ชุดวิชาคุรุสภา


การจัดการเชิงยุทธศาสตร์

กรอบชุดวิชา

การจัดการเชิงยุทธศาสตร์

 

แนวคิด

การจัดการเชิงยุทธ์ศาสตร์นับว่ามีบทบาทในวงการบริหารมากทั้งในวงราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เนื่องจากเป็นการบริหารงานในระบบเปิดที่มีการกำหนดนโยบายและยุทธ์ศาสตร์อย่างมองการณ์ไกล มีการดำเนินการอย่างมุ่งมั่นและมีคุณภาพเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งมีการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงในองค์กรอย่างเหมาะสมเพื่อความมั่นคงในระยะยาว ผู้บริหารในระดับต่างๆ จำเป็นต้องมีความเข้าใจ และมีศักยภาพในการบริหารเชิงยุทธ์ศาสตร์

 

วัตถุประสงค์

          เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ

§       อธิบายความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดการเชิงยุทธ์ศาสตร์ได้

§       แสดงความสามารถในการบริหารเชิงยุทธ์ศาสตร์ได้

 

หน่วยการเรียนรู้

          ชุดวิชานี้ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ ต่อไปนี้

1.      วิทยาการจัดการและการบริหาร

2.      การจัดการคุณภาพการศึกษา

3.      โครงสร้างการจัดการศึกษาไทย

4.      แนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์การ

5.      การพัฒนาและใช้นโยบาย

6.      เกณฑ์มาตรฐานและดัชนีชี้วัดคุณภาพการศึกษา

7.      การพัฒนากลยุทธและการขับเคลื่อน

8.      การจัดองค์การเพื่อการจัดการคุณภาพ

9.      การประเมินและการควบคุมงานคุณภาพ

10.  การปรับปรุงและพัฒนาการศึกษา

 

 

ขั้นตอนการศึกษา

          ........................................................................................................

          ภารกิจ                              เวลา             วันที่              สถานที่

          ปฐมนิเทศ

          หน่วยสาระที่ 1

          หน่วยสาระที่ 2

          หน่วยสาระที่ 3

          หน่วยสาระที่ 4

          หน่วยสาระที่ 5

          หน่วยสาระที่ 6

          หน่วยสาระที่ 7

          หน่วยสาระที่ 8

          หน่วยสาระที่ 9

          หน่วยสาระที่ 10

          ประเมินและสัมมนาปิดชุดวิชา

          ......................................................................................................................

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

วิทยาการจัดการและการบริหาร

 

แนวคิด

          การบริหารมีองค์ความรู้สำคัญมากขึ้นตามลำดับ ช่วยเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักวิชาการและนักบริหารเพื่อลดการลองผิดลองถูก และช่วยเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และสำหรับผู้ศึกษาในด้านนี้ จำเป็นต้องมีพื้นฐานหลักการบริหารเพื่อเข้าถึงองค์ความรู้ที่สูงขึ้น

 

วัตถุประสงค์

          เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ

·       อธิบายความรู้เรื่องของการจัดการและการบริหารได้

·       วิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นในการจัดการ/บริหารงานได้

 

ตอนการเรียนรู้

          ตอนการเรียนรู้ที่ 1 ความหมาย ความเป็นมา และขอบข่าย

            ตอนการเรียนรู้ที่ 2 ความรู้เรื่องของการบริหาร

          ตอนการเรียนรู้ที่ 3 ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร

 

แนวการจัดการเรียนรู้

1.      ผู้สอนบรรยายสรุปสาระทั้ง 3 ตอนสาระ พร้อมตัวอย่าง และกรณีศึกษา ประมาณ  1 ชั่วโมง 30 นาที

2.      ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตามที่ระบุไว้ในใบงาน ประมาณ 30 นาที

3.      ผู้สอนตรวจ และแจ้งผล ประมาณ 30 นาที

 

 

 

 

 

 

 

ตอนการเรียนรู้ที่ 1

ความหมาย ความเป็นมา และขอบข่าย

 

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ อธิบาย  ความหมาย ความเป็นมาและขอบข่ายของการบริหารได้

 

 

ใบความรู้

เรื่อง

ความหมาย ความเป็นมา และขอบข่ายของการจัดการและการบริหาร

 

1.ความหมาย

 คำ การจัดการ และ การบริหาร มักจะมีการใช้ร่วมกัน หรือ ใช้คำใดคำหนึ่งแทนกัน

หรือใช้ในความหมายเดียวกัน  แต่โดยภูมิหลังแล้ว คำสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกันบ้าง   การจัดการ(management) มีความหมายหลายความหมายตามลักษณะของบทบาทที่มาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เช่น เกี่ยวกับการได้มาซึ่งอำนาจในการดำเนินงาน และแก้ปัญหาความขัดแย้ง การจัดการจะมีความหมายว่า การดำเนินการประสานกลไกขับเคลื่อนพื้นฐานขององค์กรให้ดำเนินไปได้โดยมีความขัดแย้งน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ความหมายทั่วไปของคำนี้ว่าเป็นชุดของกิจกรรมหรือกระบวนการประสาน และผสมผสานทรัพยากรเพื่อประโยชน์ในความสำเร็จขององค์กรโดยอาศัยบุคลากร เทคนิคต่าง รวมทั้งข้อมูลข่าวสารภายใต้โครงสร้างการจัดการที่ดี

 สำหรับคำ การบริหาร(administration) มีความหมายยุคที่มีกำเนิดของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ว่า เป็นวิถีของการจัดการที่เน้นการวางกฎเกณฑ์เพื่อการบริหาร และการวางโครงสร้างองค์กร และในที่นี้ จะใช้คำการบริหาร เป็นหลัก และใช้ในความหมายถึง การดำเนินการ เพื่อให้

เกิดการ  การวางแผน  การจัดองค์กร การจัดการบุคคล การอำนวยการ และการควบคุมให้องค์กรดำเนินไปตามจุดประสงค์

 

 

 

2. ความเป็นมา

 ศาสตร์ของการบริหารก็เช่นเดียวกับศาสตร์อื่นๆที่ก่อตัวขึ้นจากประสบการณ์ และการสั่งสมประสบการณ์ก่อนแล้วค่อยๆมีการศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้ขึ้นในภายหลัง  และดูเหมือนว่ามีความรู้เรื่องการบริหารงานสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์(public administration)ได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นก่อน ต่อมากลุ่มที่เรียกว่าคาเมรัล(Cameralist)ในออสเตรีย เยอรมัน ในศตวรรษที่ 18 ได้มีการอธิบายความหมายของการบริหารอย่างมีระบบขึ้น มีการจัดการหน้าที่ในระบบงานของรัฐอย่างชัดเจน ความรู้นี้ได้ขยายไปในยุโรป สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการยอมรับเป็นวิชาชีพหนึ่งเมื่อสมัยที่วู๊ดโรว์ วิลสั น เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

             การบริหารมาเฟื่องฟูมากในยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะต้องนำมาใช้ในการบริหารงานอุตสาหกรรมที่สร้างผลผลิตได้เร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไทเลอร์(Frederick W. Taylor) ได้แต่งตำราชื่อ Principles  of Scientific Management  ที่ได้แพร่หลายทำให้เกิดยุคของการบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์ได้เริ่มขึ้นในพ.ศ.2453  จุดเน้นอยู่ที่การหาวิธีการบริหารให้มีประสิทธิภาพ ให้ผู้ปฏิบัติงานเพิ่มผลผลิต และการดูแลงานตลอดระบบองค์กร มีนักวิชาการและนักบริหารในยุคนั้นที่มีส่วนในการผลักดันให้การบริหารงานมีคุณภาพ เช่น แกนท์(Henry L. Gantt) กิลเบรธสามี ภรรยา(Frank B. and Lilian M. Gilbreth)  และหากรวมกลุ่มทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิมด้วย จะมีงานของบุคคลต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ ฟายอง(Henry Fayol) เวเบอร์(Max Weber) กูลิค (Luther Gulick) และ เออวิค (L. Urwick)

             การบริหารงานในยุคนี้เน้นที่งานหรือผลของงานบุคลากร หรือคนงานต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คนงานต้องทำงานให้ทันกับเครื่องจักร และได้ผลตอบแทนตามการทำงาน เมื่อทำงานไม่ได้ไม่ได้ค่าตอบแทน นับว่าเป็นระยะของความบีบคั้นเรื่องแรงงาน จึงมีการตั้งกลุ่ม ตั้งสหภาพขึ้นต่อรองกับนายจ้าง พร้อมทั้งมีการเดินประท้วงกันบ่อยๆ

           ความเคร่งครัดในการบริหารงานที่เน้นงานดำเนินมากว่ายี่สิบปี จึงเริ่มมีการเคลื่อนไหวให้มีการเอาใจใส่เรื่องคน หรือ บุคลากรมากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา นับแต่ปี พ.ศ.2478 ได้มีแนวการบริหารเชิงมนุษยสัมพันธ์ ที่เริ่มมีการเอาใจใส่เรื่องสิ่งแวดล้อมในการทำงาน กับผลของงาน มากขึ้นตามลำดับ จวบจนบาร์นาร์ด(C.I.Barnard) ได้แต่งตำราให้นำความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์(behavioral sciences) พร้อมนำความคิดเชิงระบบ(system approach)เข้ามาใช้ ซึ่งหมายถึงการมองกลไกการ

ทำงานในองค์กรอย่างมีชีวิต และมีเหตุมีผล โดยที่มีการเอาใจใส่ทั้งคนและงานไปพร้อมกัน  นักวิชาการร่วมสมัยที่มีส่วนในการพัฒนาองค์ความรู้ในระยะนี้มีมาก แต่ที่สำคัญและกล่าวอ้างอิงเสมอได้แก่ ซิมม่อน(H.A.Simon , 1945),มาสโลว์(A.H.Maslow,1954),แมคเกรเกอ(D.M.McGregor,1960)

            อนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการนำการบริหารงานการผลิตเชิงปริมาณที่อาศัยนักวิทยาศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์มาทำงานร่วมกันในรูปของการวิจัยปฏิบัติการ(operations research)ภายหลังจึงได้มีการนำตัวเลขมาใช้ในการปฏิบัติการ และการควบคุมงานมาก  นอกจากนั้น ภายหลังจากสงครามสงบ ได้มีการแข่งขันกันในทางการเมืองและเศรษฐกิจมาก จึงได้มีการเครื่อนไหวเรื่องการจัดการคุณภาพ(quality management) การจัดการคุณภาพทั้งองค์กร(TQM:total quality management)  การประกันคุณภาพ(quality assurance) และ ธรรมาภิบาล(good governance) และเป็นจุดเน้นในการบริหารจัดการในปัจจุบัน

           สำหรับประเทศไทยนั้น มีพัฒนาการด้านการบริหารจากสองแหล่งใหญ่คือ การทหารได้แก่ตำราพิชัยสงคราม ซึ่งมีสาระเรื่องการจัดทัพและการรบการสงคราม  และ พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนา ทำให้มีการบริหารจัดการเป็นของตัวเอง และได้เรียนรู้จากชาวตะวันตก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา

                                   

3.ขอบข่าย

 จากความหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่า มีขอบข่ายของการบริหารงาน ประกอบด้วย

§       การวางแผน

§       การจัดองค์กร

§       การจัดบุคคลเข้าทำงาน และการบริหารงานบุคคล หรือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์

§        การอำนวยการ

§       การควบคุม

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต 32550
หมายเลขบันทึก: 212148เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท