รูปแบบของตัวพิมพ์


Letter & Type

 

 

  1. รูปแบบของตัวพิมพ์ 

ราชบัณฑิตยสถานแบ่งรูปแบบตัวพิมพ์ เป็น 3 แบบ คือ ตัวแบบหลัก , ตัวแบบเลือก และ ตัวแบบแปร (มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.2540: 1-3) 

1.1 ตัวแบบหลัก  

เป็นตัวพิมพ์ที่มีหัวกลม ความหนักเบาของเส้นเสมอกันหมด นอกจากส่วนที่เป็นเส้นโค้ง เส้นหัก รวมทั้งส่วนต้นหรือปลายของตัวอักษรและเครื่องหมายต่าง ๆ บางตัว ขนาดของเส้นอาจหนาหรือบางกว่าได้บ้าง ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ตัวพิมพ์แบบ เจเอสประสพลาภ JS Prasoplarpas มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวแบบหลักมากที่

1.2 ตัวแบบเลือก  

เป็นรูปแบบที่ต่างจากตัวแบบหลักเล็กน้อย เช่น มีเส้นกิ่ง เส้นลำตัวอาจมีหนักเบาแตกต่างกัน เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไปและถือว่าเป็นแบบที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน  สิ่งพิมพ์ที่เป็นเอกสารและตำรา ส่วนมากนิยมใช้ ตัวแบบเลือก เพราะอ่านได้ลื่นไหลดี เช่นตัวแบบ โบรวาลเลียยูพีซี : BrowalliaUPC  หรือ ตัวแบบ อังศนายูพีซี : AngsanaUPC  เป็นต้น

1.3 ตัวแบบแปร

เป็นรูปแบบที่ใช้กันอยู่แต่ไม่อาจจัดเข้าหลักเกณฑ์นี้ได้เช่น ตัวที่มีหัวบอดหรือตัน หัวแฝงเร้น ตัวแบบคัดลายมือ เขียนลายมือ และตัวประดิษฐ์อื่นๆ ตัวแบบแปรเหมาะสำหรับใช้ทำเป็นหัวเรื่องและชื่อเรื่อง เพราะมีการออกแบบให้น่าสนใจ

 

การออกแบบสิ่งพิมพ์ : ผศ. ภาวนา  ไชยสมบูรณ์   หน้า  67 - 93

http://gotoknow.org/blog/graphicdesign/106709

 

     1.  สามัญทัศน์เกี่ยวกับการออกแบบสิ่งพิมพ์

     2.  หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งพิมพ์

     3.  สีกับการออกแบบสิ่งพิมพ์

     4.  ตัวอักษรและตัวพิมพ์

     5.  ภาพประกอบสิ่งพิมพ์

     6.  ระบบตาราง

     7.  ระบบการพิมพ์

     8.  ประเภทของสิ่งพิมพ์

     9.  กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์

     10 กระบวนการออกแบบสิ่งพิมพ์

 

การออกแบบสิ่งพิมพ์ : ผศ. อารยะ  ศรีกัลยาณบุตร  หน้า  82 - 106

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 220881เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2008 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท