กระบวนทัศน์ใหม่ของการเมืองไทย


สงครามยังไม่จบ...อย่าพึ่งนับศพทหาร

 ระบวนทัศน์ใหม่ของการเมืองใหม่

การศึกษาโครงสร้างหน้าที่ (Structural Functional Analysis) และ โครงสร้างหน้าที่นิยม (Structural Functionalism)

การศึกษาประเด็นเรื่องโครงสร้าง-หน้าที่เป็นภาคขยายของทฤษฎีระบบการเมือง นักคิดที่สำคัญคือ Almond (1956) ซึ่งเห็นว่าระบบการเมืองเป็นเรื่องขององค์รวม (totality) และความมีเสถียรภาพ ซึ่งเสถียรภาพหมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดสมดุลย์ โดยอัลมอนด์สนใจศึกษาโครงสร้างต่างๆ ภายในระบบการเมือง โครงสร้างเหล่านี้สะท้อนถึงปฏิสัมพันธ์ของพฤติกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจนมีแบบแผน

และยังศึกษา "หน้าที่" ซึ่งหมายถึงภารกิจและอำนาจของโครงสร้าง(สถาบัน/องค์กรทางการเมือง)

ที่กล่าวมานี้ ทุกระบบการเมืองนั้นมีโครงสร้างหน้าที่เหมือนกัน คือ

ในส่วนที่เป็นส่วนนำเข้าของระบบ (input) คือ political socialization and recruitment, interest articulation, interest aggregation, และ political communication

ในส่วนนำออกของระบบ (output) คือ rule making, rule application และ rule adjudication

การศึกษาโครงสร้างหน้าที่ทำให้เราสามารถศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองได้ในหลายพื้นที่

อาทิ ศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างและหน้าที่เดียวข้ามวัฒนธรรม เช่น พรรคการเมืองเปรียบเทียบ

วัฒนธรรมการเมืองเปรียบเทียบ จะเรียกทฤษฎีในระดับนี้ว่า middle-range theory

 

 

 

จะเห็นว่าสิ่งที่นักคิดสายโครงสร้างหน้าที่ (structural functional) พูดนั้น คือ

โครงสร้างทางการเมือง ต่างจากแนวคิดของพวก realist ที่สนใจสิ่งที่เป็นโครงสร้างเบื้องหลังที่มองไม่เห็น

โครงสร้างหน้าที่นิยม: เน้นว่าสังคมมีความต้องการอะไรที่จะทำให้ระบบดำรงอยู่ได้ การสนใจ

จุดสมดุลย์ทำให้อาจละเลยความหลากหลายที่เกิดขึ้นในระบบ ไม่สนใจความไม่เท่าเทียมกัน และเจือปนไปด้วยการเมืองแบบสมานฉันท์ซึ่งเป็นอิทธิพลของการเมืองในอเมริกายุคหลังสงคราม เริ่มสนใจ 

แสวงหาโครงสร้างบางอย่างมารองรับหน้าที่ที่เราเชื่อว่าทุกสังคมมีตรงกัน

การศึกษาในแบบโครงสร้าง (Structural Analysis) และ โครงสร้างนิยม (Structuralism)

 

 

 

การศึกษาในระดับโครงสร้างเป็นทางเลือกจากการศึกษาในแบบพฤติกรรมศาสตร์ เพราะสนใจ

 

โครงสร้างที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่มองเห็น (deep structure)

การค้นหาโครงสร้างมีทั้งสองระดับ คือ โครงสร้างที่กำกับระบบคิด (โครงสร้างในความหมายของนักมานุษยวิทยา โดยเฉพาะนักมานุษยวิทยาแนวโครงสร้าง ที่ชื่อว่า Lévi-Strauss) และ โครงสร้างแห่งการครอบงำ กดขี่ขูดรีด และ เอาเปรียบ (ในแนวของ มาร์กซิสม์ สตรีนิยม อคติทางสีผิว)

โครงสร้างที่กำกับระบบคิด เป็นโครงสร้างที่มีอยู่ในทุกสังคม เช่น การแบ่งโลกออกเป็นสองด้าน

แบบขั้วตรงข้าม (binary opposition) แนวคิดดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากนักคิดทางด้านภาษาศาสตร์

ในแง่ของการพยายามค้นหาไวยากรณ์ที่อยู่เบื้องหลัง การพยายามค้นหาโครงสร้างของทุกวัฒนธรรมมีทั้งจุดเด่นและจุดที่เกิดข้อโต้เถียง ในแง่ของจุดเด่นนั้นพบว่า จากการพยายามหาลักษณะเฉพาะของสังคมและจัดลำดับความเจริญของแต่ละสังคม (ที่มักเจือปนไปด้วยอคติ) มาสู่เรื่องของการค้นหาโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละสังคม โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานทางการรับรู้ (cognitive structure) และดูว่าแต่ละสังคมพยายามหาทางออกในเรื่องดังกล่าวอย่างไร

ในแนวคิดโครงสร้างนิยมในหมู่มาร์กซิสม์  จะมองว่ามรรควิธีแบบโครงสร้าง (structuralist method - structuralist marxist) หมายถึง การศึกษาระบบทั้งหมดของสิ่งที่จะศึกษา มากกว่าศึกษาส่วนใดส่วนหนึ่ง

และเมื่อพูดถึงระบบ หมายถึงการพูดถึงชุดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ หรือจากข้อเท็จจริงต่างๆ

ที่เชื่อมโยงกัน โดยสนใจสิ่งที่เป็นระบบรวม (totality) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่ปราศจากอคติและการครอบงำทางอุดมการณ์มากกว่ามิติของการศักยภาพของมนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมด้วยด้วยความมุ่งมั่นและจิตสำนึก (humanist marxism) มนุษย์จะเปลี่ยนสังคมได้เมื่อศึกษาโครงสร้างของระบบทุนนิยมได้ทั้งระบบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ หรือเราอาจจะต้องรอให้ "สถานการณ์สุกงอม " เสียก่อน มนุษย์จึงกระทำการทางสังคมตามที่โครงสร้างกำหนด (หรือไม่ประสบความสำเร็จเพราะโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และ  อุดมการณ์กำหนด) เพราะมนุษย์นั้นเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างที่มองไม่เห็น อาทิ เมื่อรู้สึกว่า ล้มเหลวเพราะไร้ความสามารถทั้งที่อาจเป็นเหยื่อของระบบการกีดกันที่ไม่สามารถมองไม่เห็น

อ้างอิง

   :   จากพฤติกรรมการเมือง 2008

                 3 ตุลาคม 2551

หมายเลขบันทึก: 213904เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2008 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถูกครูให้เขียนหรือเปล่าครับ

ขอเอาข้อมูลไปศึกษาก่อนนะครับ ต้องแปลภาษาอังกฤษเยอะเลย เป็นคนไทยแท้ครับ ไม่สันทัดภาษาต่างประเทศเท่าที่ควร ถ้าอย่างไรต่อๆไปเขียนเป็นภาษาไทยให้คนไทยอ่านจะดีมากเลยครับ...ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท