ศักยภาพของคนอยู่ที่อะไร


บันทึกประมวลความคิดอย่างมีระบบจากเหตุการณ์บริการวิชาการนอกคณะฯ จาก 3 แห่งและสอนนักศึกษากิจกรรมบำบัดวันแรก

คำตอบนี้อาจต้องใช้เวลาคิดเล็กน้อยจริงไหมครับ

ผมพยายามถามใจตนเองอยู่ตลอดเวลาในฐานะคนแบบมีและไม่มีความรู้ทางกิจกรรมบำบัด

ประสบการณ์สอนผมจริงๆ จาก

  • การนำเสนอหัวข้อ "ทักษะชีวิตที่มีสุข" แก่ประชาชนผู้สนใจจำนวน 20 คน เนื่องในวันกิจกรรมบำบัดสากล 27 ต.ค. ที่ผ่านมา
  • การสอน "ทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อนักศึกษากิจกรรมบำบัดรุ่นแรก" จำนวน 35 คน ในวันแรกของการสอนวิชาแรกในหลักสูตรใหม่ของคณะฯ เมื่อเช้าวันที่ 28 ต.ค.
  • การให้คำปรึกษา "กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตในเด็กพิเศษ" แก่นักกิจกรรมบำบัดและนักจิตวิทยาของสถาบันไพดี้ ร่วมกับอาจารย์ของคณะฯ และผู้บริหารสถาบันฯ รวม 6 คน เมื่อบ่ายวันที่ 28 ต.ค.
  • การสอน "ระบบพัฒนาศักยภาพนักเรียน" แก่คณะครู รร. พิบูลประชาสรรค์ จำนวน 100 คน เมื่อวันที่ 29 ต.ค.

ประเด็นที่ได้รับโดยประมวลระบบความคิดในสามมิติ

  • มิติของการสร้างกรอบความคิดบนพื้นฐานความรู้ที่มีอยู่จริง ได้แก่ โมเดลนิเวศวิทยาของการกระทำของมนุษย์ โมเดล คน-การกระทำที่ไม่อยู่ว่างอย่างมีเป้าหมายและความหมาย (คุณค่า) หรือ Occupation-สิ่งแวดล้อม นโยบายส่งเสริมสุขภาวะจากทักษะชีวิตทั้ง 10 ของ WHO และประสบการณ์ศึกษาค้นคว้าด้านกิจกรรมบำบัดเฉพาะทางจิตสังคมของมนุษย์

 

  • มิติของการวิเคราะห์เบื้องต้นระหว่างผู้อยากเรียนกิจกรรมบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา ครู ประชาชน รวม 161 คน พบว่า ทุกคนมองศักยภาพของคนอยู่ที่ ทักษะความคิดและแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยมีความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมที่คิดเองหรือผู้อื่นคิดในระยะสั้นๆ จากนั้นดำเนินชีวิตในรูปแบบกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ (อยู่ไม่ว่าง มีเป้าหมายคงที่ คุณค่าของตนเองแปรเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อมภายนอกตนเอง) ทั้งนี้กิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำจะมีความท้าทายชีวิตบ้าง หากคนๆนั้นรู้สึกถึงทักษะตระหนักรู้ในใจตนเองและเห็นใจผู้อื่น ทำให้มีความเชื่อและคาดหวังในระดับเกินพอดีในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นหากระบบความคิดของทุกคนที่จะย้ายมาสู่การพัฒนาศักยภาพของคนอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางการเรียนจากหลายปัจจัย จึงมีกระบวนการจัดการสังเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตได้เพียง 30% ได้แก่ กิจกรรมที่พัฒนาระบบประสาทความรู้สึกและการเคลื่อนไหวตามแนวทางของผู้ให้กิจกรรม มุมมองของผมในฐานะอาจารย์กิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมจึงมองภาพของมิติที่บูรณาการประสิทธิผลในการพัฒนาศักยภาพของคนตรงมิตินี้อยู่ที่ความก้าวหน้าบางส่วน

 

  • มิติของการวิเคราะห์เชิงลึกในการเสนอแนวทางการพัฒนาศัยภาพของคน ทั้งผู้ให้และผู้รับกิจกรรมบำบัด ได้แก่ การฝึกทักษะกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อรู้จักสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพอย่างมีระบบ เมื่อทุกอย่างมีระบบจัดการของตนเอง อารมณ์และความเครียดจะอยู่ในระดับที่ควบคุมและบริหารสู่กระบวนการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง แก้ไขปัญหาพร้อมๆกับพัฒนาความสามารถอย่างมีความสุขจนเกิด "ทักษะชีวิตที่มีสุข" และจัดการขอบเขตของปัจจัยภายนอกของคนที่เราต้องการพัฒนารวมทั้งตนเอง ได้แก่ ระดับความคาดหวังที่พอดี ไม่เกินจริงหรือเกินความเชื่อและคุณค่าของตนเอง ที่สำคัญสร้างกระบวนการสำรวจและพัฒนาคุณค่าของผู้รับในการกระทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายและมีขั้นตอนที่มีความหมาย บนพื้นฐานของปัจจัยภายในที่ส่งผมต่อความสามารถทางจิตสังคมและความรู้ความเข้าใจได้ทักษะชีวิตด้วยความก้าวหน้าถึง 70% ได้แก่ ความสนใจและทักษะที่มีอยู่ ความสนใจและทักษะที่ต้องการสำรวจอย่างละเอียด จนถึงความเชื่อมั่นในคุณค่าแห่งตนเองและสร้างความสุขแก้ผู้อื่น มุมมองของผมในฐานะอาจารย์กิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมจึงมองภาพของมิติที่บูรณาการประสิทธิผลในการพัฒนาศักยภาพของคนตรงมิตินี้รวมกับมิติที่ผ่านมาอยู่ที่ความก้าวหน้า 100%

มิตินามธรรมและรูปธรรมเหล่านี้ คงต้องรอการศึกษาแบบ Action Research โดยเริ่มจากการพัฒนาทักษะชีวิต "ผู้ให้กิจกรรมบำบัด" ให้รู้จักการทำงาน (คิดด้วยเหตุและผลด้วยการจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาความสามารถของคน) เป็นทีมสหวิชาชีพ พร้อมๆกับการสร้างระบบของมิติสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของ "ผู้รับกิจกรรมบำบัด" เช่น การจัดสื่อการเรียนรู้อย่างมีระบบ การเขียน Ecological Curriculum (Individualized Family Plan & Individualized Education Plan) หลังจากทดลอง Action Plan แล้ว 1 สัปดาห์ และการปรับทัศนคติทั้งผู้ปกครองและเพื่อนนักเรียนที่ไม่ใช่เด็กพิเศษอย่างมีระบบ

ปล. ผมขอบคุณสำหรับโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทุกๆท่านข้างต้น โดยเฉพาะคุณยงยศ ผู้จัดการสถาบันไพดี้ และ ดร. สุปราณี ผอ.รร.พิบูลประชาสรรค์ ในโอกาสนี้ครับ

แล้วท่านผู้อ่าน คิดเห็นอย่างไรครับ ???

หมายเลขบันทึก: 219672เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2008 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 03:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ข้อคิดที่เพิ่มเติม

หากคนเราคิดเอง เข้าใจเอง กระทำเอง บนพื้นฐานความเชื่อที่เกินพอดี คิดว่าตนเองรู้แล้ว คนเหล่านี้มักไม่พึงพิจารณาในเวลาอันควร ไม่ชัดเจนในการอธิบายอย่างมีลายลักษณ์อักษร ไม่คิดว่าจะแสดงค่าวัดหรือสังเกตได้อย่างมีเหตุผล สุดท้ายเข้าข้างตนเองว่าเขาสามารถพัฒนาศักยภาพของผู้รับการกระทำจากเขา ทั้งๆที่ผู้รับการกระทำจากเขาไม่พึงพิจารณาจิตใต้สำนึกได้อย่างมีสุข

สวัสดีครับ นำศักยภาพของคนที่ปลูกดูแลบวบหอมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ซึ่งจะต้องมีพลังจิตมีแรงดลใจที่ต้องการที่มั่นคงจนเป็นแบบในภาพที่นำมาฝาก

4905c4be7b39f

เข้ามาติดตามแนวคิดและแนวคิดครับ เมื่อวานผมได้นึกและบันทึกหลายอย่างที่เกิดขึ้น

ในการบริหารไพดี้ ผมตั้งหัวข้อ ได้รู้จากความไม่รู้ เอาไว้เตือนตัวเอง ในการสร้างทีมร่วมกับอาจารย์ครับ ขอบคุณครับอาจารย์ป๊อป

ข้อตั้งข้อสังเกตนะครับ อาจารย์ ความเชื่อในแวดวงวิทยาศาสตร์ ย่อมในเรื่องของ ตรรกะ  หรือ การแสดงค่าวัดหรือสังเกตได้อย่างมีเหตุผล หากไม่สามารถแสดงค่าวัด หรือสังเกตุได้อย่างมีเหตุผล ตรรกะนั้น ก็จะเป็นเท็จ กระนั้นหรือครับ

ด้วยมรรควิธีคิดแบบนี้ทำให้ เมื่อเกิดความทุกข์ เราจึงพยายามสร้างมาตรวัดความทุกข์ เพื่อให้แสดงค่าวัดความทุกข์หรือสังเกตุเห็นความทุกข์นั้นได้อย่างมีเหตุผล

นั่นคือเมื่อทุกข์เพราะเดินทางไกลก็ประดิษฐ์รถยนต์ขึ้นมาเพื่อให้เดินทางได้สะดวกขึ้น? ถามว่าคนมีความสุขเพิ่มมากขึ้น ด้วยเพราะมีรถ ขับใช่หรือไม่? กวินเห็นก็แต่ว่า คนที่มีรถก็ยังมีทุกข์อยู่เพราะว่า ค่านำมันแพง รถติด ควันพิษ และต้องประสบกับอุบัติเหตุการจราจรบนท้องถนน ปัญหารถซิ่งกวนเมือง ปัญหาแว๊นบอยสก๊อยเกิล

หากความ ความทุกข์ เปรียบเทียบได้กับ จำนวนจำนวนหนึ่งทางคณิตศาตร์ซึ่งมีค่ามากกว่า 0 การที่เรานำเอา กิเลสตัณหาอุปาทาน ซึ่งเปรียบเทียบได้กับ จำนวนอนันต์ (Infinity) มาแก้ไขมาบั่นทอนความทุกข์ โดยหวังที่จะทำให้ความทุกข์ นั้นหายไป (มีค่าเป็นศูนย์)  ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ความทุกข์ย่อมเบาบางลง คือเข้าใกล้ศูนย์ แต่ไม่มีทางเป็น ศูนย์ได้เลย

ยกตัวอย่างเช่น 1 (จำนวนที่มีค่ามากกว่า 0) ถูกหารด้วย 9999999999999 ผลลัพธ์ที่ได้คือ 0.0000000000001 และผลลัพธ์ จะไม่มีทางจะเป็น 0 ไปได้เลย แม้ว่าเราจะนำจำนวนที่ มากกว่า 9999999999999 จนถึงจำนวนอนันต์ (Infinity) มาหารก็ตาม นั่นเป็นเพราะว่า เราไม่รู้ว่าค่าของจำนวนอนันต์ (Infinity) นั้น มีค่าเท่าใด

ในทางกลับกันหากเราสามารถ กระทำความทุกข์ ให้มีค่าเเป็น 0 (สุญตา/อนัตตา) (ทำแบบไหน?) ได้แล้ว่ะก็ แม้นว่าจะนำเอา จำนวนอนันต์ (Infinity) คือ กิเลสตัณหาอุปาทาน มาหาร มาบั่นทอนความทุกข์นั้นๆ ผลลัพธ์ที่ได้ ก็ย่อมที่มีค่าเท่ากับ 0 อยู่เสมอไป แลเป็น อกาลิโก (ไม่ว่าระยะเวลาจะผ่านพ้นไปสักเท่าใด ผลลัพธ์ก็ยังเป็นเช่นนี้อยู่เสมอๆ คือ ไม่จำกัดกาล) นี่คือสัจจนิรันดร์ นี่คือสัจจพจน์ แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่อง สุญตา/อนัตตา/นิพพาน โดยการพิจารณาให้เห็นถึง อริยสัจ 4 และมรรคมีองค์ 8 อันเป็นเครื่องมือในการหลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งไม่มีมาตรวัดใดๆ สามารถที่จะวัดได้ เพราะเป็นเรื่อง ปัตจัตตัง (เป็นสิ่งที่ผู้รู้จะรู้ได้จำเพาะตน) โดยสรุปก็คือ

โยโส สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว สันทิฏฐิโก คือ เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง อะกาลิโก คือ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เอหิปัสสิโก คือ เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด โอปะนะยิโก คือ เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ คือเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน


ขอบคุณมากครับสำหรับความคิดเห็นจากคุณประจักษ์ คุณยงยศ และคุณกวิน ครับ

ตรรกะที่ไม่มีเหตุผล อาจไม่เป็นเท็จ หากความคิดเรามีระบบพอเพียงต่อการค้นหาข้อมูลที่เสริมตรรกะนั้นครับคุณกวิน

เห็นด้วยกับความคิดแห่งการกระทำที่ยอมรับความทุกข์และสร้างความสุข นั่นคือหากกิจกรรมบำบัดพบตรรกะที่ไม่มีเหตุผล แนวทางที่แนะนำคือการยอมรับความเป็นจริงแห่งการจัดการตนเองเพื่ออยู่อย่างมีความสุข แม้ว่าจะดำเนินขีวิตในขณะมีความทุกข์จากเจ็บป่วย หรือ อุปสรรคของการทำกิจกรรมอย่างจำกัดครับ

ค่อนข้างจะวิชาการมากเลยน๊ะครับ จริงๆแล้ว ทักษะชีวิตที่มีสุข มันอยู่ที่ตัวบุคคล และสิ่งแวดล้อม ใช่หรือเปล่าครับ ง่ายๆ ก็คือ คิดดีทำดี อยู่กับสิ่งแวดล้อมทีดี และอยู่อย่างพอเพียง เท่านี้ชีวิตก็มีสุข จริงมั๊ยครับอาจารย์ pop

ขอบคุณครับคุณ tony

ต้องขออภัยที่เขียนวิชาการมากเลย เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ความคิดของคนที่ฟังการบรรยายหัวข้อเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนความคิด

ผมพยายามจะใช้ประสบการณ์ในการเขียนสิ่งเหล่านี้ให้ง่ายต่อความเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ

ขอบคุณที่คอยติดตามอ่านนะครับ

เห็นด้วยกับคุณ tony ในเรื่อง คิดดีที่จะอยู่อย่างพอเพียงในสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีสุข แต่สิ่งสำคัญคือ การสร้างแนวคิดที่จะอยู่กับผู้อื่นให้มีการปรับตัวและเรียนรู้สัมพันธภาพอย่างมีคุณธรรมและมีคุณภาพชีวิตครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท