บทความการนิเทศการสอน


นิเทศอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

บทความการนิเทศการสอน

เรื่อง นิเทศอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

การนิเทศการสอนเป็นงานที่มีความสำคัญงานหนึ่งของการจัดและการบริหารการศึกษา

การนิเทศเป็นกระบวนการหนึ่งของการศึกษา ที่มุ่งส่งเสริมให้การสนับสนุน และพัฒนามาตรฐาน

ของการศึกษา การนิเทศจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจระหว่างผู้นิเทศ

และผู้รับการนิเทศ โดยผู้นิเทศจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการนิเทศแก่ผู้รับ

การนิเทศได้ทราบโดยละเอียด

การนิเทศมีความหมายกว้างขวางและแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแนวคิด ความรู้ และประสบการณ์ของแต่ละคน การนิเทศ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Supervision จากความหมายตามรูปศัพท์ก็คือ การให้ความช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ และการปรับปรุง ตามรูปศัพท์จาก

พจนานุกรมหมายถึง การชี้แจง การแสดง การจำแนก และจากการศึกษาคำจำกัดความของนักการ

ศึกษาหลายท่านพอสรุปได้ว่า

การนิเทศ เป็นระบบหนึ่งของระบบการจัดและบริหารสถานศึกษา เป็นกระบวนการ

ปรับปรุงการเรียนการสอน การชี้แนะการให้ความช่วยเหลือและร่วมมือกับครู รวมทั้งบุคคลที่

เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา โดยมีเป้าหมายคือ คุณภาพของผู้เรียน การนิเทศนั้นถือเป็นทั้ง

ศาสตร์และศิลป์ เพราะกระบวนการนิเทศจัดเป็นศาสตร์ เนื่องจากเป็นปรัชญาที่แสวงหาความจริง

ความรู้ และคุณค่าในสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับการศึกษา ส่วนที่กล่าวว่าเป็นศิลป์ เพราะต้องอาศัยเทคนิค

วิธีการและมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งการสื่อสาร การจูงใจ การ

ประสานงาน เพื่อปรับทัศนคติแนวคิดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

การนิเทศการสอน (Instructional Supervision) เป็นคำผสมระหว่างการนิเทศและการ

สอน โดยการนิเทศการสอนเป็นส่วนย่อยของการนิเทศ การนิเทศการสอน เป็นกระบวนการของผู้

นิเทศที่มุ่งปรับปรุงและพัฒนาการสอนในสถานศึกษา โดยมุ่งที่พฤติกรรมของครูที่ส่งผลต่อ

พฤติกรรมของผู้เรียน เนื่องจากการสอนเป็นพฤติกรรมที่เรียนรู้ได้ การเรียนรู้จะก่อให้เกิดการ

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น ซึ่งผู้นิเทศสามารถนิเทศครู เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

พฤติกรรมในการสอนได้ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

เพราะครูซึ่งอยู่ในโรงเรียนและประกอบอาชีพการสอนต้องมีความรู้ใหม่ๆ ทั้งทางด้านเนื้อหาวิชา

และด้านวิธีสอน ซึ่งการนิเทศการสอนจะเป็นการพัฒนาวิชาชีพครูได้อีกทางหนึ่ง การนิเทศการ

สอนเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม ช่วยให้ครูได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ

มากมาย เช่น วิธีสอนแบบต่างๆที่ถูกต้องและมีคุณภาพ ปรับวิธีการทำงานให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน

การใช้เครื่องมือและเทคนิคในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การแก้ไข

ผู้เรียนที่มีปัญหา การจัดทำสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้ครูเกิด

ความมั่นใจ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนิเทศการสอนนั้นมีหลักการที่ควรยึดถือ

หลายประการ คือ ต้องเป็นหลักประชาธิปไตย ยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน ยอมรับความ

แตกต่างระหว่างบุคคลให้อิสระในการทำงาน ผู้ร่วมงานทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เปิด

โอกาสให้ได้แสดงความสามารถ ได้แสดงความเป็นผู้นำ มีการปรึกษาหารือร่วมกันวางแผน มุ่ง

สร้างความคิดสร้างสรรค์ ยึดหลักมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยอมรับนับถือบุคคล เห็นอกเห็นใจ มีความ

จริงใจต่อกัน ให้กำลังใจ และการทำงานเป็นไปด้วยความสมัครใจ เต็มใจที่จะทำ ซึ่งการนิเทศการ

สอนนั้น การนิเทศภายในเป็นสิ่งสำคัญ และเกิดผลในทางปฏิบัติจริงได้มากที่สุด เนื่องจาก

ปัจจุบันศึกษานิเทศก์นั้นมีอยู่จำนวนจำกัด และต่างก็มีภารกิจหลายด้าน จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัย

ศักยภาพของครูที่มีอยู่ภายในโรงเรียนช่วยเหลือกันแก้ปัญหาภายในโรงเรียนก็จะทำให้การ

แก้ปัญหาการเรียนการสอนได้ถูกต้องตรงตามประเด็น ช่วยให้ครูได้พัฒนาตนเองได้ดียิ่งขึ้น

การนิเทศการศึกษาที่รวมถึงการนิเทศภายในโรงเรียน หมายถึง การดำเนินการใดๆที่ทำให้

ครูมีความพึงพอใจ และมีกำลังใจ ที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาการดำเนินงาน

ใดๆของโรงเรียน ให้เป็นไปตามมาตรฐานใดๆของโรงเรียนและบุคลากรให้สูงขึ้นและรักษาไว้

จนส่งผลให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของผู้รับประโยชน์จากโรงเรียนทุกฝ่าย อีกทั้งผ่านการประเมิน

ทั้งในและภายนอกหากนำความหมายของการนิเทศ หลักการนิเทศดั้งเดิมมาผสมผสานกับแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา แนวคิดที่เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน, แนวคิดว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู และระดับคุณภาพครู/ผู้บริหาร (NTQ/EMQ) หลักการนิเทศในยุคใหม่ที่ควรจะเป็นก็คือ

1. การนิเทศการศึกษา จะต้องเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นความร่วมมือร่วมใจ

ในการดำเนินงาน ใช้ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานนั้นไปสู่เป้าหมายที่

ต้องการ (Burton and Brueckner, 1955)

2. การนิเทศการศึกษา มุ่งให้ครูรู้จักวิธีคิดค้นการทำงานด้วยตนเอง มีความสามารถใน

การนำตนเอง และสามารถตัดสินปัญหาของตนเองได้ (Adams and Dickey, 1953)

3. การนิเทศการศึกษา ควรเป็นการแสวงหาความสามารถพิเศษของแต่ละบุคคลแล้วเปิด

โอกาสให้ได้แสดงออกและพัฒนาความสามารถเหล่านั้นอย่างเต็มที่ (Burton and Brueckner,1955)

4. การนิเทศที่ดีจะต้องสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง ยั่วยุและสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน

และต้องทำให้ครูรู้สึกว่าจะช่วยให้เขาพบวิธีที่ดีกว่าในการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ (Franseth

1961 : 23 - 28)

5. การนิเทศการศึกษาควรเป็นไปอย่างง่ายๆไม่มีพิธีรีตอง (Briggs and Justman, 1952)

จากความหมาย หลักการนิเทศการศึกษาที่กล่าวไว้ข้างต้น ความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา

ดั้งเดิม และการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในปัจจุบัน ความมุ่งหมายของ

การนิเทศการศึกษา รวมทั้งการนิเทศภายในโรงเรียน จึงควรจะได้แก่

เพื่อสนับสนุนส่งเสริม กระตุ้นให้ครู และผู้มีส่วนได้และส่วนเสียจากการจัดการศึกษา

ทุกฝ่ายเป็นรายบุคคล หรือหลายคน ร่วมมือ ร่วมใจกันปฏิรูปวิธีการจัดการเรียน การสอน วิธีการ

บริหารจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความสำเร็จตามมาตรฐานใดๆของโรงเรียนให้สูงขึ้นและรักษาไว้ได้อย่าง

ต่อเนื่องด้วยความเต็มใจในกรณีที่เป็นการนิเทศภายใน การนิเทศจะประสบความสำเร็จคงต้องอาศัยบริบทที่เอื้อต่อการนิเทศ เช่น

คำสำคัญ (Tags): #การนิเทศ
หมายเลขบันทึก: 209730เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2008 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท