สัญญาในครอบครัว


                                  

                                             

      เคยได้ยินสัญญามากมาย ทั้งด้านการเงิน ด้านนิติกรรมต่าง ๆ เคยได้ยินสัญญาในครอบครัวบ้างไหมค่ะ  บางคนเขาทำสัญญาก่อนแต่งงานก็มี แต่มาคราวนี้คุณแม่เริ่มเหนื่อยกับงานในบ้านบ้างแล้ว   จึงเริ่มทำสัญญาบ้างค่ะ

          เขาทำสัญญากันอย่างไร

1.ขั้นตอนแรกประชุมกันในครอบครัวกันก่อน  พยายามประชุมแบบสร้างสรรค์ ไม่อย่างนั้น   บรรดาสมาชิกต้องโวยวายกันแน่   พูดภาษาเชิงบวก หรือ positive thinking  หรือภาษาดอกไม้ว่ากันอย่างนั้นค่ะ

2.ขั้นตอนที่สอง  ถ้าต้องการให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงต้องขอให้พูดอย่างชัดเจน  อย่าพูดคลุมเครือ เช่น "ก่อนลูกไปโรงเรียน อยากให้ลูกช่วยแม่หุงข้าว  ทิ้งไว้ทุกเช้านะครับลูก"   แทนคำว่า "ไม่เคยเห็นทำประโยชน์อะไรเลย  ตื่นขึ้นมาก็ไปโรงเรียนแล้ว" 

   *อย่าพยายามให้ลูกเดาใจพ่อแม่ หรือพ่อแม่เดาใจลูก เพราะไม่มีใครที่จะอ่านความคิดของใครได้แม้จะอยู่ร่วมกันมานาน

3.เมื่อจะให้สิทธิพิเศษอย่างใดกับลูก ขอให้พูดอย่างละเอียด ในเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ต้องเป็นที่ตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย (พ่อแม่ลูก)     รายละเอียดปลีกย่อยต้องพิจารณาดังนี้

- สำคัญ ไม่ใช่เรื่องปลีกย่อย

- เกี่ยวข้องกับลูก และมีความหมายกับเขา  เช่นไปเที่ยวกับเพื่อน   เป็นต้น  การตกลงต้องไม่เป็นการสั่งการ แต่ต้องเกิดจากการปรึกษากัน เช่น  จะยอมให้ไปเที่ยวกับเพื่อนได้อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ,กลับไม่เกินเท่าใด, สถานที่ไปท่านยอมหรือไม่ยอม

                                              

4.ให้กำลังใจเมื่อลูกทำความดี

5.ส่งเสริมกิจกรรมที่แสดงความร่วมมือกันในสมาชิกครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ หรือทำอาหารกินในวันหยุดสุดสัปดาห์

6.เป็นตัวอย่างที่ดีในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  แทนที่เรา จะบอกเขาอย่างเดียวในเรื่องนั้น ๆ แต่เรากลับทำตัวไม่เป็นแบบอย่าง เดี๋ยวเด็กเขาจะย้อนเรา.....อย่างนี้อายเด็กแย่เลย

7.ถ้าเขาทำตามข้อตกลงในสัญญา ท่านอาจจะมีการเสริมแรงให้เขาทั้งคำพูดและการกระทำ    ถ้าไม่ทำตามสัญญา ก็ขอให้ทำตามข้อตกลงที่ประชุมกัน ว่าจะจัดการอย่างไร   เช่น หากไม่หุงข้าวตามที่ตกลงว่า จะหักเงินค่าขนม 25 % และต้องทำตามสัญญานั้น ๆ แล้ว เพื่อ....ความขลัง

8.โปรดระวัง การชม ถ้าหากเขาทำตามสัญญาตามข้อตกลง ขอให้ชื่นชมอย่างจริงจัง   อย่าใช้เป็นเครื่องมือต่อว่า เช่น ดีจังลูกทำการบ้านและอาบน้ำเสร็จ ทำไมลูกต้องให้แม่เตือนทุกวัน (อย่างนี้เขาเรียกว่าขัดแย้งกัน จะชมหรือจะด่าเนี่ยะ)

9.การทำข้อตกลงทุกเรื่อง  ควรจะเน้นในหลักการอยู่ร่วมกันเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการประนีประนอมเสมอ ไม่ควรตกลงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด "ได้" หรือ "เสีย"

10.การประชุมตกลงร่วมกันในระหว่างสมาชิกครอบครัว ไม่ควรนานเกินไป ระยะเวลา 30-45 นาที และไม่ควรทำบรรยากาศให้เคร่งเครียด เป็นที่หวาดระแวงของลูก ๆว่า "วันนี้จะโดนอย่างไร"

    พ่อแม่ควรผ่อนคลาย ทำเหมือนเป็นกิจกรรมหนึ่งในครอบครัว ที่ต้องร่วมกันแก้ไขความขัดแย้งหรือไม่ลงรอยกัน และสร้างสรรค์ เพื่อเป้าหมายร่วมกัน คือ ความสุขในครอบครัวของเราเอง

                                                     

 

---------- ส่วนหนึ่งจากบทความ ดร.นวลศิริ เปาโรหิตย์--------

 

หมายเลขบันทึก: 218098เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2008 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • คึกคักดีจังเลย  เข้ามาในบล็อกนี้น่ะ 
  • ครูอ้อย  ไม่อยากจะสัญญากับใครเลย..เศร้า
  • แต่หลายคนมาสัญญากับครูอ้อย..แล้วก็ลืม

แหะแหะ..มีความสุขสนุกทั้งวันนะคะ

ดีมากเลยครับ  แบบนี้ก็เป็นครอบครัวเข้มแข็ง  ขอบคุณครับ

                 เยี่ยมไปเลยครับ

สวัสดีค่ะ

- ครูอ้อย แซ่เฮ  บล๊อกลูก ๆ แม่ ๆ ช่างปวดหัวเสียเหลือเกิน กว่าจะจับปูใส่กระด้งได้เกือบไม่รอด แต่ก็น่ารักดีค่ะ ....ความสุขของคนเป็นแม่เป็นอย่างนี้นี่เอง

- นายประจักษ์~natadee  ครอบครัวเข้มแข็ง จะทำให้สังคมเป็นสุขเจริญต่อไปค่ะ เพราะจุดเล็ก ๆ ในครอบครัวยิ่งใหญ่เสมอค่ะ

- small man~natadee  ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญหากเราช่วยบมเพาะเด็กให้ดี อนาคตเขาคงจะเป็นคนดีในสังคมต่อไปค่ะ

                                  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท