วิธีดูแลให้แม่มีน้ำนมเพียงพอต่อบุตร


น้ำนมแม่ถือว่าเป็นของขวัญที่วิเศษที่สุดที่ธรรมชาติสร้างมาเพื่อลูกน้อย

 

เมื่อหลายวันก่อนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องการเตรียมความพร้อมของเต้านมเพื่อให้ลูกน้อยของคุณแม่ทั้งหลายได้รับน้ำนมที่อุดมคุณค่าไปด้วยสารอาหาร และภูมิคุ้มกันโรคที่ดีที่สุด

อาการอยากเล่าเรื่องการเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ทั้งหลายจึงกำเริบ รีบกลับมารื้อตำราเรื่องการเตรียมเต้านม

การเตรียมเต้านมนั้น คุณแม่ควรเริ่มเตรียมเต้านมให้พร้อม สำหรับให้นมลูกตั้งแต่เมื่อมีอายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์

โดยเตรียมหัวนมให้คุ้นเคยกับการดูดของลูกน้อย

วิธีคือใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้จับหัวนมคลึงเบาๆ 4-5  ครั้งแล้วให้ดึงหัวนมยืดออกมา 3-4 ครั้ง ลักษณะเหมือนกับการดูดของลูก วิธีการนี้จะป้องกันหัวนมบอด บุ๋ม หรือสั้นได้คะ

แต่มีข้อห้ามนะคะสำหรับผู้ที่ไม่ทราบอายุครรภ์ที่แน่นอนนั้น ห้ามทำเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เกิดการกระตุ้นฮอร์โมนบางชนิดและคลอดก่อนกำหนดได้

นี่คือการเตรียมความพร้อมของเต้านมก่อนคลอด

ต่อมาเป็นระยะหลังคลอด

ในระยะหลังคลอดนั้นเต้านมจะผลิตน้ำนมซึ่งถือว่าเป็นอาหารที่วิเศษที่สุดที่ธรรมชาติสร้างขึ้นสำหรับเด็กทารก ถือเป็นของขวัญที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะว่านมแม่นั้นมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อการเจริญเติบโตของทารก มีภูมิคุ้มกันพร้อมและที่สำคัญที่สุดแม่ได้อยู่กับลูกได้โอบสัมผัสกัน สร้างสายใยผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้ดีที่สุด

เมื่อคุณแม่ได้ให้กำเนิดลูกน้อยออกมาเยี่ยมชมโลก คุณแม่ควรให้นมลูกโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้

โดยเฉพาะ 2-3 วันแรกหลังคลอดเพราะเป็นระยะที่เหมาะสำหรับกระตุ้นให้น้ำนมแม่หลั่งเร็วที่สุด

1.ต้องให้ดูดแต่เนิ่นๆ คือให้ลูกดูดนมเร็วที่สุด ถ้าได้ภายในครึ่งชั่วโมงหลังคลอดจะดีมากเนื่องจากเป็นระยะที่ลูกน้อยของคุณกำลังตื่นตัวมากที่สุด ถ้ามีเหตุให้ไม่สามารถให้ได้ก็ต้องพยายามให้ลูกของคุณดูดนมได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

2.ให้ลูกของคุณดูดบ่อยๆ จะเป็นการกระตุ้นให้มีการสร้างและหลั่งน้ำนมมากขึ้น เพราะเมื่อลูกดูดนมบ่อยๆ ร่างกายของคุณแม่หลังคลอดจะยิ่งหลั่งฮอร์โมนโปรแลคตินออกมามากขึ้นซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ล่ะคะที่จะกระตุ้นให้เซลล์ผลิตน้ำนมสร้างน้ำนมออกมา

ใน1-2 วันแรกควรให้ดูดทุกๆ 2-3 ชั่วโมงหรือวันละ 10-12 ครั้งเลยทีเดียว ผลดีอีกอย่างของการดูดนมแม่เร็วและมากแล้วคือ ลูกน้อยของคุณตัวเหลืองน้อยลงคะ

3.ให้ดูดอย่างถูกต้อง(สำคัญมากนะคะ)เพราะสาเหตุที่มีน้ำนมไม่พอมักจะมาจากข้อนี้ล่ะคะ

ขั้นแรกให้อุ้มลูกในท่าที่สบาย ถนัด และสะดวกที่สุด

จริงๆแล้วท่าทางก็สำคัญมากนะคะ(ไว้โอกาสหน้าสี่ซี่จะเขียนเล่าพร้อมภาพการให้นม)

แต่สิ่งที่จะแนะนำได้คือเมื่ออุ้มลูกน้อยในท่าที่เหมาะสมแล้ว ให้คุณแม่พยุงเต้านมโดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนของเต้านมและอีกสี่นิ้วประคองอยู่ด้านล่าง ใช้นิ้วชี้กดผิวหนังเข้าหาตัวพร้อมกับพลิกนิ้วหัวแม่มือไปข้างหน้า(ให้อยู่เหนือลานนมนะคะ)จะสังเกตเห็นว่าปลายหัวนมชี้ลงตรงปากลูกน้อยของคุณพอดี  แล้วใช้หัวนมเขี่ยที่ริมฝีปากล่างของลูกเบาๆ ลูกของคุณก็จะอ้าปากรอรับ ให้สอดหัวนมเข้าปากให้พอดีกับจังหวะอ้าปากของลูก ให้ลูกน้อยของคุณอมหัวนมเข้าไปลึกๆจนรู้สึกว่าเหงือกของลูกกดมิดลานนม (ย้ำอีกครั้งเหงือกลูกต้องกดอยู่บนลานนมไม่ใช่หัวนมนะคะ)

เพื่อที่ลูกของคุณจะได้กดงับให้น้ำนมไหลเข้าปากได้ดีที่สุด และป้องกันหัวนมของแม่แตกหรือเป็นแผล(เพราะถ้าแตกหรือเป็นแผลต้องหยุดให้นมลูก จะยิ่งทำให้คุณแม่คัดเต้านมและลูกน้อยอดได้รับสิ่งที่ดีที่สุดไปด้วย)

ถ้าคุณแม่ปฏิบัติตามที่บอกไว้ข้างต้นแล้วน้ำนมยังออกน้อย ให้สังเกตว่ามีหัวนมบอด บุ๋มหรือสั้นหรือเปล่า

ถ้ามีให้แก้ไขโดย

1.ดึงหัวนมให้ปลิ้นก่อนให้ลูกดูดทุกครั้ง

2.สอดหัวนมเข้าปากขณะที่หัวนมยังไม่กลับเข้าที่

3.ใช้มือบีบเต้านมเพื่อกระตุ้นการหลั่งของน้ำนมในขณะที่ลูกดูดนมและระวังอย่าให้ปากเลื่อนหลุด

สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกด้วยตนเองแล้วเกิดอาการปวดจากการที่เต้านมคัดตึงนั้นควรปฏิบัติตนดังนี้

1.ประคบร้อน โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านม นวดเบาๆบีบเอาน้ำนมออกจากเต้าเพื่อให้ลานนมนุ่มขึ้น แต่อย่าบีบแรงนะคะเพราะจะเจ็บมาก(วิธีนี้มักได้ผลเท่าที่สี่ซี่เคยเห็นมา แรกๆจะออกน้อย แต่เมื่อประคบและบีบนวดอีกสักหน่อยน้ำนมจะไหลเพิ่มมากขึ้น) และจากนั้นต้องให้ลูกน้อยดูดบ่อยๆทุก 2-3ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอ

ทางที่ดีไม่ควรรอให้เต้านมคัดนะคะเพราะคุณแม่จะเจ็บมากจนไม่อยากให้ลูกน้อยมาดูดนมกันเลยทีเดียว

กรณีที่เจ็บหัวนมจากหัวนมแตกหรือถลอก (ซึ่งอาจจะเกิดจากลูกอมหัวนมไม่ลึกพอ เหงือกงับไม่ถึงลานนม งับอยู่บริเวณหัวนมเมื่อลูกดึงหัวนมจะทำให้หัวนมครูดกับเหงือกจนเกิดรอยแตกหรือถลอกได้)

สำหรับกรณีนี้ถ้าไม่มีเลือดออกยังคงสามารถให้นมลูกต่อได้แต่ควรเริ่มจากด้านที่ไม่เจ็บก่อนนะคะ

แต่ถ้ามีเลือดออกควรงดไว้ก่อน 1-2วันคะและใช้วิธีบีบน้ำนมออกด้วยมือ ไม่ควรใช้อุปกรณ์ช่วยนะคะเพราะจะทำให้เจ็บมากและอาจจะมีเลือดออกเพิ่มขึ้น

นี่ละคะคือวิธีการทั้งหมดที่จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณได้รับของขวัญชิ้นพิเศษและสำคัญที่สุดได้เป็นอย่างดี

หวังว่าคงพอจะช่วยให้คุณแม่ทั้งหลายคลายกังวลลงบ้าง แต่ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษากับแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านแม่และเด็กโดยตรง

แล้วคุณจะพบว่าความผูกพันของแม่ลูกที่เกิดจากการให้นมลูกนั้นมหัศจรรย์มากขนาดไหน

ด้วยความปราถนาดี

 

หมายเลขบันทึก: 217694เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เท่าที่จำได้ดื่มนมแม่มาจนถึงอายุประมาณ  3 - 4 ขวบ เพราะตามแม่ไป รร.แล้ว ยังขอนมแม่ดื่มอยู่(คุณแม่เป็นครู)

หนุ่ม กร

สวัสดีคะคุณหนุ่มกร

สี่ซี่รู้สึกอิจฉามากเลยคะ

เพราาะคุณแม่ต้องรักคุณกรมากแน่นอน

ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยม

เข้ามาอ่าน... เตรียมตัวไว้ เผื่อได้เป็นแม่คนกับเขาบ้าง

อีกสี่ซ้าห้าปี ตอนนี้หาข้อมูลไว้จ้า

อิ อิ

นางสาวมารียา เจ๊ะตำ

ให้เค้าเตรียมเป็นแม่ทูนหัวไหม

ยินดีนะ

ดีมากเลย แต่ตอนนี้หมดสิทธิ์มีลูกแล้ว เพราะสว.แล้วคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท