การปรับปรุงหลักสูตรในมหาวิทยาลัย


ในการประชุมสภาวิชาการของ มอ. เมื่อวันที่ ๓ ต.ค. ๕๑   มีการนำเสนอภาพรวมของหลักสูตร ว่ามี ๒๗๗ หลักสูตร    และเสนอว่ามี ๔ กลุ่ม คือ

 เป็นไปตามเกณฑ์ ๒๕๔๘  และ สกอ. รับรองแล้ว

 อยู่ระหว่างดำเนินการ และยังไม่เข้าสภามหาวิทยาลัย

 สกอ. ยังไม่แจ้งผลการรับรอง 

 ผ่านสภาแล้ว แต่ยังไม่แจ้ง สกอ.

 

ผมมองว่า การนำเสนอนี้ เป็นการนำเสนอแบบ การจัดการตามเกณฑ์ที่กำหนดโดย สกอ.   ซึ่งน่าจะเป็นเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ    มอ. ในฐานะต้องการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับนานาชาติ   น่าจะมีการวิเคราะห์ภาพรวมตามเกณฑ์ของ มอ. เอง    ใช้เกณฑ์ excellence และ uniqueness    เอาวิสัยทัศน์ที่ มอ. ต้องการบรรลุมาเป็นตัวกำหนด “มาตรฐานความเป็นเลิศ” ของ มอ. ด้าน...  และ “มาตรฐานความจำเพาะ” ของ มอ. ด้าน...   แล้วประเมินเพื่อขับเคลื่อนตนเอง ในด้านนั้นๆ 

 

เพื่อบรรลุหลักสูตร/วิชาการ ที่ตามทันโลก ตามทันชีวิตความเป็นจริงในสังคม   การกำหนดเวลาทำงานของอาจารย์จะต้องเปลี่ยนไป    อาจารย์ต้องมีช่วงเวลาทำงาน ที่ออกไปทำงานวิชาการในภาคชีวิตจริง (Real Sector)    และนับเป็นเวลาทำงานภาคบังคับ   

 

การปรับปรุงหลักสูตรที่แท้จริง ไม่ใช่การปรับปรุงกระดาษ    แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ในชีวิตจริง    

การปรับปรุงกระดาษโดยไม่มี การเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ในชีวิตจริง ไม่ถือเป็นการปรับปรุงหลักสูตรที่แท้จริง     

 

วิจารณ์ พานิช

๓ ต.ค. ๕๑


หมายเลขบันทึก: 214539เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2008 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท