ใช้เศษวัสดุเพาะเห็ดถุงมาเพาะเห็ดฟางในตะกร้า


เพาะเห็ด

ใช้เศษวัสดุเพาะเห็นถุงมาเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

            เศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตรใช้หลัก 3 ประการ คือ พอประมาณ มีเหตุผล การมีภูมคุ้มกันที่ดีโดยมีเงื่อนไของค์ความรู้ควบคู่คุณธรรม ซึ่งวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงจำเป็นต้องมีการปรับระบบการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพและสถานการณ์ในปัจจุบัน การเพาะเลี้ยงเห็ดก้อน เป็นทางเลือกหนึ่งของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง บ้านท่าทอง ต.นครสวรรค์ตก   อ.เมืองนครสวรรค์ ที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน เดือนละไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท

            เห็ดเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นที่เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจใช้การลงทุน และพื้นที่ไม่มากนัก และการดูแลก็ไม่ซับซ้อน ต้นทุนการผลิตใช้เงินทุนในการก่อสร้างโรงเรือนขนาด 3 x 4 เมตร ใช้เงิน 5,000 บาท และค่าก้อนเชื้อเห็ดภูฐานก้อนละ 6 บาท ถ้าซื้อ 1,000 ก้นใช้ทุน 6,000 บาท ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 250-300 กิโลกรัม หลังจากเปิดดอกแล้วเกษตรกรเก็บผลผลิตได้ประมาณ 3 เดือน หลังจากที่เชื้อหมดแล้ว เกษตรกรสามารถนำเอาขี้เลื่อยจากก้อนเห็ดมาเป็นวัสดุการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าได้ดังนี้

                        -   ขี้เลื่อยที่เพาะเห็ดในถุงพลาสติกหมดอายุแล้ว            150   ก้อน

                        -   ผักตบชวาสดหั่น                                                      50    กก.

                        -   แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งสาลี                                     50    กรัม

            วิธีการปฏิบัติ

            1.  เลือกก้อนเชื้อเห็ดที่ไม่มีเชื้อปนเปื้อนมาบดพอหยาบ ตรวจสอบความชื้น ได้การใช้มือกำดูพอชื้นมือหรือความชื้นประมาณ 60 %

            2. ดำเนินการเพาะเห็ดฟางตามกรรมวิธี ดังนี้ ใช้ตะกร้ามีรูขนาด 1 x 1 นิ้ว ใส่ขี้เลื่อยสูงจากก้นตะกร้า 2 นิ้ว โดยผักตบชวาตอบๆ ตะกร้าสูง 1 - 2 ซม. กว้าง 1 ฝ่ามือ แล้วโรยเชื้อเห็ดรอบแล้วใช้ขี้เลื่อยโดยทับทำต่ออีก 2 - 3 ชั้น แล้วปิดหน้าด้วยเชื้อเห็ดฟางโรยทับด้วยขี้เลื่อย แล้วนำเข้ากระโจมคลุมด้วยพลาสติกเห็ด 1 ตะกร้าให้ผลผลิต 1.5  กิโลกรัม

           เห็ดมาหลายชนิดที่สามารถส่งเสริมให้เป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรตลอดจนคนยากจน และผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่ต้องใช้แรงงานมากและสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางชลอศรี  กกกลิ่น  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำ ต.นครสวรรค์ตก อ.เมืองนครสวรรค์ โทร.056-882260 หรือ 056-882259

 

คำสำคัญ (Tags): #เพาะเห็ด
หมายเลขบันทึก: 219322เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2008 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก็ดีครับเอาของเหลือใช้มาเพาะเห็ดตะกร้าอีกครั้ง เท่าที่ลองดูหลายๆครั้ง คิดว่าทำเป็นอาชีพหลักไม่ได้ เพราะว่าผลผลิตไม่แน่นอน ขนาดในฟาร์มเป็นผู้ผลิตหัวเชื้อเอง เหมาะสำหรับการเรียนรู้ถึงการเพาะเห็ดฟางเบื้องต้น ทำให้รู้และเข้าใจถึงการเกิดดอกเห็ดเบื้องต้น ที่จะนำไปสู่การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน ซึ่งสามารถเพาะเป็นอาชีพหลักได้ คือมีการอบไอน้ำฆ่าเชื้ออื่นๆก่อนแล้วค่อยนำเชื้อเห็ดฟางไปโรย แล้วดูแลรักษา จนเกิดดอก /*ศูนย์ข้อมูลเห็ดเพชรพิจิตร089-850-5103*/

การเพาะเห็ดในตะกร้า

เคยเพาะแต่ไม่สามารถเพาะเป็นอาชีพได้ ผลผลิตแต่ละรุ่นไม่แน่นอน เกือบทุกสูตรผลผลิตเฉลี่ยได้ 1/2 กก.ต่อ 1 ตะกร้า ถือว่าดีแล้ว ทางฟาร์มเคยใช้ เปลือกถั่วเหลืองบดแทนฟางเป็นตัวหลัก และใช้เศษฝ้าย ( ที่ใช้ผลิตเชื้อเห็ดฟาง) เป็นอาหารเสริม ออกอย่างที่เห็นในเว็บฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร ผลผลิตเฉลี่ย 1 กก.เท่านั้น แปลว่าถ้าใช้สูตรนี้เป็นไปได้ที่จะพอมีทาง ทำเป็นอาชีพหลักได้ **รายงานโดย ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร www.phetphichit.com โทร.081-886-9920**

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท