ความเป็นมาของหลักสูตรสถานศึกษา


หลักสูตรสถานศึกษา

ความเป็นมาของหลักสูตรสถานศึกษา

            แนวคิดเรื่องหลักสูตรสถานศึกษาปรากฏเป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545  โดยในมาตรา 27  แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฯ  กำหนดได้ดังนี้

            มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย   ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิต  และการประกอบอาชีพ  ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ

            ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ

            ผลจากมาตรา 27  แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ทำให้กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ  ที่ วก 1166/2544  เรื่อง  ให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  สั่ง   วันที่  2  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2544

            จากคำสั่งดังกล่าวของกระทรวงศึกษาธิการส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำหลักสูตรแกนกลางตามมาตรา  27  ขึ้น  และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติในมาตรา 27  วรรค  2  ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ที่กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ.....

@      สภาพปัญหาท้องถิ่น

@      ภูมิปัญญาท้องถิ่น

@      คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดี

o     ครอบครัว

o     ชุมชน

o     สังคม

o     ประเทศชาติ

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  จึงกำหนดให้สถานศึกษา

จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  โดยกำหนดเรื่องหลักสูตรสถานศึกษาและจุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษาไว้  ดังนี้

—      จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา  กำหนดไว้ดังนี้

สถานศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัวของชุมชน  ท้องถิ่น  วัด 

หน่วยงานและสถานศึกษา  ทั้งภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น  เพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสองประการ  ซึ่งจุดมุ่งหมายทั้งสองประการนี้ให้แนวทางที่สำคัญ  ซึ่งสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรภายในบริบทและแนวทางนั้น ๆ ดังนี้

1.      หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้เกิดความสนุกและความ

เพลิดเพลินในการเรียนรู้เปรียบเสมือนเป็นวิธีสร้างกำลังใจและเร้าใจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด   มีความรู้สูงสุดสำหรับผู้เรียนทุกคน  ควรสร้างความเข้มแข็ง          ความสนใจ  และประสบการณ์ให้ผู้เรียนพัฒนาความมั่นคง  ให้เรียนและทำงานเป็นอิสระ  ร่วมใจกัน  ควรให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนสำคัญ ๆ ในการอ่านออกเขียนได้  คิดเลขเป็น       ได้ข้อมูลสารสนเทศ  และเทคโนโลยีสื่อสาร  ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น และมีกระบวนการคิดอย่างมีเห็นผล

2.      หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ 

จริยธรรม  สังคมและวัฒนธรรม  และโดยเฉพาะพัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูก  และผิด  เข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน  ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันว่ามีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคมหลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียน  ช่วยให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ   สามารถรับสภาพแวดล้อมที่ตนดำรงชีวิตอยู่  ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน  ระดับท้องถิ่น  ระดับชาติ  ระดับโลก  หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูล  และเป็นอิสระ  และเข้าใจในความรับผิดชอบ

                        ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาดังกล่าว  กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำรายการละเอียดหลักสูตรแกนกลางไว้ในสัดส่วนร้อยละ  70  ส่วนอีกร้อยละ  30  ได้เปิดโอกาสให้สถานศึกษาได้เพิ่มเติมสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่นคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ

หมายเลขบันทึก: 213873เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2008 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท