การผลิตกล้วยไข่กำแพงเพชร ( 3 )


ควรทำการคัดเลือกหน่อที่สะอาดปราศจากโรคและแมลงทำลายเป็นหน่อที่มีลักษระโคนต้นอวบใหญ่

การผลิตกล้วยไข่ที่กำแพงเพชร

 

 

ในตอนที่ 3 นี้  ผมจะขอเล่าต่อว่าการคัดหน่อพันธุ์กล้วยไข่  ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ หากชาวสวนที่ไม่ได้ทำการคัดหน่อ  และไม่ได้คำนึงถึงแหล่งปลูกว่านำมาจากสวนกล้วยไข่ที่เป็นโรคมาก่อนหรือไม่ ก็จะทำให้ต้นกล้วยไข่ที่ปลูก เจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอกัน บางต้นที่เจริญเติบโตดี บางต้นก็แคระแกรน ไม่งาม  เท่าที่เคยสังเกตพบว่าส่วนใหญ่เกษตรกรมักจะไม่คำนึงถึงแหล่งปลูกว่าเคยเป็นโรคมาก่อนหรือไม่ หากเราจะลองวิเคราะห์ว่า มันจะเป็นสาเหตุนี้หรือเปล่าที่ส่งผลกระทบต่อแปลงปลูกกล้วยไข่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร บางแปลงก็อยู่บริเวณใกล้กัน มักจะเกิดโรคใบจุดไหม้ ระบาดอยู่เป็นประจำในช่วงระยะที่ฝนตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน หรือช่วงที่หมอกลงจัด

 

 

การคัดหน่อปลูก 

                        

                      การคัดเลือกหน่อกล้วยไข่ที่ติดอยู่กับต้นแม่

           ลองมาทำการคัดเลือกหน่อกล้วยไข่ที่เหมาะสม ควรทำการคัดเลือกหน่อที่สะอาด ปราศจากโรคหรือแมลงทำลาย เป็นหน่อที่มีลักษณะโคนต้นอวบใหญ่ ไม่แก่เกินไป มีอายุหน่อประมาณ 3-4 เดือน หรือมีการตัดแต่งหน่อไม่เกิน 3 ครั้ง และมีลักษณะที่ดี อีกประการหนึ่งก็คือ ให้ใช้หน่อที่แข็งแรงใบแคบเป็นหน่อปลูกมากกว่าหน่อที่มีใบกว้าง

                                                ลักษณะของการปลูกกล้วยไข่แบบพี่เลี้ยงน้องของคุณวิเชียร แย้มมาก

         คุณวิเชียร แย้มมาก ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านสาขากล้วยไข่แห่งเมืองกำแพงเพชร  หมู่ที่ 8 บ้านศรีวิไล ตำบลมหาชัย อำเภอไทรงาม ได้เล่าว่า ตนเองได้ทดลองการปลูกกล้วยไข่แบบพี่เลี้ยงน้อง ซึ่งเป็นการคัดเลือกหน่อ คู่กับต้นแม่เดิม โดยให้มีลักษณะที่ไล่เลี่ยกัน หากต้นแม่ตกเครือ (ติดลูก )   หน่อที่เป็นน้องก็จะเจริญเติบโต ขึ้นมาไล่เลี่ยกัน หากต้นแม่ถูกตัดผลไปแล้ว ต้นที่เป็นน้องก็จะออกลูกมาทดแทนต้นแม่ นับว่าเป็นภูมิปัญญาของเกษตรกรที่มีการพิสูจน์แล้วว่า การปลูกกล้วยไข่แบบพี่เลี้ยงน้องเป็นการได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นก็ส่งผลต่อการเพิ่มรายได้นั่นเอง หาก ต้นแม่ถูกลมพายุหักโค่นเสียหาย ต้นน้องก็จะออกลูกได้ผลผลิตที่ทดแทนกันได้

           หลังจากที่ได้หน่อกล้วยไข่ไปปลูกในพื้นที่มีการเตรียมดินปลูกเสร็จเรียบร้อยแล้ว    มีการเตรียมหลุมปลูกแล้ว และขั้นตอนที่นำหน่อที่ทำการคัดเลือกได้แล้วไปปลูกในหลุมปลูก  หลังจากที่ได้ปลูกกล้วยไข่ไปได้สักระยะหนึ่ง คือประมาณ 1 เดือนโดยทั่วไปหน่อที่ปลูกจะแทงใบอ่อนออกมาประมาณ 1-2 ใบ ชาวสวนจะมีการกำจัดวัชพืชระหว่างต้น พร้อมกับทำการย่อยหน้าดินไปพร้อมๆกัน ชาวสวนมักจะเรียกว่า ซอยดิน เป็นการพรวนหน้าดิน และบางสวนจะมีการโกยดินเข้าหากก (กอกล้วย ) เป็นการพูนโคนไปในตัว ขณะเดียวกันในบางกรณีที่เป็นกล้วยตอ เกษตรกรจะทำการก่นดิน 1 ครั้ง ช่วงระยะต้นฤดูการผลิต ประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน ธันวาคม และจะซอยดินอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ประมาณเดือน มกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อให้ดินโปร่ง การเจริญเติบโตของรากเป็นไปได้ดี

 

             บางครั้งก็จะพบว่าบางหน่อที่ปลูก โดยปลูกไปแล้วประมาณ  1 เดือน  ไม่สามารถแทงใบออกมาได้ตามปกติ จึงใช้มีดขอ ปาดปลายยอดของหน่อทิ้ง เพื่อกระตุ้นให้หน่อได้แทงใบออกมา ในเวลาอันรวดเร็ว  หากบางหน่อไม่สามารถแทงใบออกมาได้  ลำต้นเกิดเน่าตายไปก็มี เช่นกัน เจ้าของสวนจำเป็นต้องหาหน่อกล้วยไปปลูกซ่อมแทนต้นที่ตาย  บางสวนก็ปล่อยทิ้งไปก็มีไม่ทำการแปลูกซ่อมเลย (ตอนต่อไปจะเล่าถึงการให้น้ำและใส่ปุ๋ย)

หมายเลขบันทึก: 217730เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณค่ะ  ที่นำเรื่องการปลูกกล้วยมาให้อ่าน
  • ชอบมากเลยค่ะ  กล้วย  เป็นผลไม้มงคลของครูอ้อย  เวลาทำงานหนักๆ  ต้องมีกล้วยวางไว้  และดึงมากิน  ย้อมใจตนเองให้รู้สึกว่า...งานนี้กล้วยๆๆน่า
  • กล้วยกำแพงเพชร อร่อยมาก หอมหวาน ลูกเล็กก็จริง แต่รสชาติยอดค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ รออ่านต่อไปนะคะ

  • สวัสดีครับอาจารย์อ้อย
  • ดีใจสุดๆที่มาแวะเยี่ยมและทักทายกัน
  • ยินดีครับ
  • ขอให้อาจารย์มีความสุขกับการทำงานนะครับ

ขอบคุณค่ะ

มาเยี่ยมเยือน และเป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะ

สวัสดีครับ                                                                            ชอบกินกล้วย  ราคาถูกและมีประโยชน์...สงสัยว่าในกล้วยนี้จะมีสารพิษอะไรตกค้างหรือไม่....(กล้วยไข่กำแพงเพชร น่ากินมากเลย)

สวัสดีครับ

ขอชมครับที่นำเรื่องกล้วยไข่มาเสนอ

พืชประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ปลอดภัยแน่นอนหากทานกล้วยไข่ที่มีการรับรองแปลงแล้ว

อ พรานกระต่าย ได้ Q แล้ว 25 ราย ปี 50 ครับ

ร่วมด้วยช่วยกัน รักษ์ พืชนี้ไว้นะครับ

ดีมากครับ อยากได้พันธุ์มาปลูกบ้างเหมือนกันครับ

  • ขอบคุณ คุณมาริยา
  • ที่มาทักทายกัน
  • ขอมให้มีสุขภาพแข็งแรงดีนะครับ
  • ขอบคุณ หนุ่มกร
  • ที่แวะมาทักทายและลปรร.กัน
  • ปกติชาวสวนกล้วยไข่ หากไม่จำเป็นเขาจะไม่ใช้สารเคมี แต่ก็จะมีชาวสวนบางรายที่ใช้ สารป้องกันกำจัดวัชพืชในสวนกล้วยไข่ แต่ทางสนง.เกษตรก็พยายามที่จะให้คำแนะนำโดยใช้หลักการของการขอขึ้นทะเบียนเพื่อการควบคุมตามGAP  นับว่าอยู่ในขั้นที่พอใจคือปลอดภัยต่อผู้บริโภคครับ
  • ขอบคุณ อ.เสนาะ
  • ที่แวะมาลปรร.กันอย่างต่อเนื่อง
  • เห็นด้วยครับ ในห้วงระยะเวลานี้เราจะต้องใช้ช่องทางBlog เพื่อเป็นการลปรร.และสร้างเครือข่ายคนทำงานครับ
  • ขอบคุณ อ.ประถม
  • ที่แวะมาทักทายกัน
  • หากมีโอกาสผ่านมาทางจ.กำแพงเพชร ก็มาแวะเอาพันธุ์กล้วยไข่เมืองกำแพงไปปลูกไว้แบบสวนบ้าน1-2 หน่อก็ได้ครับ
  • ยินดีครับ

ชอบทานกล้วยไข่มากกว่ากล้วยหอม เพราะกล้วยหอมกินแล้วแสลงลม กล้วยไข่ดูจะเป็นมิตรกว่า แอบใฝ่ฝันอยากมีสวนสักผืน ไว้ปลูกอะไรๆหลายๆอย่างไว้ทาน ตอนนี้หัดปลูกในกระถางไปก่อน ข้อมูลของคุณเขียวมรกต น่าสนใจหลายชิ้นค่ะ เก็บใส่คลังความรู้ รอเอามาใช้... สักวัน

สวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณ คุณมาริยา
  • ความจริงแล้ว หากมีที่ว่างสวนหลังบ้านก็ปลูกไว้ศึกษา-ขยายพันธุ์ ได้ครับ
  • หากที่ไม่เหมาะสมยังปลูกในตระกร้าพลาสติกชนิดหนาใหญ่ ปลูกได้ครับ ออกลูกได้ดีด้วย ดีกว่าปลูกในกระถางครับ

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาขอ ผลไม้มงคลไปกิน ค่ะ  ทำอะไรจะได้กล้วยกล้วยค่ะ...ที่นี่

ขอบคุณค่ะ

  • ขอบคุณ อาจารย์อ้อย
  • ที่แวะมาเยี่ยม-ทักทายกัน
  • หากมีโอกาสมาแวะที่กำแพงเพชรบ้างนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท