ลดอัตตาเป็นเรื่องยาก ผสมผสานอัตตา น่าจะดีกว่า


จากการไป brief  หนังสือ Group Genius  (ที่  ปูนบางซื่อ SCG)

เขาใช้คำว่า  Blending Egos

ในการเข้าวง ด้น (improvise) รอบแรกๆ  คนมีอัตตา  จะแสดงออกเยอะ   แต่  ด้วยหลักการ ของ การ "ไม่ว่ากัน" "ยอมรับ"  "ห้อยแขวนคำพิพากษา"  ฯลฯ 

ซ้อมๆๆๆๆ กันหลายๆรอบ  อัตตาจะลดลงเรื่อยๆ    ได้อย่างเป็นธรรมชาติ  อย่างไม่น่าเชื่อ

คนขี้โม้ ---> ก็เพราะ เขามี "ปม"  อาจจะเป็นตั้งแต่เด็กๆ   เมื่อโกหกทีไร ได้รับการ สนใจ หันหน้ามามอง ฯลฯ  ทำให้เขา "ติดใจ"  และ เชื่อมั่นใน "การโกหก และ โม้"  ว่าเป็น พฤติกรรม ที่ดี ของเขา   เช่น   ตอนเล็กๆ  ไม่มีใครฟังกัน ไม่มีใครฟังเขา   พอเขา   อวดเพื่อนๆ ว่า "ที่บ้านมีปลาวาฬ เลี้ยงอยู่หลังบ้าน"   ปรากฏว่า  ตื่นเต้นกันทั้งห้อง   เด็กอีกคนก็บอกว่า "พ่อเขา ก็มี  ไดโนเสาร์   เลี้ยงไว้บนบ้าน"    ทั้งกลุ่มตื่นเต้น สนุกสนาน  ไม่ขัดคอกัน 

 

แต่ พอมาเข้า กลุ่ม improvise   เขาได้รับการยอมรับ โดยไม่ต้องโกหก ไม่ต้องโม้ 

ผมยกตัวอย่าง เรื่องในพระไตรปิฏก เสริมว่า   คนงกๆเค็มๆ เกิดจาก ปม ในใจ ปมตอนเด็ก  ที่ได้รับความรู็สึกว่า "ต้องสู้"   ต้องเอาไว้ก่อน   ฯลฯ ปู่ ย่า เขา อาจจะมาจากเมืองที่มีสงคราม   พวกเขาต้องหนีสงคราม  ผ่านความจนมากๆ  อยู่โหมดเอาตัวรอดเสมอๆ  ---->  ดังนั้น   การหยิบคว้า หาอะไรได้   เก็บไว้ก่อน  มันทำให้ปลอดภัย ฯลฯ      พวกเขา ก็อาจจะ (ไม่ทุกคน)  ถ่ายทอยนิสัย  "คว้าไว้ก่อน"  "กำอึ ดีกว่ากำผายลม"   เข้าโหมดเอาตัวรอดเสมอ   พวกเขาไม่รู้สึกว่าผิด  พวกเขากลับรู้สึกว่า พวกเขาฉลาด เอาตัวรอดได้ดี คนอื่นๆสิโง่   ไม่รักษาผลประโยชน์  ไม่เห็น "ช่อง" หากิน

การจัดการ คนงกๆเค็มๆ  ตะหนี่ เหนียว คือ การให้ๆๆๆๆๆๆ  ให้อภัย  ให้ของเล็กๆน้อยๆ 

ลูกน้อง คนนึงในโรงงานที่สระบุรี  ได้นายที่งกๆเค็ม   เขาก็จัดการสั่งสอนเจ้านาย  ด้วยการ "ให้"  เช่น  เอามะม่วง  กล้วย ฯลฯ   ต้นที่สวนหลังบ้านของเขามาฝาก   เอาโน้นเอานี่ มาให้เรื่อยๆ  แต่ ก็เป็นของที่ไม่แพง   หยิบฉวยของในสวน จาก น้ำใจชาวสวน 

เขาโอกาสเจ้านายได้ ดุ ได้อัด ได้ข่ม ได้ดูถูก  ฯลฯ  เป็นการให้โอกาสที่ยิ่งใหญ่  ที่ นายจะได้ ค่อยๆ งง  ได้เห็น ตัวอย่าง  ของ  ผู้ที่ตำแหน่งน้อยกว่า แต่ ทนกว่า   .... ขันติบารมี  วิริยะบารมี  ฯลฯ มากกว่า

คุณพ่อผม สอนเสมอว่า  "การเอาใจนายที่ดีที่สุด คือ ด้วยผลงาน และ อดทน ยอม เพื่อแลกกับการเรียนรู้" 

ลองนึกถึง นายเค็มๆ  งกๆ   เราจะเห็นว่า เขาน่าสงสาร   เขาเข้าโหมดเอาตัวรอด โหมดตะกายดาวเสมอๆ

พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีจัดการคนแบบต่างๆมากมาย  ลองอ่าน คำแปล บทสวดพาหุง ฯ  ดูสิครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #group genius#พาหุง#อัตตา
หมายเลขบันทึก: 218246เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2008 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สาธุ โมทนา ด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้งค่ะ

ท่านจัดการ เรื่อง รู้ตนได้ดีมาก นับถือค่ะ

  • อ่านละเอียด และแขวนไว้ ก่อน
  • แต่เมื่ออ่านจบ ทบทวน พิจารณาไป ก็ล้วน "ใช่เลย" ครับ
  • ชอบการ ขึ้นๆ ลงๆ ของอาจารย์จัง
  • ผมว่า วาทกรรม ที่เราจงใจปล่อยออกไป มันวัดใจคนฟัง คนอ่าน ได้เสมอครับ ถ้าอยู่ในวงเขาก็จะปล่อยอะไรออกมาทางสีหน้า แววตาให้เห็นได้ง่ายๆเลย
  • ตัวอย่างการ ขึ้นๆ ลงๆ ที่ว่าชอบ ก็เช่น อาจารย์ใช้ "การโกหก และ โม้" แทนที่จะ ดจร.บอกว่า "การกล่าวคำอันไม่จริงและเกินกว่าที่มันเป็น" แล้วอยู่ๆก็ "กำอึ ดีกว่ากำผายลม" นับเป็นการจงใจสุภาพอย่างไม่น่าให้อภัย .. ผมว่า Original ของแท้ดีกว่าครับ .. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า " Kum Key Dee Kwa Kum Tod " ... ใครแปลไม่ได้ก็ขออย่าได้พยายามเปิดดิกชันนารี
  • คิดถึงครับ .. วันที่ 8 พย. คงได้พบพระอาจารย์ครับ ... อิ อิ

ขอแปะคำแปลบทสวดพาหุงไว้ที่นี่เลยนะครับ

บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ

พญามารเนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธ ครบมือ ขี่ช้าง ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามาร โห่ร้องก้องกึก พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น ด้วยเดช แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

อรรถาธิบายอย่างย่อ = ปราบมาร ด้วยทานบารมี

บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์

อาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจาก ความอดทน ดุร้าย สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่าง ทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี พระจอมมุนีทรง เอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี ด้วย เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

อรรถาธิบายอย่างย่อ = ปราบยักษ์ ด้วยขันติธรรม

บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้

พญาช้างชื่อ นาฬาคิรี ตกมัน ดุร้ายยิ่งนัก ประดุจไฟป่า จักราวุธ และสายฟ้า พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีรดด้วยน้ำ คือเมตตา ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

อรรถาธิบายอย่างย่อ = ปราบช้าง ด้วยเมตตาธรรม

บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร

โจรองคุลิมาล (โจรฆ่าคนเอานิ้ว ทำพวงมาลัยแสนดุร้าย) ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ฆ่า พระพุทธองค์สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์ พระจอมมุณี ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจเอาชนะได้ราบคาบ ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

อรรถาธิบายอย่างย่อ = ปราบมหาโจร ด้วยอิทธิฤทธิ์

บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ

นางจิญจมาณวิกา (สาวิกาพวกนิครนถ์) เอาไม้กลมๆ มาผูกท้อง ทำอาการ ประหนึ่งว่ามีครรภ์ ใส่ร้ายพระพุทะเจ้า ท่ามกลางฝูงชน พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม ด้วย เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

อรรถาธิบายอย่างย่อ = ปราบหญิงแพศยา ด้วยสันติธรรม

บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ

สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ ตั้งใจมาได้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคน มืดบอดยิ่งนัก พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วย “แสงปัญญา” ทรงเอาชนะได้ ด้วยเดชแห่ง ชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

อรรถาธิบายอย่างย่อ = ปราบเจ้าลัทธิ ด้วยปัญญา

บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย

พญานาค ชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก พระจอมมุนี ทรงมี พุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรส ไป ปราบด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า ด้วยเดช แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่าน

อรรถาธิบายอย่างย่อ = ปราบพญานาคจอมพาล ด้วยฤทธิ์สู้ฤทธิ์

บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน

พรหมชื่อพกะ (ถือตัวว่า) มีความ บริสุทธิ์ รุ่งเรืองและมีฤทธิ์ ยึดมั่นในความเห็นผิด ดุจมีมือถูกอสรพิษขบเอา

อรรถาธิบายอย่างย่อ = ปราบพกาพรหม ด้วยญาณ

ข้อมูลนำมาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%87

ขอบคุณ ทุกท่านครับ

******

ฮัลเลลูยา <---- ใช่เลยครับ

อจ Handy <---- ผม ด้นสดๆ คิดคำไหน ได้ ก็คำนั้น ...เจอกัน ๘ พย ครับ

นับถือ นับถือ

ได้ข้อคิดเยอะเลย ขณะตามอ่าน ทีละตัว ช้าๆ และ อ่านซ้ำ 3 รอบ 4 รอบ

ชอบ ทุกวลี ทุกประโยค ร้อยเรียงกัน อ่านแล้วสนุก เสียดายตอนอ่านจบ

ด้วยความรู้สึกกระจ่างแจ้ง

ด้วยความรู้สึกดี ต่อเพือนมนุษย์ ผู้เป็นเพื่อนทุกข์

อยากอ่านอีกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท