เศรษฐกิจพอเพียง (จำไว้กันลืม)


เศรษฐกิจพอเพียง (จำไว้กันลืม)

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทาง
การดำเนินชีวิตแก่พระสกนิกรชาวไทย เพื่อให้สามารถพึ่งตนเอง ทำกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ
เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน และประเทศ
โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด มีการนำ ภูมิปัญญา-ท้องถิ่น
ซึ่งเป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษในแต่ละท้องถิ่นได้สร้างสรรค์และถ่ายทอด
มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์

คำว่า “พอเพียง” หมายถึง “พอมี พอกิน” คือมีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหรา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัว ต้องผลิตอาหารเพื่อบริโภคเอง ทอผ้าใส่เอง
แต่สมาชิกในชุมชนของตนต้องมีความพอเพียงมีความพอประมาณ ไม่โลภมากและมีเหตุผล
บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่า ความต้องการในการบริโภคก็นำออกจำหน่าย
ซึ่งเป็นการแบ่งกิจกรรมส่วนหนึ่งเพื่อการค้า เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชน

หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
คือ หลักการโดยทั่วไปของเศรษฐกิจพอเพียง

ความพอประมาณ
คือ ไม่โลภมากแต่ก็ไม่ขาดแคลนจนเกิดความทุกข์ยาก
ความมีเหตุผล
คือ การมีความยับยั้งชั่งใจ
ซื่อตรง
คือ คิดดี ไม่พูดปลด หรือโกหก
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
คือ ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

หมายเลขบันทึก: 209917เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2008 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท