปจนถึงเก็บเกี่ยวรวมไปถึงเทคนิคต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ คุณ จำเนียน เสือยอด  สนใจที่สุดคือ การทำปุ๋ยละลายช้าใช้เองซึ่ง คุณจำเนียน เสือยอด  ได้เปิดเผยว่า ปกติทำนา คุณจำเนียน เสือยอด  จะใส่ปุ๋ยยูเรียตกไร่ละ 40 kg. ซึ่งนับว่าต้นทุนสูง โดยมีความเชื่อจากสมัยก่อนว่ายิ่งใส่ปุ๋ยเยอะข้าวยิ่งงาม หรือหากโรคและแมลงเข้าทำลายค่อยหาซื้อยามาฉีด (ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ) แต่ในความเป็นจริงโรคและแมลงกลับไม่หายไปอีกทั้งผลผลิตข้าวที่ได้ก็ไม่คุ้มกับทุนที่ลงไป

            หลังจากที่คุณ จำเนียน เสือยอด  ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักวิชาการจากทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งได้แนะนำให้ใช้แร่ภูเขาไฟ ภูไมท์ คลุกผสมกับปุ๋ยยูเรีย ในอัตราส่วน 1:5 ปุ๋ยยูเรียซึ่งปกติจะสูญเสียไปกับน้ำและอากาศได้ง่ายมาก อีกทั้งหากใส่เยอะเกินไปต้นข้าวจะเกิดอาการที่เรียกว่า บ้าใบ หรือ เฝือใบ (ต้นบวมน้ำ อ่อนแอต่อโรคและแมลง ล้มง่ายเมื่อเจอลม) โดยภูไมท์จะไปทำหน้าที่เคลือบเม็ดปุ๋ยยูเรียและจับไนโตรเจนที่ละลายออกมาเร็วเกินไปให้ละลายช้าลงและไม่ทำให้ต้นข้าวเฝือใบ อีกทั้งภูไมท์จะสลายตัวให้ธาตุอาหาร ซิลิก้า (Sio2) โดยจะละลายออกมาในรูปของกรดซิลิสิคแอซิดซึ่งจะทยอยไปสะสมที่ผนังเซลล์ช่วยทำให้ต้นข้าวแข็งแรงต้านทานการทำลายจากเชื้อรา และการกัด แทะ เจาะ ของแมลงและหนอน ซึ่งเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ปลายเหตุ

            คุณ จำเนียน เสือยอด  ได้เปิดเผยอีกว่า ปกติใส่ยูเรียถึงไร่ละ 40 kg. โดยแบ่งใส่ถึง 3 ครั้ง แต่ปัจจุบันหลังจากลองทำปุ๋ยละลายช้าในข้าวชุดนี้ ใส่ปุ๋ยละลายช้าเพียงแค่ครั้งเดียวตอนทำเทือก โดยใส่อัตรา 10 kg./ ไร่ ซึ่งขั้นตอนการทำปุ๋ยละลายช้าคือ เทปุ๋ยยูเรีย 1 กระสอบ (50 kg.) ลงบนผ้าใบ จากนั้นใช้ภูไมท์ครึ่งกระสอบ (10 kg.) เทลงคลุกเคล้ากับเนื้อปุ๋ยยูเรีย ภูไมท์จะเข้าจับและเคลือบเม็ดปุ๋ยยูเรียจนเห็นเป็นสีเดียวกัน แล้วนำไปหว่านในนาข้าวอัตรา 10 kg./ไร่ สำหรับผู้ที่หมักฟาง และ 20-30 kg/ไร่ สำหรับผู้เผาฟาง

            ทุกวันนี้ข้าวของคุณ จำเนียน เสือยอด   อายุได้ 75 วันแล้ว ยังไม่ได้ใส่ปุ๋ยเพิ่มจากครั้งแรกเลย ข้าวยังคงเขียว ทน แข็งแรงอยู่ เละที่เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ แมลงและโรคแทบไม่ลงรบกวน จากปกติที่เคยฉีดยาทุกๆ 7-14 วัน จนปัจจุบันนี้ยังไม่ใช้สารเคมีเลย ข้าวต้นเตี๊ย สมบูรณ์ ไม่ล้มแม้ช่วงนี้จะเจอลมฝนหนัก

มนตรี   บุญจรัส

www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 221020เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2008 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท