จริยธรรมกับกฎหมาย


 

จริยธรรมกับกฎหมาย

นี่คือบันทึกความรู้ใหม่ของผม   ที่ได้จากการฟัง ศ. (พิเศษ) วิชา มหาคุณ กรรมการ ปปช. อภิปรายใน Thailand Research Expo 2008 เมื่อวันที่ ๑๔ ก.ย. ๕๑   

สรุปว่าระบบความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับจริยธรรมมี ๒ แบบใหญ่ๆ คือแบบอเมริกัน กับแบบอังกฤษ 

แบบอเมริกัน เอาข้อกำหนดจริยธรรมเข้าไปไว้ในกฎหมาย มีบทกำหนดโทษกันชัดเจนไปเลย   มีโทษติดคุก ถือเป็นความผิดอาญาบ้านเมือง

แบบอังกฤษ แยกแยะระหว่างข้อกำหนดจริยธรรม กับข้อกำหนดกฎหมาย   การผิดจริยธรรมจึงไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีอาญาบ้านเมือง  แต่มีอาญาสังคม   คือสังคมไม่ยอมรับ

ผมมองว่า ในสังคมที่มาตรฐานจริยธรรมต่ำ มีการละเมิดข้อกำหนดจริยธรรมกัน ดาดดื่นแบบศรีธนญชัย   และสังคมก็ไม่ลงอาญาสังคม   ควรใช้ระบบอเมริกัน   ส่วนสังคมที่คนมีมาตรฐานจริยธรรมสูง    และสังคมมีกลไกควบคุมกันทางสังคมอย่างได้ผล ควรใช้ระบบอับกฤษ

ประเทศไทยควรใช้ระบบไหน ขอให้คิดกันเอาเอง 

 วิจารณ์ พานิช

๑๕ ก.ย. ๕๑

  ศ. (พิเศษ) ดร.วิชา มหาคุณ คือคนนั่งซ้ายสุด

 

หมายเลขบันทึก: 212605เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2008 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะใช้ข้อมูลจริยธรรมทั่วไป มาผมกับเนื้อหาของแนวคิกนักกฎหมายที่มีอยู่ได้ไหมครับ

อย่าเช่นจริยธรรมในทางศาสนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท