ละหมาดในเดือนรอมฎอน


ในเดือนรอมฎอนสนับสนุนให้มุสลิมทุกคนละหมาดตะรอวีหฺ

ละหมาดตะรอวีหฺ

 

การละหมาดนับเป็นภารกิจหลักของมุสลิมทุกคน เป็นศาสนปฎิบัติ ไม่ใช่วัฒนธรรมหรือประเพณีที่ปฏิบัติตามคนก่อนๆ แต่ทำขึ้นเพราะศาสนาใช้ให้ทำ

 

มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด อย่างน้อยวันละ 5 เวลา ในแต่ละเวลาความสั้นยาวจะแตกต่างกัน และความสั่นยาวของแต่ละเวลาละหมาดนั้นขึ้นอยู่กับจำนวน รอกะอัต หรือ จำนวนก้มคำนับ(รอกูอ)และกราบ(สุญุด) คำนับหนึ่งครั้ง กราบสองครั้ง นับเป็น 1 รอกะอัต

 

นอกจาก 5 เวลาแล้วที่มุสลิมทุกคนจะต้องทำ ยังเปิดโอกาสแก่ผู้ขยัน ต้องการสร้างความดี ความชอบ ให้อัลลอฮฺรักเยอะๆ ก็สามารถละหมาดเพิ่มเติมอีก เรียกว่า ละหมาดสุนัต(สมัครใจ) เช่น ก่อนหรือหลังละหมาดทั้ง 5 เวลา สามารถละหมาดสมัครใจได้ แต่ละครั้งจะทำสั้นหรือยาว 2 หรือ 4 รอกะอัต ได้ทั้งนั้นแล้วแต่สมัครใจ  

 

ในเดือนรอมฎอน ท่านนบี(ศ็อลฯ)ได้ทำแบบอย่างในการละหมาดไว้ แต่นบีได้ทำให้บรรดาสหายได้เห็นเพียง 3 คืนเท่านั้น ที่ทำไม่ได้ทำทุกคืนท่านกลัวว่าจะกลายเป็นเรื่องบังคับให้ทำกันในเดือนนี้

 

ละหมาดสมัครใจในเดือนรอมฎอนนี้ เรียกว่า ละหมาดตะรอวีหฺ แปลว่า พัก เพราะมีการพัก หลังจากที่ได้ละหมาดไปแล้ว 4 รอกะอัต

 

แล้วทั้งหมดมีกี่ รอกะอัต

 

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ(ภรรยาท่านนบี) ได้รายงานซึ่งสรุปได้ว่า ท่านนบีจะหลาดในค่ำคืนไม่เคยเกิน 11 รอกะอัต ไม่ว่าจะเป็นเดือนรอมฎอนหรือเดือนอื่น

 

บ้านเราก่อนหน้านี้(หลายปีมาแล้ว) ส่วนใหญ่จะละหลาดกัน 20+3 รอกะอัต ละหมาดครั้งละ 2 รอกะอัต และในแต่ละครั้งที่หยุดพัก จะมีการกล่าว ศอลาวัต ด้วยเสียงดังๆ และที่เคยเจอในแต่ละครั้งจะสั้นๆไม่ยาวนัก บางแห่งแม้จะละหมาดมากถึง 23 รอกะอัต ใช้เวลาละหมาดเพียงแค่ครึ่งชั่วโมงเท่านั้น และเกือบทุกแห่งหลังจากละหมาดเสร็จสิ้นแล้วจะมีขนมหวานเลี้ยงด้วย

 

ผมว่าประเพณีการเลี้ยงขนมแบบนี้ เป็นการใช้จิตวิทยาของผู้นำศาสนาสมัยนั้น นับเป็นการเสริมแรง(Reinforcement) ในคนมาละหมาดเยอะๆ และบ่อยๆ เพราะต้องเข้าใจด้วยว่า ช่วงแรกๆที่อิสลามเข้ามานั้น การปฏิบัติศาสนกิจของพี่น้องเราไม่เป็นที่นิยมมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เป็นสิ่งสมัครใจแบบนี้ และใช้เวลานานๆ แบบนี้

 

ทุกวันนี้การละหมาดตะรอวีหฺบ้านเรา มีหลายรูปแบบ บางแห่งยังคงแบบเก่า คือ ละหมาด 23 รอกะอัตแต่สั้นๆ หลายแห่งละหมาดแบบยาวๆ กล่าวคือในแต่ละคืนจะอ่านจบ 1 ยุซอฺ อัลกุรอานทั้งเล่มมี 30 ยุซอฺ ก็หมายความว่า ในเดือนรอมฎอนนี้จะอ่านอัลกุรอานในการละหมาดตะรอวีหฺหมดไปทั้งเล่ม

 

บางแห่งละหมาดเพียงแค่ 8+3 (ละหมาดตะรอวีหฺจริงๆแค่ 8 ส่วนที่เหลือนั้นเป็นการละหมาดปิดท้ายของกิจการละหมาดที่เรียกว่า วิตรฺ) แต่ละหมาดหมดไปทั้งเล่ม เลยทำให้หลายคนโดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยอดทนเท่านอย่างวัยรุ่น หนีไปละหมาดที่อื่น (ทราบว่า น.ศ.ที่พักใน มอย.ก็หนีไปละหมาดที่อื่นไม่น้อย เพราะหาที่สั้นๆ)

 

ผู้รอบรู้ในอิสลามบางท่านมีความเห็นว่า ไม่สำคัญที่จำนวนรอกะอัต สำคัญที่ความสั้นยาวของการละหมาด เขาว่า ถ้าชอบแบบอ่านสั้นๆให้ละหมาดมากรอกะอัต เช่น 20+3 แต่ถ้าสามารถยืนอ่านยาวๆได้ ตามแบบต้นฉบับที่นบีทำดีที่สุด คือ 11 รอกะอัต

 

 

หมายเลขบันทึก: 209984เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2008 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 03:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท