บันทึกความเข้าใจเพื่อแบ่งบันและเติมเต็มซึ่งกันและกันเรื่อง Dialogue


Dialogue ไม่ใช่แค่ "ดอกอะไร" มีอะไมากกว่านั้นเยอะ

การอบรมสัมมนาเรื่อง Dialogue ซึ่งจัดในวันที่ 24-25 กันยายน 2551 ที่บางกอกกอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ทจัดโดย สคส. เวลาเพียง 2 วันนี้ผมรู้สึกว่ามันน้อยไปที่จะรู้อย่างลึกซึ้งว่า Dialogue เป็นอย่างไร ทางหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นทาง ที่จะทำให้เราเข้าใจมากกว่านี้ก่อนที่จะนำไปสู่การปฏิบัติและการขยายผล คือการได้รับฟังความเห็นจากผู้อื่นด้วย ดังนั้นผมจึงได้สรุปสิ่งที่ผมเข้าใจว่า Dialogue เป็นอย่างไรไว้เป็นทุน และอยากให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ ทุกคนช่วยร่วมเติมเต็มครับ

ผมเข้าใจว่า Dialogue เป็นอย่างนี้ครับ

Dialogue ไม่ได้หมายถึงการพูดหรือสนทนา แต่หมายถึงการไหลไปมาของกระแสแห่งความหมาย (อ.ใช้คำว่า Meaning Flow) ที่ไหลไปมาระหว่างผู้ร่วมวง Dialogue. Meaning Flow นี้เองจึงเป็นตัวชี้วัดว่าวงสนทนานั้นเป็น Dialogue หรือไม่เป็น ถ้ายังไม่เห็น Meaning Flow ก็แสดงว่ายังไม่ใช่ Dialogue
Dialogue เป็นทักษะ ซึ่งจะได้จากการฝึกปฏิบัติเท่านั้น

ถ้าจะเปรียบเทียบ Dialogue กับการปลูกต้นไม้ Dialogue ก็จะเทียบได้กับการเตรียมดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช

เราจะไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงจาก Dialogue แต่ Dialogue จะเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้การเจริญเติบโตของต้นไม่แห่งการงานนั้นรวดเร็วขึ้น, Dialogue จะต้องทำโดยไม่คาดหวังผล แต่ผลจากการทำ Dialogue จะทำให้งานได้ผลเร็ว (อ. บอกว่าช้าเพื่อเร็ว) เพราะเป็นการเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนวิธีการคิด

ลำดับความสำคัญของทักษะที่ใช้ใน Dialogue

  1. การฟัง 80 % (การฟังอย่างลึก, U-Theory)
  2. การไตร่ตรอง (Reflection)
  3. การซักถาม (ไม่แน่ใจว่าคือส่วนของ Appreciative Inquiry -AI หรือไม่)
  4. การพูด (พูดกับพื้นที่ตรงกลาง)

การฟังใน Dialogue เข้าใจว่าเป็นแบบเดียวกันกับ การฟังอย่างลึก (Deep Listening) และ ทฤษฏีตัวยู (U Theory) ซึ่งมีหลายท่านพูดไว้ในเรื่องนี้ เช่น ท่านติช นัท ฮันห์ แห่งหมู่บ้านพลัม(http://www.thaiplumvillage.org/act500529_news04.html) , ออตโต ชาร์เมอร์ เกี่ยวกับทฤษฏีตัวยู (http://www.prawase.com/article/89.pdf)

อุปสรรคของการฟังคือชุดความคิดที่ฝังติดตัวเรา โดยปกติเราจะเลือกรับฟังเฉพาะส่วนที่ตรงกับชุดความคิดเดิมของเรา เมื่อไม่ยอมรับความเห็นต่างจึงเป็นเหตุให้ไม่เกิดความรู้ใหม่แต่ถูกตีกรอบไว้ด้วยชุดความคิดเดิมๆ แต่ถ้าเราสามารถวางชุดความคิดนั้นได้หรือสามารถทำให้ชุดความคิดนั้นอ่อนตัวลงก็จะก็จะทำให้เรารับฟังผู้อื่นได้มากขึ้น ดังนั้นในการทำ Dialogue จึงจำเป็นต้องมีใช้สติเป็นอย่างมาก เพราะสติจะทำให้เรารู้สึกตัวและสามารถมองเห็นการทำงานของชุดความคิดได้ เมื่อเห็นชุดความคิดทำงานต้องพยายามปล่อยวางชุดความคิดนั้นให้เร็วที่สุด แรก ๆ อาจจะทำไม่ค่อยได้ แต่การพยายามฝึกฝนบ่อย ๆ จะทำให้ชุดความคิดนั้นอ่อนตัวลง และท้ายที่สุดก็สามารถวางชุดความคิดนั้นได้ (ผมคิดว่าไม่ต่างไปจากการทำสมาธิเลย)

คำว่า แขวน กับ วาง เมื่อดูตามความหมายในภาษาไทยแล้วเหมือนจะขัดแย้งกัน ผลที่เกิดจากการ วาง ทำให้หมดภาระ แต่ถ้า แขวน เหมือนจะไม่หมดภาระเพราะคิดว่าแขวนไว้ที่มือเรา แต่ถ้าคิดว่าแขวนคือแขวนไว้กับที่อื่น เช่นแขวนเสื้อไว้กับราวตากผ้า แบบนี้ก็เป็นการหมดภาระที่จะต้องแบกไว้เช่นกัน

ถ้าเราเป็นผู้สังเกตุการณ์เราจะสามารถมองเห็นได้ว่าวงสนทนานั้นเป็น discussion หรือ dialogue โดยมีข้อสังเกตุดังนี้ ถ้าวงใดยังเป็นการคิดแยกส่วน คิดของใครของมัน เป็นการเปลี่ยนผ่านความคิดมิใช่การส่งผ่าน มุ่งหาข้อตัดสิน ถือว่ายังอยู่ใส่ส่วนของ discussion แต่ถ้าวงใดมีลักษณะการฟังเปิดกว้าง มีการฟังอย่างมีสมาธิทั้ง ๆ ที่อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เข้าท่า อ้อม ๆ ไม่ตรงประเด็น, ผู้ร่วมวงไม่พยายามตัดสินความคิดของผู้ใดผู้หนึ่งว่าถูกหรือผิด ใช่หรือไม่ใช่ (ผู้พูดรู้ถึงความเป็นอิสระในการพูด เพราะไม่ถูกตัดสิน), ทุกคนในวงมีฐานะเท่าเทียมกันและให้เกียรติกัน และเป็นการสร้างสติปัญญาร่วม วงนั้นเป็นวง dialogue แต่อย่างไรโดยทั่วไปแล้วเริ่มต้นจะเป็น discussion ก่อนจากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่ dialogue และสามารถเปลี่ยนกับไปกลับมาได้เมื่อถึงจุด landing

การฝึกใหม่ ๆ หรือช่วงเริ่มต้นจะเห็นว่าเราตั้งใจที่จะพูดมากกว่าตั้งใจที่จะฟัง แต่เมื่อใดเปลี่ยนเข้าสู่ dialogue แล้วเราจะสังเกตุได้ว่าเราตั้งใจฟังมากกว่าตั้งใจที่จะพูด จนกระทั่งเราสามารถได้ยินเสียงที่เขาไม่ได้พูดได้ (ใช้ใจฟังแทนที่จะใช้หูฟัง)

การฝึกทำ dialogue จะใช้หัวข้อทั่วไปก่อน เช่น วิธีการทำงานอย่างมีความสุข วิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างไรถ้าต้องทำในสิ่งที่ไม่ชอบ แล้วจึงเริ่มใช้หัวข้อที่เกี่ยวกับการทำงาน หัวข้อที่มีความขัดแย้งสามารถใช้ทดสอบทักษะในการทำ dialogue ได้

Dialogue ใช้ในช่วงเริ่มต้นเป็นพื้นฐาน ไม่ใช่เครื่องมือหลักในการทำงาน และไม่สามารถใช้ได้ทุกสถานะการณ์ สถานะการณ์ที่ต้องการข้อสรุปก็ไม่สามารถใช้ dialogue ได้ แต่ผู้ที่มีทักษะในการทำ dialogue จะช่วยในเรื่องการรับฟังและการไตร่ตรอง

การทำ dialogue ในช่วงแรกอาจจะจำเป็นต้องมี Fa แต่ต้องจำไว้ว่า "มี Fa เพื่อไม่มี Fa"

ในการทำ dialogue อาจจะมีบางช่วงที่ทุกคนไม่พูด เผชิญกับความเงียบ แต่จะไม่นานนัก และนั่นถือเป็นการไตร่ตรอง แต่ถ้าช่วงแรกมีคนจะพลุก็จะทำให้เริ่มได้เร็วขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #dialogue
หมายเลขบันทึก: 213822เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2008 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับพี่สุนทร

สุดยอดเลยครับพี่ บันทึกและเก็บประเด็นได้ครอบคลุมและชัดเจนมากเลยครับ คงจะต้องเข้ามาเรียนรู้ใน blog พี่สุนทรบ่อยๆ แล้วล่ะครับ ผมเองจะลองเขียน blog ดูบ้าง เผื่อว่าจะได้มีอะไรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างครับ หากพี่นำไปขยายผลที่ กฟผ.แล้วมีความคืบหน้าอย่างไร รบกวนเขียนบอกเล่าสู่กันฟังบ้างน่ะครับ....สวัสดีครับ

สวัสดีครับ พี่สุนทร บันทึกได้ละเอียดจัง  ผมขอแจมบ้างทักษะ  dialogue  จะไปได้เร็วหากสมาชิกเริ่มต้นจากการเปิดใจเพื่อรับฟังผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง อดทนที่จะโต้แย้งหากตรงข้ามกับชุดความคิดที่เรามีอยู่ แต่มีสติ คิด ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง หลาย ๆ ชั้น ในบรรยากาศของการเท่าเทียมกัน ให้เกียรติกัน ทุกความคิดของทุกคน ไม่มีอะไรผิดอะไรถูก ทุกความคิดมีคุณค่าและความหมายในตนเอง และเมื่อเราใคร่ครวญดีแล้วจึงค่อยพูดออกไป วง dialogue ทุกคนจะตั้งใจเป็นผู้รับฟังมากกว่าที่จะเป็นผู้พูด  ทักษะ dialogue จะทำให้เกิดกัลยาณมิตรและได้ทักษะความรู้เพิ่มขึ้นในตัวตนที่จะนำไปพัฒนาตนและพัฒนางานในอนาคต

  • สวัสดีค่ะ
  • ที่ได้เรียนรู้
  • กำลังทำความเข้าใจกับเรื่อง "Dialogue"
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

    ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

    ตอนเป็นผู้บริหารโรงเรียน  ผมเคยทดลองสุนทรียสนทนากันแบบเล่นๆครับ

    ปัญหาหลัก  คือ  ติดที่ศักดิ์ศรี  อำนาจ   หน้าตา และ อาวุโสครับ 

                       ขอบคุณครับ 

หวัดดีค่ะพี่สุนทร

เม้ สคส. นะคะ บล็อคของพี่น่าติดตามมากเลยค่ะ พี่เก็บรายละเอียดได้เยอะมาก เหมือนที่พี่ป็อบบอกเลย แล้วก็ขอบคุณมากเลยค่ะที่ให้ความรุ้เพิ่มเติม เช่นของท่านติช นัท ฮันห์ แห่งหมู่บ้านพลัม ซึ่งเม้สนใจอยู่เหมือนกัน เคยเข้าไปอ่านเรื่องดีๆ ในเว็บนี้อยู่บ้าง แต่ไม่รู้ว่าท่านได้พูดถึงการฟังอย่างลึกซึ้งไว้เหมือนกัน ต้องเข้าไปอ่านเพิ่มเติมซะแล้ว

ขอบคุณนะคะ :)

ลึกซึ้งมากคะ คุณสุนทร

่เก็บประเด็นสำคัญได้ดี ครับ

การ Dialogue นั้นเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุผล แต่ไม่ใช่แบบที่เราคุ้นชิน

การฟังอย่างเต็มที่เต็มตัว ก็เลยเป็นสิ่งที่สำคัญสุดๆอันแรก

(ไม่งั้นก็จะไม่มีกระบวนการต่อมา)

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้อง ใช้พลังสมาธิกับการฟังให้มาก

อาจจะดูเคร่งเครียด แต่ผ่อนคลายภายหลัง

ฝึกบ่อยก็จะทำให้เปิดตา เปิดหู เปิดใจ

ของตัวเรา และ take in อยู่เรื่อยๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท