เยี่ยมศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเลของกองทัพเรือ


เยี่ยมศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลกองทัพเรือ

เยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล
ท่องเที่ยวในครั้งนี้เราจะนำท่านมาพบกับ ...การอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลของกองทัพเรือ
ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ในอดีตการดำเนิน    ด้านอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลของกองทัพเรือมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 และได้ดำเนินงานเฉพาะเรื่องการเพาะไข่เต่ารวมถึงการอนุบาลลูกเต่าทะเลเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่บริเวณ เกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีวันที่ 17 ตุลาคม 2544 กองทัพเรือได้ยกเลิกคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ต่างๆ นำงานด้านการอนุรักษ์ทั้งหมดที่กองทัพเรือเกี่ยวข้องไว้เป็นสายงานปรกติของโดยมี กรมกิจการพลเรือน ตั้งเป็นหน่วยงานอำนวยการในด้านการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลนี้โดยตรงมี หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นผู้ดำเนินการปฎิบัติตามแผนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลภายใต้นโยบายการรักษาความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ที่กำหนดให้กองทัพเรือเป็นหน่วยปฎิบัติโดยได้จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล ตั้งอยู่ในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน อำเภอสัตหีบ.

วัตถุประสงค์ของศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล กองทัพเรือ
- ให้เป็นแหล่งอนุบาลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถดำเนินการปล่อยเต่าทะเลที่ได้ทำการอนุบาลให้กลับคืนสู่ท้องทะเล รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาวิจัยข้อมูลในการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลที่ดีต่อไป.- ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลซึ่งจะเป็นผลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลต่อเนื่องกันในด้านต่างๆตามมา.

ขอบเขตความรับผิดชอบที่สำคัญ
เป็นศูนย์คุ้มครองแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล เป็นแหล่งอนุบาลเต่าทะเลและให้ความรู้ในเรื่องเต่าทะเล. อนุบาลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถดำเนินการปล่อยเต่าทะเลที่ได้ทำการอนุบาลให้กลับคืนสู่ท้องทะเล รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาวิจัยข้อมูลในการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลที่ดีต่อไป.- ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลซึ่งจะเป็นผลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลต่อเนื่องกันในด้านต่างๆตามมา.

ขอบเขตความรับผิดชอบที่สำคัญ
เป็นศูนย์คุ้มครองแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล เป็นแหล่งอนุบาลเต่าทะเลและให้ความรู้ในเรื่องเต่าทะเล.

ความรู้เรื่องเต่าทะเล เต่าทะเลเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ในยุค Mesozoic มีอายุราว 130-200 ล้านปีแต่ในปัจจุบันจะพบเฉพาะในเขตร้อนและเขตอบอุ่น มีทั้งหมด 7 ชนิดคือ เต่าตนุ, เต่าตนุหลังแบน, เต่ากระ,เต่าหญ้า, เต่าหญ้าแอตแลนติก, เต่าหัวฆ้อน และสุดท้ายคือ เต่ามะเฟือง...
ชนิดของเต่าทะเล ที่พบได้ในประเทศไทย
เต่ามะเฟือง... เป็นเต่าขนาดใหญกินสัตว์ทะเลจำพวกแมงกระพรุน เมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาวกระดองถึง120-300 ซม. และเต่ามะเฟืองบางตัวจะมีน้ำหนักตัวถึง 900 กิโลกรัม.
เต่าตนุ... กระดองมีลักษณะเป็นลวดลายสีน้ำตาลปนเหลือง กินหญ้าทะเลเป็นอาหารเมื่อตัวโตเต็มวัยจะมีความยาวกระดอง 70-120 ซม. และมีน้ำหนักตัว 150 กิโลกรัม.
เต่ากระ... กระดองจะเป็นเกล็ดหนาซ้อนกันสีสันสวยงาม จงอยปากแหลมคม กินสัตว์ทะเลตามแนวปะการังเป็นอาหาร เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวกระดอง 80-100 ซม. น้ำหนักตัว 60-80 กิโลกรัม.
เต่าหญ้า... ลำตัวสีเทา กินสัตว์พวกกุ้งหอย เป็นอาหารเมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาวกระดองประมาณ 60-80 ซม. และน้ำหนักตัวจะอยู่ที่ประมาณ 45-60 กิโลกรัม

การดำรงชีวิต เต่าทะเล 1 ตัววางไข่ได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปีเต่าตนุ และเต่ามะเฟืองวางไข่ 5-8 ครั้งต่อปีเต่าแต่ละตัวไม่ได้ขึ้นวางไข่ติดต่อทุกปีอาจเว้น 2-3 ปีต่อครั้ง ลูกเต่าทะเลเมื่อแรกเกิดจะมีความทรงจำต่อแหล่งกำเนิดเมื่อโตขึ้นจะกลับมาวางไข่ที่แหล่งเกิด ไข่เต่าที่ถูกเพาะที่อุณหภูมิสูงลูกเต่าจะเกิดเป็นเพศเมียไข่เต่าที่ถูกเพาะที่อุณหภูมิต่ำลูกเต่ามักจะเกิดเป็นเพศผู้ การวางไข่เต่าทะเลจะวางไข่ในครั้งละประมาณ70-150 ฟองต่อครั้ง ไข่เต่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้นไข่เต่าที่ 1000 ฟองจะเกิดและมีชีวิตรอดและสามารถเติบโตจนกลับมาวางไข่ได้เพียง 1 ตัวเท่านั้นที่เหลือมักตายเป็นอาหารของคนและสัตว์.

แหล่งวางไข่เต่าทะเล อ่าวไทยพบเฉพาะเต่าตนุ และเต่ากระที่เกาะคราม เกาะอีร้า เกาะจาน โดยวางไข่ตลอดปีชุกชุมระหว่างมิถุนายน-สิงหาคม, ฝั่งอันดามันพบเต่าหญ้า และเต่ามะเฟืองตามแนวชายฝั่งจ.พังงา และภูเก็ต วางไข่ในเดือน ตุลาคม-มีนาคม หมู่เกาะพบมากที่เกาะสุรินทร์ เกาะสิมิลัน และที่เกาะตะรุเตา โดยพบเต่าทั้ง 4 ชนิดจะขึ้นมาวางไข่ที่เกาะพบได้ตลอดทั้งปี.

สาเหตุที่เต่าทะเลลดจำนวนลง หลายสาเหตุเช่นบริโภคไข่เต่าและเนื้อเต่า การบุกรุก
การเสียสภาพของแหล่งวางไข่ การติดเครื่องมือการทำประมงเช่นอวนลาก อวนลอยโดยสภาพ
ของสิ่งแวดล้อมในทะเลกำลังเปลี่ยนแปลง

แนวทางการช่วยกันอนุรักษ ไม่บริโภคและสนับสนุนการทำลายเช่นการซื้อหรือกิน
เนื้อเต่าทะเล และทิ้งขยะมูลฝอยต่างๆลงในทะเล ที่สำคัญคือ ปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อชีวิตของเต่าทะเลต่อไป.

 

 

หมายเลขบันทึก: 208859เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2008 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

เห็นภาพแล้วอดนึกถึง  ตอนไปสัมมนาไม่ได้ค่ะ  เกิดมา(สี่สิบฝน)ก็เพิ่งเคยเจอเต่าตัวกะจิ๊ดริด  และตัวเบิ้มๆที่ ศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเลของกองทัพเรือ แห่งนี้แหละค่ะ 

ประทับใจมากเลยค่ะ  ชื่นชมความคิดอนุรักษ์นี้และขอให้มีคงอยู่ต่อๆไปนะคะ

เคยพานักเรียนเข้าเยี่ยมชมแล้วดีจริง ๆๆๆๆ

ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเต่าเยอะแยะเลย ยังไงเสียพวกเราทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรควรตระหนักและเอาใจใส่ในการอนุรักษ์พันธุ์เต่าให้มากขึ้น เพื่อให้มันมีชีวิตรอดปลอดภัยและขยายพันธุ์ไปอีกนานแสนนาน...ขอบคุณจักรีนฤเบศรมากครับ

สวัสดีค่ะ

เห็นน้องเต่าแล้ว ไม่อยากให้สูญพันธุ์เลยค่ะ

เป็นกำลังใจให้อย่างมากๆเลยค่ะ มีอะไรให้ช่วย บอกได้ค่ะ

:)

  • เคยไปเยี่ยมชมเมื่อหลายปีมาแล้ว ไม่รู้ยังเหมือนเดิมมั้ย
  • ตอนนั้นก็รู้สึกประทับใจ โดยเฉพาะต้องนั้งเรือไปเนี่ย
  • ทหารอากาศกลัวน้ำอ่ะ แต่ไม่ได้มีเชื้อสุนัขบ้านะพี่ป้อม  
  • คห.ที่ ๓ น่ะ ก็ตัวเองเป็นเต่าอยูแล้ว ไม่เคยรู้เรื่องตัวเองเหรอ
  • สงสัยเต่าตัวนี้ไม่ยอมขยายพันธุ์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท