Six Sigma


ประวัติความเป็นมาของ Six Sigma


            ปัจจุบันวิธี Six Sigma ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เฉพาะแต่ในวงการ
ของการปรับปรุง และรักษาคุณภาพเท่านั้น แม้แต่ในวงการบริหาร และการจัดการธุรกิจ วิธี Six Sigma ก็มีบทบาท เพิ่มมากขึ้นจุดกำเนิดของวิธี Six Sigma เริ่มขึ้นเมื่อบริษัทโมโตโรล่า ( Motorola ) ได้พัฒนา และสร้างโครงการเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้าภายใต้ชื่อ วิธี Six Sigma ” ในด้านของความหมาย สัญลักษณ์ Sigma  ซึ่ง คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานs เป็นตัวอักษรกรีก ตัวหนึ่งซึ่งในทางสถิติ สัญลักษณ์  ( Standard deviation ) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการกระจายของข้อมูล

หลักการหรือแนวคิดของ Six Sigma
            หลักการ หรือแนวคิดของ Six Sigma มีพื้นฐานมาจากแนวคิดในเชิงสถิติภายใต้สมมติฐานที่ว่า
            ๑. ทุกสิ่งทุกอย่าง คือ กระบวนการ
            ๒. กระบวนการทุกกระบวนการ มีการแปรปรวนแบบหลากหลาย ( Variation ) อยู่ตลอดเวลา
            ๓. การนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมชาติของการแปรปรวนแบบหลากหลายจะนำไปสู่การพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการให้ดียิ่งขึ้น
           
หัวใจสำคัญของวิธีการ Six Sigma ขึ้นอยู่กับสมมติฐานที่ว่าถ้าเราสามารถนับหรือวัดจำนวน ดีเฟค ( Defect ) หรือสิ่งที่มีตำหนิ บกพร่อง ผิดพลาด หรือเสียของผลิตผลที่ได้จากกระบวนการ เราก็สามารถหาวิธีที่จะขจัดจำนวน ดีเฟค บนผลิตผลให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้

ขั้นตอนการทำงานของ Six Sigma
            วิธี Six Sigma ขึ้นอยู่กลับการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาทางที่ง่ายในการปรับปรุงกระบวนการทุกขั้นตอนเพื่อที่จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง จุดมุ่งหมายในการปรับปรุงคุณภาพโดยวิธี Six Sigma คือ ความ พยายามที่จะลดความคลาดเคลื่อน และการเปลี่ยนแปลงแบบหลากหลาย ( Variability ) ในกระบวนการซึ่งจะมีวิธีการอยู่ 5 ขั้นตอน คือ DMAIC ( ดี-เม-อิก )
           
1. D = Define การกำหนดปัญหา และเป้าหมายอย่างชัดเจน ว่าอะไร ส่วนไหน ที่จำเป็นต้องปรับปรุง และจะปรับปรุงให้ถึงระดับไหน
           
2. M = Measure การวัดเป็นสิ่ง จำเป็นที่จะทำให้เข้าใจสภาพของระบบและกระบวนการ ที่มี หรือใช้อยู่ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันการที่จะวัดความจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจว่าจะวัดอะไร วัดอย่างไร
วัดที่ไหน และวัดเมื่อไร จึงจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ หลังจากที่ได้กำหนดประเด็นปัญหาไว้อย่างชัดเจน
            3. A = Analyze การวิเคราะห์ เป็นการเอาข้อมูลทางตัวเลขทีได้จากการวัดมาวิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุใน การที่จะทำให้ เกิด ความคลาดเคลื่อน และการเปลี่ยนแปลงแบบหลากหลาย ( Variation ) ในกระบวนการ และการทดสอบสมมุติฐานเพื่อหาทางขจัดปัญหา
            4. I = Improve การพัฒนา หรือการปรับปรุงสมรรถนะ และประสิทธิภาพของกระบวนการ เป็นการ แสวงหา และพัฒนาวิธีที่จะนำมาขจัดปัญหา รวมไปถึงการสร้างระเบียบ และแผนผังของการจัดการเพื่อลดปัญหา
            5. C = Control การควบคุม เป็นการพยายามที่จะควบคุมรักษาระดับ สมรรถนะของกระบวนการที่ ได้รับการปรับปรุง แล้วให้คงอยู่ในระดับที่น่าพอใจตลอดไป

การนำเอา Six Sigma ไปประยุกต์ในการศึกษา
            การศึกษาที่ดีควรจะมีคุณค่าต่ออาชีพ และชีวิตของนักศึกษา การศึกษาควรจะสร้างนักศึกษาให้เป็นสมาชิกที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่การที่จะปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาให้ดีในทุกๆ ด้านนั้น เป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องศึกษาอย่างละเอียด อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการยกตัวอย่าง ในการประยุกต์ใช้วิธี Six Sigma ในการปรับปรุงการศึกษา โดยเลือกพิจารณาหนึ่งในดัชนีชี้วัด เรื่องเปอร์เซ็นต์ ของการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์เวลาที่กำหนดให้ โดยที่จะพิจารณาว่าอุปสรรคที่ทำให้นักศึกษาไม่สามารถที่จะสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์เวลา
( Attrition Factor Variable ) คือ ดีเฟค ของสินค้า หรือผลผลิต ดังนั้นสินค้าที่ไม่มี ดีเฟค ก็เปรียบเสมือนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์เวลา


สรุป
การที่จะใช้วิธี Six Sigma เพื่อปรับปรุงคุณภาพสามารถทำได้ 5 ขั้นตอน คือ
                        1) การกำหนดปัญหา และเป้าหมาย
                        2) การวัด
                        3) การวิเคราะห์
                        4) การพัฒนา
                        5) การควบคุม
            ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้มีชื่อเรียกกันทั่วๆ ไปว่า DMAIC ( ดี-เม-อิก ) การปรับปรุงโดยวิธี

Six Sigma โดยหลักการแล้วเป็นการพยายามควบคุมกระบวนการของการผลิต หรือการบริการ โดยการลดความแปรปรวนของกระบวนการ วิธี Six Sigma เป็นวิธีที่เริ่มจากบนลงล่าง (Top down )

            เพราะฉะนั้นวิธี Six Sigma จึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ซึ่งมีอำนาจสูงสุด ในการตัดสินใจ เป็นผู้สนับสนุน สำหรับโครงการของการปรับปรุงที่มีขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องหาผู้ซึ่งมีความเข้าใจ และเชี่ยวชาญใน วิธี Six Sigma โดยเฉพาะ การปรับปรุงและรักษาคุณภาพของการศึกษาจำเป็นจะต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ

( Stakeholder ) ด้วยซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบนี้รวมไปถึง อาจารย์ และบุคลากรของสถาบัน นักศึกษา ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม และอาจจะรวมไปถึงสังคมด้วย ความคิดเห็น และกระแสของสังคมโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมเป็นเรื่องที่สถาบันจำเป็นที่จะต้องรับฟัง โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ได้รับผลกระทบมักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ โดยทางอ้อมในการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมของสถาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงในด้าน วัฒนธรรม และมาตรฐานทางจริยธรรมของสังคม องค์กรที่สามารถปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม จะมีโอกาสที่จอยู่รอด และประสพความสำเร็จ สถาบันการศึกษาก็เช่นกันจำเป็นจะต้องปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เพื่อการอยู่รอด
            โดยสรุปแล้ว Six Sigma เป็นวิธีที่ใช้ และได้ผลดีในการปรับปรุงคุณภาพองค์กรระดับโลก ในทางอุตสาหกรรมวิศวกร จะต้องคอยตรวจสอบมองหา ดีเฟค ซึ่งคือข้อบกพร่อง หรือตำหนิของผลผลิต และจะต้องพยายามหาวิธีที่จะขจัด

 

 

หมายเลขบันทึก: 219109เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2008 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับกับประวิติของ Sig Sigma

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท