การสื่อสารอย่างผู้นำ : พูดมีพลัง ฟังด้วยใจ นำไปใช้เรียนรู้


การสื่อสารอย่างบูรณาการ สู่การเป็นผู้นำ

          ที่ผ่านมาเรามักจะคุ้นเคยกับบทบาทของผู้นำ ด้วย การพูดเป็นส่วนใหญ่   คือ  ถ้าใครพูดเก่ง พูดได้ประทับใจ   เราก็มักจะยอมรับกันว่าเป็น   ผู้นำ

 

          ถ้ามองกันอย่างผิวเผิน ก็ดูเหมือนว่าคนพูดเก่ง  น่าจะเป็นผู้นำแต่ความเป็นจริง  การพูดเก่งเป็นเพียงคุณสมบัติเพียงส่วนหนึ่งของการสื่อสารของผู้นำเท่านั้น   เพราะการสื่อสารอย่างผู้นำ จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ  3  ประการ คือ  

 

          1. พูดมีพลัง   การพูดอย่างมีพลังคงไม่ใช่ หมายถึง  พูดดัง  แต่การพูดอย่างมีพลัง หมายถึง   การพูดจากการมีวิธีคิดแบบผู้นำ นั่นคือ  จะต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง  สามารถรับผิดชอบตัวเองและเป็นผู้นำตัวเองได้  ที่สำคัญ พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น  เป็นอย่างไร พูดอย่างนั้น  คล้ายๆกับคำกล่าวของท่านอดีตนายกฯชาติชาย  ที่ว่า ก่อนพูด เราเป็นนายคำพูด หลังพูด  คำพูดเป็นนายเรา

 

          2. ฟังด้วยใจ  หัวใจสำคัญของการสื่อสารของผู้นำอีกประการหนึ่ง คือ การฟัง  ที่ผ่านมาเรามักจะพบกับหลายคนที่มีปัญหาเรื่องการฟัง  เช่น ไม่ฟัง   ฟังแต่ไม่ได้ยิน    หรือ  ฟังได้ยินแต่ตัดสินโดยยึดความคิดเห็นของตัวเองเป็นที่ตั้ง  เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีปัญหาเรื่องการฟังทั้งนั้น   การฟังอย่างผู้นำ คือ จะต้องฟังด้วยใจ  นั่นคือ ตั้งใจฟังให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทั้งความรู้และความรู้สึกของผู้พูด    เมื่อฟังจนเข้าใจแล้ว   ถ้ายังไม่แน่ใจในข้อมูลที่ได้  ให้รับฟัง  เอาไว้ก่อน  อย่าเพิ่งรีบตัดสิน    ถ้าแน่ใจว่าจะตัดสิน  ได้  จะต้องให้ผลการตัดสินออกมาแบบชนะทั้งคู่นั่นคือเอาชนะปัญหาไม่ใช่เอาชนะคน   ตัดสินอย่างไรให้ทุกคนพอใจ  ไม่มีใครแพ้  ไม่มีใครชนะ

 

          3. นำไปใช้เรียนรู้   การนำข้อมูลที่ได้รับฟังทุกคน  นำไปใช้ในการสื่อสารและเรียนรู้ในครั้งต่อไป   ถือเป็นการให้การยอมรับคนอื่นอย่างให้เกียรติ   เป็นหัวใจที่สำคัญของหลัก การมีส่วนร่วม   ปฎิกิริยาที่ตอบกลับมา ของการนำข้อมูลที่ได้รับฟังนำไปใช้เรียนรู้  ก็มักจะเป็นการร่วมแรง ร่วมใจ ในการทำงาน  อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี  ในทางตรงกันข้าม  หากไม่มีการนำข้อมูลที่ได้รับฟังนำไปใช้ในการเรียนรู้และการสื่อสาร  ปฏิกิริยาที่กลับมา ก็จะออกมาในแนวของการต่อต้าน ขัดขวาง เนื่องจากเป็นแนวคิดของการขาดการมีส่วนร่วม  การไม่ยอมรับและการให้เกียรติผู้อื่น

 

          ดังนั้น  ผู้ที่จะเป็นผู้นำ   คงจะต้องสื่อสารอย่างบูรณาการ ด้วย การพูด  การฟัง และ การเรียนรู้ 

 

          การพูดอย่างเดียว  โดยไม่ฟัง และ ไม่เรียนรู้   จึงไม่มีคุณสมบัติเหมาะพอที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้

 

                                  ขอบคุณครับ

 

(ดัดแปลงมาจาก   Great Motivation Secrets of Great Leaders)

หมายเลขบันทึก: 208828เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2008 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะอาจารย์

- การฟังด้วยใจ ฟังอย่างลึกซึ้ง นั่นเขาว่าดี

ตอนนี้คนเราสักแต่จะพูด แต่ไม่ค่อยรับผิดชอบต่อคำพูดของเราที่ควร

หรือเขากลัวคนอื่นว่า "กลืนน้ำลายตัวเอง" หรือเปล่าหนอ ?

- การตัดสินใจคำพูดของคนอื่นว่าถูกหรือผิดนั้นไม่ควร เพราะทุกครั้งที่ประชุมทำไมต้องพูดว่าไม่ถูก ไม่ใช่ ไม่จริง ๆ น่าจะพูดประนีประนอม "ผมมีความคิดเห็นว่า ...."

แต่ทำไมเราไม่ค่อยพูดกัน รู้แต่ไม่ทำ หรือไม่รู้จริง ๆ

P สวัสดีครับ คุณเพชรน้อย

     ขอขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยม

     ประเด็นนี้เป็นการเสริมที่ดีมากครับ

     1. ผมมีความคิดเห็นว่า......

     2. การตัดสินคำพูดของคนอื่นว่าถูกหรือผิดนั้น ไม่ควร

สวัสดีค่ะอาจารย์คะ แอบมาขอความรู้ค่ะ ชอบมากค่ะ กับ คำว่า ผู้นำต้องพูดอย่างมีพลัง และ ฟังด้วยใจ

ทางมหาวิทยาลัย เคยจัดอบรมหลักสูตร การสื่อสารข้ามสายงาน เพื่อให้ผู้นำของแต่ละสายงานที่ค่อนข้าง

มีปัญหาในการสื่อสาร พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ฟังอย่างตั้งใจ และ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อก้น

และต่อสื่อค่ะ ท่านอธิการ ได้เชิญ อ.อุไรวรรณ อยู่ชา มาบรรยาย ท่านอาจารย์เก่งมากมีกิจกรรมที่สื่อ

ให้เห็นปัญหาของการสื่อสารของผู้นำได้ชัดเจน ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ที่สำคัญเน้นเรื่องของ

การฟังด้วยหู ฟังด้วยตา ฟังด้วยปาก ฟังด้วยหน้า และสำคัญที่สุดคือ ฟังด้วยใจ ที่เปิดรับฟังข้อจำกัด

ของหน่วยงานอื่นดีมาก ๆ เป็นการอบรมที่ชี้ปัญหาได้ตรงที่สุดและเป็นประโยชน์มากค่ะ

คุณนิดครับ

 *  การสื่อสารข้ามสายงาน เพื่อให้ผู้นำของแต่ละสายงานที่ค่อนข้าง มีปัญหาในการสื่อสาร พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ฟังอย่างตั้งใจ และ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อก้น

    (ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีมากเลยนะครับ การสื่อสารข้ามสายงาน  ยอมรับว่าเป็นปัญหามาก)

*  การฟังด้วยหู ฟังด้วยตา ฟังด้วยปาก ฟังด้วยหน้า และสำคัญที่สุดคือ ฟังด้วยใจ

    (เป็นการฟังที่ต้องใช้หลายอย่างเลยนะครับ  เรียกว่า Deep listening)

             ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมเติมเต็ม

 

อ.อุไรวรรณ อยู่ชา บรรยายหลักสูตร การสื่อสารข้ามสายงาน ได้เห็นภาพสาเหตุของปัญหาชัดเจนมากจริง ๆ

ผมไปเข้าอบรมมาแล้ว กิจกรรมที่สื่อในการอบรม ทำให้สะท้อนถึงสาเหตุและแนวทางการป้องกันได้ดี

ขอบคุณ คุณนิด และ อ.Small Man ครับ ที่ Post ไว้ ทำให้ผมมีโอกาสได้เข้าอบรมหลักสูตรที่

มีประโยชน์มาก ๆ โดยเฉพาะได้รู้จักกับ อ.อุไรวรรณ อยู่ชา ซึ่งผมว่า เป็นวิทยากรที่ถ่ายทอดได้ดีมาก

โดยเฉพาะการถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงจาก SCG สุดยอดครับ

ขอบคุณคุณธีรพัฒน์ครับ

การสื่อสารในองค์กร มีปัญหามากเลยครับ

ขอบคุณครับ

อาจารย์คะ ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคุณสมบัติ 3 ประการ ดีมากเลยค่ะ

และ ขอบคุณทุกท่านที่แนะนำ หลักสูตรการสื่อสารข้ามสาย ของ

อ.อุไรวรรณ อยู่ชา ค่ะ เมื่อเดือนที่แล้ว ท่านรองฯ ได้ส่งทีมงาน 3 คน

ไปเข้าอบรมกับ อ.อุไรวรรณ มาแล้วค่ะ ทุกคนยกนิ้่วให้ว่า "เยี่ยมมาก ๆ ค่ะ"

ตอนนี้ได้นำเนื้อหามาถ่ายทอดต่อใน รพ. ผ่านไป 2 สัปดาห์แล้วค่ะ

ผลประเมินในภาพรวมหลายคนฟังกันมากขึ้น และมีทัศนคติที่ีดีต่อกัน

ดีมากค่ะ

ขอบคุณครับ คุณดาว สำหรับประสบการณ์ดีๆ ที่นำมาฝาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท