เกณฑ์การประเมินโรงเรียนพ่อแม่หลังบูรณาการกับรพ.สายใยรักฯ -ม.ค.2551


ทำงานโรงเรียนพ่อแม่ให้เป็นงานประจำแล้วคุณจะไม่ต้องปลูกผักชี

ในการปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ที่ได้มาตรฐานแล้วครั้งนี้ กรมอนามัยได้นำงานอนามัยแม่และเด็กมาบูรณาการเป็นรพ.สายใยรักแห่งครอบครัว ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ งานโรงเรียนพ่อแม่จึงได้ถูกนำมาปรับเกณฑ์การประเมินใหม่ และศูนย์อนามัยที่ 8 ได้มองเห็นว่า

  • โรงเรียนพ่อแม่เป็นการสร้างฐานความรู้สำคัญต่อประชาชน อันจะนำไปสู่การดูแลสุขภาพแม่และลูกได้ถูกต้องเหมาะสม และสุดท้ายเราก็จะได้เด็กผู้จะเป็นอนาคตของชาติที่มีคุณภาพ
  • และยิ่งถ้าเราพัฒนาคุณภาพบริการงานอนามัยแม่และเด็กควบคู่ไปด้วยก็ยิ่งเสริมให้คุณภาพทวีคูณขึ้นไป

จึงได้ให้ความสำคัญของโรงเรียนพ่อแม่มากกว่าแค่มีแผนการสอน มีห้องสอนหรือแค่มีป้ายแล้วจบ OKคุณผ่านแล้ว  เพราะแค่นั้นไม่ได้ตอบว่าประชาชนได้ความรู้ที่ควรได้หรือไม่ จริงมั้ย? เราเลยขอขยายผลจากเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนดมาตามนี้

 หญิงตั้งครรภ์และสามี/ญาติได้รับการสอนแบบกลุ่มอย่างน้อย 1 ครั้ง ในขณะตั้งครรภ์   เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป 

กลวิธี   

  • การสอนแบบกลุ่มนับตั้งแต่การให้คำปรึกษาก่อนเจาะเลือดจนถึงคลอด รวม40 สัปดาห์ จะไม่มีซักครั้งเชียวหรือที่คนท้องได้เข้ากลุ่ม?

  หญิงหลังคลอดให้ความรู้ตามกระบวนการโรงเรียนพ่อแม่อย่างน้อย 1 ครั้ง

กลวิธี   

  • เรื่องนี้ก็น่าจะผ่านนะ เพราะนอนอยู่รพ.มีหรือที่พยาบาลจะไม่สอน...ทั้งเรื่องนมแม่ เรื่องเจาะเลือดลูกตรวจไทรอยด์ การอาบน้ำเด็ก เรื่องวัคซีน อีกสารพัดเรื่องที่สอน ฯลฯ

 คลีนิคส่งเสริมสุขภาพเด็กดีจะมีเกณฑ์ 5 ข้อ  

1  มีนโยบายให้ความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่

2  ผู้ปฏิบัติได้รับการอบรมแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่

3 พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กได้รับความรู้ตามช่วงอายุ

4 รูปแบบการให้ความรู้เป็นแบบพ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กมีส่วนร่วม

5 มีแผนการสอนและสื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา

กลวิธี   

  1. นโยบายโรงเรียนพ่อแม่คุณสามารถรวมอยู่ในนโยบายของสายใยรักหรืองานอนามัยแม่และเด็กได้เลย ไม่ต้องแยกเฉพาะ
  2. สืบเนื่องจากข้อ 1 คือการนำนโยบายลงสู่ผู้ปฏิบัติหรือเจ้าหน้าที่ทั้งหมดของงานอนามัยแม่และเด็ก(ไม่ใช่เฉพาะงานตรวจสุขภาพเด็กดี)...ก็ต้องมีการประชุม การชี้แจง และมีการนำเรื่องโรงเรียนพ่อแม่เข้าพูดคุยหาแนวทางการพัฒนางานสอนสุขศึกษาด้วย เช่น ถ้าคุณพบเด็ก dead (DFU)ซักคนเดิมทีคุณอาจมองแค่กระบวนการบริการ แต่ถ้าเพียงคุณหยิบกระบวนการสอนมาพิจารณาด้วย คุณอาจพบว่า case นี้อาจ dead เนื่องด้วย ไม่มีใครสอนให้รู้วิธีนับลูกดิ้น หรือสอนแล้วแต่นับไม่เป็น หรือสอนแล้วแต่กลับไปบ้านเชื่อญาติ หรือสอนแล้วรู้แล้วแต่ตั้งใจปล่อยให้ลูก dead เพราะไม่อยากได้ลูกอยู่แล้ว ฯลฯ การแก้ปัญหาคุณจะกว้างขึ้นแล้วตรงประเด็นกว่าเดิม
  3. ปัญหาเรื่องนี้ถูกหยิบมาเขียนเพราะ เจอว่าหลายแห่งในประเทศไทยเด็กๆมักมารับบริการแค่ฉีดวัคซีนแล้วก็กลับบ้าน ไม่ได้รับการสอนอะไรเลย ด้วยหลายปัจจัย...เจ้าหน้าที่น้อย งานมาก คนเลี้ยงเป็นปู่ย่าตายายมีความเชื่อเดิมๆ  มีวันฉีดวัคซีนวันเดียวต่อเดือนเลยเจอเด็กกระหน่ำมามากในวันเดียว 

        ก็เลยอยากให้มีการสอนบ้าง...ต้องคิดใหม่หรือไม่ ?? ไม่จำเป็นค่ะ ขอแค่สอนเรื่องผลการตรวจในวันนี้ก็OK แล้ว มีเรื่องภาวะโภชนาการ (รู้มั้ยว่าหลานอ้วน  ผอม ปกติ-ตามด้วยอาหารตามวัย) เรื่องพัฒนาการ (รู้ว่าปกติ ช้า เกินวัย-แล้วกิจกรรมอะไรเสริมพัฒนาการ...ของเล่น นิทาน คุยเล่นกับหลาน ) แค่นี้ตามสมุดชมพูเลยค่ะ

   4. การสอนแบบมีส่วนร่วม ก็คือมีการถามตอบ ทวนสอบความรู้เดิม สอนเพิ่มเติมเฉพาะส่วนขาด หรือส่วนที่ต้องปรับความรู้ให้ถูกต้อง  ...ปกติเราก็คุยอยู่แล้ว จริงมั้ย?

   5. แผนการสอน ก็คัดเนื้อหาที่ต้องได้รับการประเมินของรพ.สายใยรักฯ มาเขียนเป็นแผนการสอนทั้งหมด

กลวิธีงานโรงเรียนพ่อแม่ในภาพรวมของโรงพยาบาล

  • นำงานประจำมาเขียนแผนการสอน   
  • ควบคุมกำกับกระบวนการสอนให้สอดคล้องตามแผนการสอนที่เขียนไว้
  • สุ่มประเมินผู้เรียนว่าได้รับการสอนหรือไม่ สอนแล้วรู้ ไม่รู้อะไร
  • สุ่มประเมินหรือนำผลการประเมินภาคปฏิบัติมาคุยกันกับทีม ว่ายังต้องปรับปรุงปัญหาเรื่องใด
  • นำปัญหามาพัฒนางานสอน เช่น สื่อการสอนชัดเจนหรือไม่ เทคนิคการสอนเหมาะสมหรือไม่ เนื้อหาที่สอนมากไปหรือไม่ หรือสอนซ้ำซ้อนจนเบื่อ
  • ปัญหาได้มาจากไหน ...ทำแบบประเมินขอผู้เรียนเขียนให้เต็มที่เลยค่ะ  อีกส่วนก็จากเจ้าหน้าที่บอกต่อ (เธอสอนมาชั้นต้องสอนซ้ำอีกนะ  เธอสอนมาให้นมแม่ไม่เป็นเลย )

"ก็ลองดูนะคะ ไม่อยากให้มองว่าเพิ่มงาน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้างานสุขศึกษาเดิมไม่เข้มแข็ง มีแผนการสอนวางไว้บนหิ้ง ก็คงต้องนำมาปัดฝุ่นให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันแล้วล่ะค่ะ  ก็ขอให้กำลังใจค่ะ"

หมายเลขบันทึก: 213330เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2008 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท