Talent management 25 โครงการพี่เลี้ยงของคุณหมอคำนวณที่ดิฉันภูมิใจ


๕. หากต้องการขยายระบบ Mentor ควรมีการเตรียม Mentor เพื่อเรียนรู้ว่า Mentor ที่ดีควรต้องดำเนินการอย่างไร ผมเองยังไม่ทราบว่าระบบที่ดีเป็นอย่างไร และสนใจศึกษาจากท่านอื่นๆ สำหรับค่าตอบแทนให้ Mentor นั้น ไม่จำเป็นต้องให้มาก ให้ Mentor ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นรุ่นพี่อาวุโส ได้มีความภูมิใจว่าเขามีส่วนในการสร้างอนาคตให้กรมควบคุมโรคและการพัฒนางานสาธารณสุข

28-9-51

ดิฉันขอนำเสนอโครงการพี่เลี้ยง โดย นพ. คำนวณ อึ้งชูศักดิ์  ที่สรุปมาให้ทราบค่ะ

ดิฉันมีความภูมิใจโครงการนี้มากเพราะใช้เงินน้อยแต่มีประโยชน์มาก  

 คุณหมอไม่ค่อยมีเวลาแต่ก็พยายามทำให้เป็นตัวอย่างหน่วยงานอื่นๆค่ะ 

 

ผลการดำเนินงานเพื่อนำร่องระบบพี่เลี้ยง Mentor  มิ.ย- กย ๕๑

                                    นายแพทย์ คำนวณ อึ้งชูศํกดิ์

 

 

                กรมควบคุมโรคได้มีโครงการนำร่องระบบพี่เลี้ยง (Mentor)   โดยให้ข้าพเจ้าได้ดำเนินการในระยะ ๔ เดือน   ทั้งนี้เพื่อพัฒนาให้แพทย์รุ่นน้องได้รับการพัฒนาทางด้านวิชาการและการบริหารจัดการ  

                ข้าพเจ้าได้อาสาเป็นพี่เลี้ยงให้ แพทย์รุ่นน้องที่เพิ่งเข้ามาเป็น Staff ใหม่ของสำนักระบาดวิทยารวม ๒ ท่านคือ   นายแพทย์ โรม บัวทอง  และ นายแพทย์ ฐิติพงษ์ ยิ่งยง  ซึ่งสามารถสรุปผลการนำร่องได้ดังนี้

                ๑.   การคัดเลือกแพทย์รุ่นน้อง   เห็นว่าการเลือก Staff รุ่นใหม่เป็นเกณฑ์ที่ดี  เพราะคนที่เข้ามาสู่ระบบใหม่จะมีความต้องการเรียนรู้และต้องการพี่เลี้ยงที่จะให้คำแนะนำทั้งทางวิชาการ การจัดการและปัญหาการปฎิบัติตัวต่างๆ

                ๒.  ผมได้เป็นพี่เลี้ยงให้คุณหมอฐิติพงษ์  ยิ่งยง  ๒ เรื่องคือ

๒.๑  การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่  โดยขอให้ทำการทบทวนและจัดทำข้อเสนอว่ากระทรวงสาธารณสุขควรปรับปรุงระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่อย่างไรดี   คุณหมอฐิติพงษ์ได้ใช้เวลาทำความคุ้นเคยและทำงานร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ  ขณะนี้เข้ากับทีมงานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดี   ได้มีการนำเสนอเค้าโครงให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและรับฟังความเห็นรวม ๓ ครั้ง   ผมได้ให้คำแนะนำ   ติดตาม  และหนทางหนึ่งที่จะให้ได้งานออกมาคือการจัดให้มีเวทีที่คุณหมอฐิติพงษ์ได้นำเสนอ (เอกสาร ๑)   โดยการนำเสนอจะช่วยดูสาระที่สำคัญให้ก่อน

๒.๒  การจัดทำ Good Practice ในด้านการควบคุม EIDs สำหรับประเทศไทย เพื่อไปรวมกับ Good Practice  ของประเทศอื่นๆใน ASEAN+3   ซึ่งคุณหมอฐิติพงษ์ได้มีโอกาสไปนำเสนอขอบเขตแนวทางในฐานะตัวแทนประเทศไทย  สำหรับการประชุมเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๑ ที่ผ่านมาที่กรุงเทพ  (เอกสาร ๒)   งานนี้จะทำให้คุณหมอฐิติพงษ์ สร้างเครือข่ายกับต่างประเทศได้  และจะได้เรียนรู้การทำงานกับ ASEAN

                ๓.   ผมได้เป็นพี่เลี้ยงให้คุณหมอโรม บัวทอง  ๒ เรื่องคือ

๓.๑   ในช่วงที่ส่งไปปฎิบัติงานช่วยผู้ประสบภัย Nagris ที่พม่า  มีการโทรศัพท์พูดคุยกันถึงงานและปัญหาอุปสรรค   ภายหลังกลับมาคุณหมอโรม ได้เขียนรายงานสรุปเป็นภาษาอังกฤษเรียบร้อย (ได้จัดส่งในรายงานครั้งที่แล้ว)  จะพยายามกระตุ้นให้มีการจัดทำบทเรียนเพื่อมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยเมื่อประสบภัยพิบัติ  คุณหมอโรม น่าจะเป็น resource person ได้ระดับหนึ่ง  

๓.๒  สนับสนุนให้คุณหมอโรมทบทวนงานที่ต้องร่วมมือสอบสวนโรคร่วมกับต่างประเทศ   ซึ่งคุณหมอโรมได้เข้าไปร่วมสอบสวนในกรณีของ Legionnaire’s diseases ที่ภูเก็ต  พัทยา  ฯลฯ  นับว่ามีประสบการณ์มาก  และได้สนับสนุนให้คุณหมอโรม เป็นวิทยากร แทนผมในการพูดหัวข้อนี้ในที่ประชุม ASEAN+3  Healthy Tourism เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา  (เอกสาร 3)

                ๔.    การที่ต้องทำหน้าที่ Mentor ทำให้ผมต้องให้เวลามากขึ้นกับ Young Staff  แทนที่จะเป็นการมอบหมายงานผ่านบันทึก หรือหนังสือ  แต่จะต้องไปหา Young Staff อธิบายว่าจะให้ทำอะไร  วัตถุประสงค์คืออะไร และควรเริ่มอย่างไร  นอกจากนี้เวลาที่ Young Staff จะนำเสนอ ก็ต้องช่วยดูรายงาน หรือ  power point ก่อน  และให้คำแนะนำแก้ไข   หลังการนำเสนอต้องให้กำลังใจ  และแนะนำว่าควรทำอะไรต่อ  หากไม่ได้ทำหน้าที่เป็น mentor  ก็จะใช้วิธี มอบ  และจะไม่ค่อยมีการแนะนำหรือติดตามผล   นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสแนะนำบางอย่างในเรื่อง ควร หรือ ไม่ควร   โดยรวมแล้วคิดว่า Mentor ที่ดีควรให้เวลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมงมีการพบปะพูดคุย  นอกจากนี้ต้องติดต่อผ่าน e-mail   ต้องตอบอย่างรวดเร็ว   โดยรวมแล้วการทำหน้าที่เป็น Mentor  โดยให้น้องทำงานให้ เช่น บรรยายแทน  รับผิดชอบโครงการแทน จะแบ่งเบางานของเรา  แต่ต้องให้เขาได้เรียนรู้  ได้ประสบการณ์  ได้โอกาสการนำเสนอ  การตีพิมพ์  ร่วมกับเรา ฯลฯ

                ๕.   หากต้องการขยายระบบ Mentor  ควรมีการเตรียม Mentor เพื่อเรียนรู้ว่า Mentor ที่ดีควรต้องดำเนินการอย่างไร  ผมเองยังไม่ทราบว่าระบบที่ดีเป็นอย่างไร   และสนใจศึกษาจากท่านอื่นๆ  สำหรับค่าตอบแทนให้ Mentor นั้น  ไม่จำเป็นต้องให้มาก  ให้ Mentor ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นรุ่นพี่อาวุโส  ได้มีความภูมิใจว่าเขามีส่วนในการสร้างอนาคตให้กรมควบคุมโรคและการพัฒนางานสาธารณสุข

 

 

หมายเลขบันทึก: 212534เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2008 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาเรียนรู้จากท่านพี่ MD_CU ครับ Mentor ครูพี่เลี้ยง สำหรับวิชาชีพเรา สำคัญครับ

ขอบคุณอาจารย์JJที่หมั่นมาให้กำลังใจค่ะ

  • ตามมาขอบคุณคุณหมอ
  • งง อีกบล็อกหายไปครับ
  • เอามารวมกันหรือครับ

อีก บล็อกหมอไม่เคยบันทึกก็ลบไปค่ะ ขอบคุณอาจารย์ขจิตที่มาเยี่ยมบ่อยๆค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์ ที่เล่า สรุปให้ น่าสนใจค่ะ มีประเด็น อยากทำต่อ เลย

คนทำวิจัยดีๆ ทำ อย่างไรให้เพิ่ม ให้ เยอะขึ้น

ทำอย่างไรให้คนตั้งใจทำ ทำได้ สักครั้ง พอก้าวผ่านความยากลำบาก ของครั้งแรก ได้ เขาก็ จะทำได้อีก และอีก และเขาจะช่วยคนอื่นๆให้ทำเป็น ต่อไปได้

คิด อย่างนี้ได้ งานวิจัยในอนาคตน่าจะเต็มประเทศไทย

มาสนับสนุน อาจารย์ ค่ะ

เขียนต่อนะคะ สนใจเรื่องนี้มากเลยค่ะ จะติดตาม

โดยเฉพาะ อยากได้ ความเห็นจาก กูรู ทั้งหลาย ในประเด็นที่ อ คำนวน ได้ยกไว้ในข้อ 5 ว่า

การขยายระบบ Mentor

ควรมีการเตรียม Mentor เพื่อเรียนรู้ว่า Mentor ที่ดีควรต้องดำเนินการอย่างไร ระบบที่ดีเป็นอย่างไร

ขอบคุณอาจารย์รวิวรรณที่มาเยี่ยมค่ะ พี่นานๆตามไปอ่านของคุณหมอพี่จะประทับใจทุกครั้งและบอกให้น้องๆแพทย์และพยาบาลตามไปดูผลงานของคุณหมอและนำมาต่อยอดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท