ประวัติตัวพิมพ์ไทย


จารึกหลักที่ 1 และความคิดเห็นที่แตกต่างในของนักวิชาการ

การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลาจารึกหลักที่ 1

 

  • ข้อมูลเบื้องต้นของศิลาจารึกหลักที่ 1

    ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงทำขึ้นจากหินทรายแป้ง สูง ๑๑๑ เซนติเมตร กว้าง ๓๕ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพบเมื่อครั้งเป็นภิกษุขณะจาริกไปยังเมืองเก่าสุโขทัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งลงมายังกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ และทรงพยายามอ่านและแปลศิลาจารึกนั้นด้วยพระองค์เอง

    ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
  • (ข้อมูลจาก http://www.sarakadee.com)


(ศิลาจารึกหลักที่ 1..ด้านที่ 1)
พ่อกูชื่สรีอินทราทีตย แม่กูชื่นางเสือง พี่กูชื่บานเมือง
ตูมีพี่น๋องท๋องดยวห๋าคน ผู๋ชายสาม ผู๋หญิงโสง พี่เผือ
ผู๋อ้ายตายจากเผือตยมแต่ญงงเลก เมื่อกูขึ๋นใหญ่ได๋
สิบเก๋าเข๋า ขุนสามชนเจ๋าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ
ขุนสามชนหววซ๋าย ขุนสามชนขับมาหววขวา ขุนสาม
ชนเกลื่อนเข๋า ไพร่ฟ๋าหน๋าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ้
น กูบ่หนี กูขี่ช๋างเบกพล กูขับเข๋าก่อนพ่อกู กูต่อ
ช๋างด๋วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช๋าง ขุนสามชนตววชื่
มาสเมือง แพ๋ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึ่งขึ๋นชื่กู
ชื่พระรามคํแหง เพื่อกูพุ่งช๋างขุนสามชน เมื่-
อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได๋ตวว
เนื้อตววปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได๋หมากส๋มหมากหวา-
น อนนใดอนนกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตี-
หนังวงงช๋างได๋ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ๋านท่เมื-
อง ได๋ช๋างได๋งวง ได๋ป่ววได๋นางได๋เงือนได๋ทอง กูเอา
มาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบํเรอแก่พี่
กู ฎงงบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได๋เมืองแก่กูท๋งง
(ก)ลํ เมื่อช่ววพ่อขุนรามคํแหง เมืองสุโขไทนี๋ดี ในน๋ำ
มีปลา ในนามีข๋าว เจ๋าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่-
อนจูงวววไปค๋า ขี่ม๋าไปขาย ใครจกกใคร่ค๋าช๋างค๋า ใคร
จกกใคร่ค๋าม๋าค๋า ใครจกกใคร่ค๋าเงือนค๋าทองค๋า ไพร่ฟ๋าหน๋าใส
ลูกเจ๋าลูกขุนผู๋ใดแล๋ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อ
เสื้อคำมนน ช๋างขอลูกเมียยียเข๋า ไพร่ฟ๋าข๋าไท ป่า
หมากป่าพลูพ่อเชื้อมนน ไว๋แก่ลูกมนนสิ้น ไพร่ฟ๋า
ลูกเจ๋าลูกขุน ผิ๋แล๋ผิดแผกแสกว้างกนน สวนดู
แท้แล จึ่งแล่งความแก่ขาด๋วยซื่ บ่เข๋าผู๋ลกกนกกมกก
ผู๋ซ่อน เหนข๋าวท่านบ่ใคร่พีน เหนสินท่านบ่ใคร่เดือ-
ด คนใดขี่ช๋างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื้อ
กู้ มนนบ่มีช๋างบ่มีม๋า บ่มีป่ววบ่มีนาง บ่มีเงือ-
นบ่มีทอง ให๋แก่มนน ช่อยมนนตวงเปนบ๋านเปนเมือ-
ง ได๋ข๋าเสือกข๋าเสือ หววพุ่งหววรบก่ดี บ่ข๋าบ่ตี ใน
ปากปตูมีกดิ่งอนนณึ่งแขวนไว๋ห๋นน ไพร่ฟ๋าหน๋า
ปกกลางบ๋านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจบท๋อง
ข๋องใจ มนนจกกกล่าวเถิงเจ๋าเถิงขุนบ่ไร้ ไปล่นนก-
ดิ่งอนนท่านแขวนไว๋ พ่อขุนรามคํแหงเจ๋าเมืองได๋

(อ่านต่อ)>>> http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1201.0;wap2 :

ประวัติตัวพิมพ์ไทย

เปิดไปที่ภาคผนวกในพจนานุกรมฉบับมติชนพบข้อมูลสรุปได้ว่า จากการค้นคว้าของ ศ.ขจร สุขพานิช กล่าวถึงหมอจัดสัน และแนนซี่ จัดสัน หรือแอนน์ มิชชันนารีคณะแบพ ติสต์ ชาวอเมริกัน ซึ่งเดินทางมาเผยแผ่ศาสนาที่เมืองย่างกุ้ง พม่า นางจัดสันเรียนภาษาไทยจากเชลยชาวสยามที่ถูกกวาดต้อนไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยนางจัดสันได้คิดเขียนแบบตัวหนังสือภาษาไทยขึ้น

ครั้นช่างพิมพ์ จอร์จ ฮัฟ นำแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษมาตั้งโรงพิมพ์ในพม่า ฮัฟได้หล่อตัวพิมพ์ไทยขึ้นครั้งแรกในปี 2359 ตามแบบของนางจัดสัน ต่อมาปี 2362 เขาเดินทางไปยังเซรัมโบร์ นครกัลกัตตา อินเดีย นำแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ไทยไปด้วย ตัวพิมพ์ไทยชุดแรกจึงตกค้างอยู่ที่กัลกัตตาเรื่อยมา

ล่วงถึงปี 2378 หมอบรัดเลย์ หรือแดน บีช บรัดเลย์ เดินทางถึงประเทศสิงคโปร์ คณะอเมริกัน บรอด ออฟ คอมมิชชั่นเนอร์ส ฟอร์ ฟอเรนจ์ มิชชันส์ ได้ซื้อแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยต่อจากคณะลอนดอน มิชชันนารี โซไซตี้ (ซึ่งซื้อมาจากนครกัลกัตตาอีกต่อหนึ่ง) และมอบให้หมอบรัดเลย์นำมาพิมพ์หนังสือเผยแผ่ศาสนาในประเทศไทย

โรงพิมพ์แห่งแรกของหมอบรัดเลย์ตั้งอยู่ที่ตรอกกัปตันบุช เปิดใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2378 จนถึงปี 2381 จึงย้ายไปเช่าที่เจ้าพระยาคลังที่หน้าวัดประยุรวงศาวาส ที่โรงพิมพ์แห่งนี้เอง หมอบรัดเลย์ได้ร่วมมือกับศาสนาจารย์ชาร์ลส์ โรบินสัน และช่างพิมพ์ชาวอเมริกัน โรเบิร์ต ดาเวนพอร์ต พิมพ์ สิ่งพิมพ์แรกในเมืองไทย คือ บัญญัติสิบประการ

ความก้าวหน้าทางการพิมพ์ในประเทศไทยก้าวมาถึงจุดที่สมบูรณ์ที่สุดในปี 2384 เมื่อหมอบรัดเลย์และคณะสามารถหล่อตัวพิมพ์ไทยขึ้นสำเร็จ มีแบบที่งดงามกว่าที่เคยใช้กันมาตัวพิมพ์ใหม่ชุดนี้หมอบรัดเลย์ได้นำไปถวายเจ้าฟ้ามงกุฎที่วัดบวรนิเวศวิหาร 1 ชุด พร้อมตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษอีก 1 ชุด จึงเป็นจุดเริ่มต้นงานพิมพ์ของคนไทย

จุดสูงสุดของการพิมพ์หนังสือในประเทศไทยคือวันที่ 4 กรกฎาคม 2387 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยชื่อ หนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ (The Bangkok Recorder) ออกเดือนละสองครั้ง ไม่มีผู้เป็นเอดิเตอร์ ทำอยู่ได้ปีเดียวก็เลิกกิจการไป ก่อนจะออกใหม่อีกในปี 2407 เป็นรายเดือน มีหมอบรัดเลย์เป็นบรรณาธิการ เป็นหนังสือที่บรรจุสารคดีและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกประเทศ

นอกจากหนังสือพิมพ์ หมอบรัดเลย์ยังพิมพ์หนังสืออื่นๆ อาทิ ปี 2404 ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยมาจัดพิมพ์จำหน่าย นับเป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์ในการพิมพ์หนังสือครั้งแรกในประเทศไทย และจัดพิมพ์หนังสือด้วยตัวอักษรลาวขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย ปี 2405 พิมพ์หนังสือกฎหมายสยาม ปี 2407 พิมพ์เรื่องสามก๊กและพงศาวดาร รวมถึงจัดพิมพ์หนังสือวรรณคดีอีกหลายเรื่อง และจัดพิมพ์หนังสือสารคดีเป็นจำนวนมาก หลายเล่มหมอบรัดเลย์แปลและแต่งเอง

หนังสือที่หมอบรัดเลย์ผลิตออกมาได้เข้าเล่มเป็นรูปหนังสือเล่มแบบที่ผลิตในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นของใหม่ในเมืองไทย เพราะแต่เดิมหนังสือไทยมีลักษณะเป็นสมุดพับกลับไปกลับมาเรียกว่าสมุดไทย แต่เล่มหนังสือที่หมอ บรัดเลย์ผลิตขึ้นเป็นหนังสือที่มีการเย็บเล่มเข้าปกแบบหนังสือฝรั่ง จึงเรียกว่าสมุดฝรั่ง

เก็บมาจาก  >>  http://news.buddyjob.com/education/show_news-6808-7.html

 

หมายเลขบันทึก: 218551เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2008 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท