ตะกร้อ เดะทน คนแข็งแรง


กีฬาตะกร้อ ฝึกให้ดี มีประโยชน์

 

 

 

 

ตะกร้อเป็นกีฬาไทยพื้นบ้านที่นิยมเล่นมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงปัจจุบันนี้

เป็นกีฬาในระดับสากลไปแล้ว  การฝึกฝนเล่นตะกร้อเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์

ทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ  อารมณ์  สังคม

ชื่อเรื่อง                  การรายงานผลการพัฒนาการสอนการเล่นตะกร้อเตะทน     ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 4  โรงเรียนบ้านแพะยันต์ดอยแช่  ปีการศึกษา  2549.

ชื่อผู้รายงาน         อรรถพงศ์  บุญมากาศ. 2550.

บทคัดย่อ

การรายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ   1.ศึกษาผลการสอนการเล่นตะกร้อเตะทน   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4    โรงเรียนบ้านแพะยันต์ดอยแช่  ปีการศึกษา  2549  หลังจากใช้นวัตกรรมที่ผู้รายงานสร้างขึ้น      2.เพื่อรายงานผลการพัฒนาการสอนการเล่นตะกร้อเตะทนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแพะยันต์ดอยแช่  ปีการศึกษา  2549  หลังจากใช้นวัตกรรมที่ผู้รายงานสร้างขึ้นประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ทักษะพื้นฐานการเล่นตะกร้อเตะทน)     2)   แบบฝึกหัดทักษะพื้นฐานการเล่นตะกร้อเตะทน (ตะกร้อวง)            และคู่มือการใช้นวัตกรรม        ใช้กับประชากรนักเรียนที่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนบ้านแพะยันต์ดอยแช่  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  9  คน  

โดยใช้เครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย  1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   มีลักษณะเป็นคำถามแบบเลือกตอบ  4  ตัว       เลือกจำนวน   20 ข้อ                มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ  3  ท่าน    มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ  0.75   มีค่าความยาก-ง่ายทั้งฉบับโดยเฉลี่ยเท่ากับ  0.50   และมีค่าอำนาจจำแนกทั้งฉบับโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.44    2) แบบสอบถามด้านเจตคติต่อการเล่นตะกร้อเตะทน  เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน  มีลักษณะเป็นแบบ  Rating  Scale  5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา  จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ  3  ท่าน    3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการเล่นตะกร้อเตะทน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา  จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ  3  ท่าน       4) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนโดยนำมาจากคู่มือการทดสอบสมรรถภาพทางกายของกรมพลศึกษา  5) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์  เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนโดยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนว่ามีการปฏิบัติ  หรือไม่ปฏิบัติ  มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา  จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ  3  ท่าน 

                ในการเก็บรวบรวมข้อมูล   ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง   หลังจากที่นำมาวิเคราะห์แล้วจึงสรุปผลได้ดังนี้    ผลต่างของ คะแนน pre – test  และ post - test    โดยใช้ค่าเฉลี่ยแล้วพบว่า ค่าเฉลี่ยหลังการฝึก  สูงกว่าก่อนการฝึก   แสดงว่า  หลังจากที่นักเรียนได้รับการฝึกโดยใช้นวัตกรรมที่ผู้รายงานสร้างขึ้น  นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการเล่นตะกร้อเตะทนเพิ่มขึ้น   

                จากการทดสอบปฏิบัติ โดยใช้แบบประเมินผลตะกร้อเตะทน แล้วนำมาเปรียบเทียบกับจำนวน แต้มคะแนนสูงสุดที่ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 1  ได้จดบันทึกไว้  เมื่อปีการศึกษา  2548  พบว่า   นักเรียนมีแต้มคะแนน   สูงกว่าแต้มคะแนนสูงสุดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 1     จึงสรุปได้ว่าหลังจากที่นักเรียนได้รับการฝึกโดยใช้นวัตกรรมที่ผู้รายงานสร้างขึ้น  นักเรียนมีความสามารถเล่นตะกร้อเตะทนเป็นทีม  โดยมีสถิติจำนวนแต้มสูงกว่าแต้มคะแนนสูงสุดที่ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 1  ได้จดบันทึกไว้

                จากการวัดสมรรถภาพทางกายโดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน  สำหรับนักเรียนอายุ 10 ปี    พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วหลังการฝึก  นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นกว่าก่อนการฝึก  เมื่อนำค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกาย หลังการฝึก  มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายนักเรียนไทยของกรมพลศึกษา  พบว่า นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมรรถภาพทางกาย อยู่ในระดับปานกลาง ถึง ดีมากแสดงให้เห็นว่า การฝึกเล่นตะกร้อเตะทนทำให้นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น

                จากาการใช้แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์        ตั้งแต่สัปดาห์แรกถึงสัปดาห์ที่ 20   ผู้รายงานได้แบ่งคะแนนด้านคุณลักษณะนิสัยที่เก็บระยะแรก(สัปดาห์ที่ 1-10)   และระยะหลัง(สัปดาห์ที่ 11-20)      พบว่ามีค่าเฉลี่ยระยะหลังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะแรกทุกด้าน      โดยที่นักเรียนมีพัฒนาการด้านความรับผิดชอบสูงที่สุด         รองลงมาคือ ความตั้งใจ   ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา  สุขปฏิบัติ  และสุดท้ายคือความสนใจ        โดยที่ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และด้านสุขปฏิบัติไม่มีการกระจายของคะแนน  แสดงว่านักเรียนทุกคนเป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา และปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามสุขนิสัย      จึงสรุปได้ว่า  การเล่นกีฬาตะกร้อเตะทนทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมตามที่พึงประสงค์  และมีการพัฒนาทางด้านนี้ไปในทางที่ดี

                จากการใช้แบบสอบถามด้านเจตคติต่อการเล่นตะกร้อเตะทน ของนักเรียนหลังจากที่ได้ฝึกการเล่นตะกร้อเตะทนแล้วพบว่า    นักเรียนมีค่าเฉลี่ยจากการตอบแบบสอบถามแต่ละข้อ  ตั้งแต่ 4.67 ถึง   4.89     แสดงว่านักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเล่นกีฬาตะกร้อเตะทน

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กีฬา#ตะกร้อ
หมายเลขบันทึก: 212602เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2008 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจดีนะ แต่ว่าผู้หญิงจะเดะได้ไหมนี่

เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างเสริมลักษณะนิสัย

ความอดทน และน้ำใจนักกีฬา แก่เยาวชนได้ดีมากๆ

อาจารย์ครับผมขอแผนการจัดการเรียนรู้วิชาตะกร้อหน่อยครับ

ผมสนใจมากเลยครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท