คติที่ ๑๕ ทางโลกก็เหลว ทางธรรมก็แหลก ฯ (คำคม)


คติธรรมของหลวงพ่อเป็นคติปฏิบัติคือได้ปฏิบัติแล้ว ได้ทดลองแล้ว คือได้นำปริยัติมาปฏิบัติแล้ว เกิดผลในทางปฏิบัติแล้ว

คติที่ ๑๕ ทางโลกก็เหลว  ทางธรรมก็แหลก ฯ

(คำคม)

                                              

                                          ทางโลกก็เหลว ทางธรรมก็แหลก 

เหมือนแบกบอน เหลือแต่ กิน นอน เที่ยว

สามอันเท่านั้นเอย

     หลวงพ่อสอนว่า เกิด มาแล้วต้องเอาดีให้ได้ จะเอาดีทางโลกหรือจะเอาดีทางธรรม ให้เลือกเอา จะเอาดีทางโลก ก็ต้องเรียนทางโลกให้เจนจบ เพื่อจะได้มีความรู้ไปทำงานให้แก่โลก โลกจะได้เจริญ หากจะเอาดีทางธรรม ต้องเป็นธรรมกายจึงจะได้ความ หากไม่เป็นธรรมกายแล้ว เอาดีไม่ได้ หลวงพ่อท่านว่าอย่างนี้

     เอาดีทางโลกเราพอเข้าใจ ต้องเรียนความรู้ทางโลกให้จบปริญญา แล้วเราก็ออกมารับราชการหรือประกอบอาชีพส่วนตัว ซึ่งเราก็เห็นได้ทั่วไป ตำแหน่งหน้าที่ราชการก็เลื่อนขึ้น เงินเดือนก็เลื่อนขึ้น เราก็ดำรงชีวิตอยู่ได้ การดำเนินชีวิตด้วยการประกอบอาชีพส่วนตัวก็เช่นกัน กิจการขยายออกไป ผลกำไรก็มากไปตามงาน เราก็ดำรงชีวิตอยู่ได้เช่นเดียวกัน

     แต่การเอาดีทางธรรมตามความหมายของหลวงพ่อนั้น อธิบายยากเหลือเกิน หลวงพ่อท่านพูดอย่างไรหรือ ถึง เราจะรักษาศีลฟังธรรมร้อยวันพันปี ก็เพื่อเป็นอุปการะให้เข้าถึงธรรมกาย แต่เมื่อเราเข้าถึงธรรมกายไม่ได้ แปลว่า เราไม่ได้อะไรเท่าไร ถึงเราจะบวชนานแสนนาน หากเราเข้าถึงธรรมกายไม่ได้ การบวชของเรามีผลน้อย หลวงพ่อท่านว่าอย่างนี้

     เป้าหมายทางธรรมของหลวงพ่อก็คือ การเป็นธรรมกาย ต้องเป็นธรรมกายสถานเดียว จึงจะถือว่าเอาดีทางธรรมได้ เหตุผลก็คือ ไม่เป็นธรรมกายแล้วย่อมไม่แจ้งพระนิพพาน ไม่เป็นธรรมกายแล้วย่อมไกลต่อมรรคผลนิพพาน

     ความรู้นี้เอง ที่เราจะเอาไปวัดเรื่องมรรคผลนิพพาน เพราะมีค่านิยมออกมาว่า อาจารย์องค์นั้นเป็นพระอรหันต์ อาจารย์องค์นี้เป็นอริยบุคคล เราได้ยินเขาพูดกันเรื่อยมา ไม่เป็นธรรมกายแล้วเป็นพระอรหันต์ได้อย่าง ไร ไม่เป็นธรรมกายแล้วเป็นอริยบุคคลได้อย่างไร เพียงแต่บวชมานาน อินทรีย์สงบระงับมากขึ้น เราก็ด่วนว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นอริยบุคคล ความเห็นเช่นนั้น มันไม่ถูกตำราเลย คนที่จะมีบารมี เข้าถึงธรรมกายนั้น ไม่ใช่ธรรมดา ตราบใดที่ยังตั้งใจไม่ถูกศูนย์กลางกาย โอกาสที่จะเข้าถึงธรรมกายเลิกพูดกัน เพราะผิดทางเสียแล้ว จะพิจารณาอะไรก็พิจารณาไปเถิด แต่มรรคผลนิพพานยังหวังไม่ได้ นี่คือข้อยุติ แต่ในบ้านเรานี้ ยังมีแนวปฏิบัติหลายแนว ก็พูดกันไป ฮือฮากันไป เราไม่เกี่ยว เราไม่วิจารณ์ ไม่มีประโยชน์ที่เราจะไปทำเช่นนั้น แต่ถ้าให้เราแสดงความรู้ กรณีอย่างนี้ เราต้องกล่าวความรู้ ว่าความถูกต้องคืออะไร เป็นเรื่องของความรู้ เราต้องเอาความรู้มาพูดกัน

     คราวนี้ มาถึงประเด็นที่ว่า โลกก็เหลว ธรรมก็แหลก เหมือนแบกบอน ว่ามีความหมายอย่างไร ทางโลกไม่เป็นเรื่องและทางธรรมก็ไม่เอาไหน เราเป็นคนไม่มีน้ำหนักเลย คุณค่าของตัวเราเบาบางเหลือเกิน มีความเบาเหมือนต้นบอนที่เราแกง ก็ตัวเราเบาราคาประดุจแกลบประดุจต้นบอนแกง แล้วจะมีอะไรในตัวเราอีก จะเหลือแค่ กิน นอน เที่ยว เพียง 3 อย่าง เท่านั้น ใครเป็นอย่างนี้ ท่านว่าไม่มีประโยชน์

     สรุปแล้ว เรื่องโลกก็เหลว ธรรมก็แหลก เหมือนแบกบอน เหลือแต่กิน นอน เที่ยว สามอัน ก็คือ เรื่องของคนไม่เอาดี มีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่ง ๆ รอวันตายที่จะมาถึง ระหว่างที่ยังไม่ตาย ก็เที่ยวไปเตร่ไปหิวขึ้นมาก็กิน กินอิ่มแล้วก็นอน ท่านว่าเป็นชีวิตที่ไร้ประโยชน์

 

************************************************************
ข้อมูลจาก หนังสือคติธรรม  คตินิยม  การดำเนินชีวิต  ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

 

 
หมายเลขบันทึก: 215313เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2008 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท