พิจารณาความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน นิพพานไม่ว่างเปล่า นิพพานไม่สูญ...


อ่านทั้งหมด ที่เวป http://khunsamatha.com/

พิจารณาความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน นิพพานไม่ว่างเปล่า นิพพานไม่สูญ... 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



            [๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ย่างลงสู่สัมมัตต  นิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯ


            ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ


ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑  เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑

เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑  เป็นอย่างอื่น ๑ เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑

เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑ เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑  

เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑ เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑

เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑ เป็นโทษ ๑ เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑

เป็นของหาสาระมิได้ ๑ เป็นมูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑ เป็นความเสื่อมไป ๑

เป็นของมีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑ เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ๑

เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑

เป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑

เป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑




เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข


ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีฝี ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอาพาธ ...เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอื่น ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของชำรุด ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเสนียด ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุบาทว์ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุบาทว์ ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นภัย ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานอันไม่มีภัย ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุปสรรค ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหวั่นไหว ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของผุพัง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความผุพัง ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ต้านทาน ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ป้องกัน ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีที่พึ่ง ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่พึ่ง ...


-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่าง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่าง ...


-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่างเปล่า ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่างเปล่า ...


-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสูญอย่างยิ่ง...

(ที่ว่าสูญอย่างยิ่งคือสูญจากเบญจขันธ์อย่างยิ่ง : ปล.ปราชญ์ขยะ)  


-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง...

(น่าแปลกที่ไม่ทรงกล่าวว่าพิพานเป็นอนัตตาทั้งๆ ที่กล่าวว่าเบญจขันธ์เป็นอนัตตา  คงไม่ทรงต้องการให้ยึดถือว่านิพพานเป็นอนัตตาหรืออัตตามากกว่า : ปล.ปราชญ์ขยะ)


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโทษ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหาสาระมิได้ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีสาระ ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่งความลำบาก ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังเพชฌฆาต ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต ...


-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของเสื่อมไป ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเสื่อมไป ...

(เห็นได้ว่านิพพานไม่มีความเสื่อม  ดังนั้นนิพพานย่อมต่างจากเบญจขันธ์ดังนี้  :  ปล ปราชญ์ขยะ)


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีอาสวะ ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่งมาร ...


-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเกิด ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความแก่ ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความป่วยไข้ ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความตาย ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าโศก ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความร่ำไร ...


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ


เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคับแค้น ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้า
หมองเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าหมอง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ฯ




            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๑๐๘๕๓ - ๑๐๙๓๙.  หน้าที่  ๔๕๔ - ๔๕๘.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10853&Z=10939&pagebreak=0

 ข้อพิจารณาเรื่องนิพพานไม่สูญ...ตามพุทธพจน์

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทวยตาปัสสนาสูตร ที่ ๑๒ (๒๕ : ๓๕๘)


“นามรูปของผู้นั้นแลเป็นของเท็จ
เพราะนามรูปมีความสาปสูญไปเป็นธรรมดา
นิพพานมีความไม่สาปสูญเป็นธรรมดา
พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้นิพพานนั้นโดยความเป็นจริง”


ข้อสังเกต ; ข้อความนี้ชัดเจนที่สุด เพราะบ่งว่านามรูปทั้งหลายมีความสาปสูญไปเป็นธรรมดา แต่พระนิพพานไม่สาปสูญไปไหน

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อพิจารณาเรื่องนิพพานไม่สูญ...ตามพุทธพจน์ อีกพระสูตรหนึ่ง...

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------


โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส (๓๐ : ๒๔๘)


      “…ความเกิดขึ้นแห่งนิพพานใดย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งนิพพานนั้นมิได้มี ย่อมปรากฏอยู่โดยแท้ นิพพานเป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มิได้มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา…”


ข้อสังเกต ; ทำไมจึงใช้ว่านิพพานย่อมปรากฏอยู่โดยแท้ โดยอธิบายว่าเป็นความเที่ยง (นิจฺจํ)


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ----> หน้า 55



๑๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน


        อุปสมานุสสติ  แปลว่า ระลึกคุณพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตามศัพท์ท่านน่าจะแปลว่า
ระลึกถึงคุณของความเข้าไปสงบระงับจิตจากกิเลสและตัณหา ก็คือการเข้าถึงพระนิพพาน
นั่นเอง ท่านแปลเอาความหมายว่า ระลึกถึงคุณพระนิพพานนั้น เป็นการแปลโดยอรรถ ท่าน
แปลของท่านถูกต้องและเหมาะสมแล้วที่เขียนถึงคำว่าสงบระงับไว้ด้วยก็เพื่อให้เต็มความประสงค์
ของนักคิดเท่านั้นเอง




-->>  ระลึกตามแบบ

        ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็น พระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทา-
ญาณ ท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี ๘ ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่องระลึก
ดังจะนำมาเขียนไว้เพื่อเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการระลึกดังต่อไปนี้




-->>  บาลีปรารภพระนิพพาน ๘

        ๑. มทนิมฺมทโน แปลว่า พระนิพพานย่ำยีเสียซึ่งความเมา มีความเมาในความ
เป็นคนหนุ่ม และเมาในชีวิต โดยคิดว่าตนจะไม่ตายเป็นต้น ให้สิ้นไปจากอารมณ์ คือคิดเป็น
ปกติเสมอว่า ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน โลกนี้ทั้งสิ้น มีความฉิบหายเป็นที่สุด


        ๒. ปิปาสวินโย แปลว่า พระนิพพาน บรรเทาซึ่งความกระหาย คือความใคร่กำหนัด
ยินดีในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการถูกต้องสัมผัส


        ๓. อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า พระนิพพาน ถอนเสียซึ่งอาลัยในกามคุณ ๕ หมาย-
ความว่า ท่านที่เข้าถึงพระนิพพาน คือมีกิเลสสิ้นแล้ว ย่อมไม่ผูกพันในกามคุณ ๕ เห็นกามคุณ
๕ เสมือนเห็นซากศพ


        ๔. วัฏฏปัจเฉโท แปลว่า พระนิพพาน ตัดเสียซึ่ง วนสาม คือ กิเลสวัฏ ได้แก่
ตัดกิเลสได้สิ้นเชิง ไม่มีความมัวเมาในกิเลสเหลืออยู่แม้แต่น้อย กรรมวัฏ ตัดกรรม อันเป็น
บาปอกุศล วิปากวัฏ คือตัดผลกรรมที่เป็นอกุศลได้สิ้นเชิง


        ๕. ตัณหักขโย, วิราโค, นิโรโธ แปลว่า นิพพานธรรมนั้น ถึงความสิ้นไปแห่ง
ตัณหา ตัณหาไม่กำเริบอีก มีความหน่ายในตัณหา ไม่มีความพอใจในตัณหาอีก ดับตัณหา
เสียได้สนิทตัณหาไม่กำเริบขึ้นอีกได้แม้แต่น้อย


        ๖. นิพพานัง แปลว่า ดับสนิทแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรมอำนาจทั้ง ๔ นี้
ไม่มีโอกาสจะให้ผลแก่ท่านที่มีจิตเข้าถึงพระนิพพานแล้วได้อีก


        ตามข้อปรากฏว่ามีเพียง ๖ ข้อ ความจริงข้อที่ ๕ ท่านรวมไว้ ๓ อย่าง คือ ตัณหักขโย ๑
วิราโค ๑ นิโรโธ ๑ ข้อนี้รวมกันไว้เสีย ๓ ข้อแล้ว ทั้งหมดจึงเป็น ๘ ข้อพอดี ท่านลงในแบบ
ว่า ๘ ก็เขียนว่า ๘ ตามท่าน ความจริงเมื่อท่านจะรวมกัน ท่านน่าจะเขียนว่า ๖ ข้อก็จะสิ้นเรื่อง
เมื่อท่านเขียนเป็นแบบมาอย่างนี้ ก็เขียนตามท่าน


        ท่านสอนให้ตั้งจิตกำหนดความดีของพระนิพพานตามในบาลีทั้ง ๘ แม้ข้อใด ข้อหนึ่งก็ได้
ตามความพอใจ แต่ท่านก็แนะไว้ในที่เดียวกันว่า บริกรรมภาวนาว่า "นิพพานัง" นั่นแหละดี
อย่างยิ่ง ภาวนาไปจนกว่าจิตจะเข้าสู่อุปจารฌาน โดยที่จิตระงับนิวรณ์ ๕ ได้สงบแล้วเข้าถึง
อุปจารฌานเป็นที่สุด กรรมฐานนี้ที่ท่านกล่าวว่า ได้ถึงที่สุดเพียงอุปจารฌานก็เพราะเป็น
กรรมฐานละเอียดสุขุม และใช้อารมณ์ใคร่ครวญเป็นปกติ กรรมฐานนี้จึงมีกำลังไม่ถึงฌาน



-->>  อานิสงส์

        อานิสงส์ที่ใช้อารมณ์ใคร่ครวญถึงพระนิพพานนี้มีผลมาก เป็นปัจจัยให้ละอารมณ์ที่
คลุกเคล้าด้วยอำนาจกิเลสและตัณหา เห็นโทษในวัฏฏะ เป็นปัจจัยให้แสวงหาทางปฏิบัติ
เพื่อความพ้นทุกข์อันเป็นปฏิปทาไปสู่พระนิพพาน เป็นกรรมฐานที่นักปฏิบัติได้ผลเป็นกำไร
เพราะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างสบาย ขอท่านนักปฏิบัติจงสนใจ
กรรมฐานกองนี้ให้มาก ๆ และแสวงหาแนวปฏิบัติ ที่เข้าตรงต่อพระนิพพานมาปฏิบัติ ท่าน
มีโอกาสจะเข้าสู่พระนิพพานได้อย่างไม่ยากนักเพราะระลึกนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์นี้
เป็นองค์หนึ่งในองค์สามของพระโสดาบัน ชื่อว่าท่านก้าวเข้าไปเป็นพระโสดาบันหนึ่งในสาม
ขององค์พระโสดาบันแล้ว เหลืออีกสองต้องควรแสวงหาให้ครบถ้วน




-->>  พระนิพพานไม่สูญ

        ท่านนักปฏิบัติได้กำหนดกรรมฐานในอุปสมานุสสตินี้แล้วท่านอาจจะต้องประสบกับปัญหา
ยุ่งสมองในเรื่องพระนิพพานอีกตอนหนึ่งเพราะบรรดานักคิดนักแต่งทั้งหลาย ได้พากันโฆษณา
มาหลายร้อยปีแล้วว่า พระนิพพานเป็นสภาพสูญ แต่พอมาอ่านหนังสือของพระอรหันต์ท่าน
เขียน คือหนังสือวิสุทธิมรรค ท่านกลับยืนยันว่า พระนิพพานไม่สูญ ดังท่านจะเห็นตาม
บาลีทั้ง ๘ ที่ท่านยกมาเป็นองค์ภาวนานั้น คือ มทนิมฺมทโน พระนิพพานตัดความเมาในชีวิต
ปิปาสวินโย นิพพานบรรเทาความกระหายในกามคุณ ๕ อาลยสมุคฺฆาโต พระนิพพานถอน
อาลัยในกามคุณ วัฏฏปัจเฉโท พระนิพพานตัด วนสามให้ขาด  ตัณหักขโย พระนิพพานมี
ตัณหาสิ้นแล้ว หรือสิ้นตัณหาแล้วเข้าสู่นิพพาน วิราโค มีความเบื่อหน่ายในตัณหา นิโรโธ ดับ
ตัณหาได้สนิทแล้วโดยตัณหาไม่กำเริบอีก นิพพานัง มีความดับสนิทแล้วจาก กิเลส ตัณหา
อุปาทานกรรม อันเป็นเหตุให้เกิดอีกใน วัฏสงสาร


        ความหมายตามบาลีที่ท่านว่าไว้นี้ ไม่ได้บอกว่า ท่านที่ถึงพระนิพพานแล้วสูญ เพราะ
ความเห็นว่า ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เป็นความเห็นผิด เมื่อบาลีท่าน
ยันว่า นิพพานไม่สูญอันนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดอะไรกันสักอย่างเพราะมีพระบาลีบท
หนึ่งว่า '' นิพพานัง ปรมัง สูญยัง " แปลว่า นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง ท่านอาจจะ
คว้าเอา ปรมัง สูญญัง โดยเข้าใจว่า สูญโญเข้าให้ เรื่องถึงได้ไปกันใหญ่ เรื่องนิพพาน
สูญหรือไม่สูญนี้ ผู้เขียนไม่ต่อล้อต่อเถียงด้วยเพราะเถียงกันไปก็หาเรื่องจมอยู่ในวัฏฏะเปล่า ๆ
เป็นเหตุของทุกข์ เจ้าทุกข์นี้เข็ดหลาบมันเหลือเกินแล้ว มันไม่เมตตาปรานีใครเลย อยากก็
ทุกข์ ไม่อยากก็ทุกข์ แต่ทุกข์เพราะไม่อยากเบากว่าทุกข์เพราะอยาก เลยสมัครใจเป็นพวก
ไม่ค่อยอยาก ถึงแม้จะตัดอยากไม่หมด ก็ค่อย ๆ ลดความอยากลง ได้เท่าไรเอาเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 215468เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2008 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 06:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท