วิจัยกล้วยไข่ให้ผิวสวย ใช้อุณหภูมิควบคุมการตก กระ


สาเหตุเบื้องต้นไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค

 

วิจัยกล้วยไข่ให้ผิวสวย ใช้อุณหภูมิควบคุมการตก กระ

         กล้วยไข่...หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ถูกกดราคา หรือหนักสุดคือส่งขายไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ส่งออกมักประสบบ่อยครั้ง คือผิวของเปลือกเป็น กระ

          เพื่อที่จะลดปัญหานี้ลง ศ.ดร.สายชล เกตุษา ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส ได้รับทุนสนับสนุน การวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ทำการศึกษาวิจัยกล้วยไข่ทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อหาสาเหตุ

      ในการศึกษาเก็บข้อมูลได้ใช้ถุงพลาสติกคลุมเครือกล้วย ควบคู่กับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อโรคทั้งก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว อีกทั้งยังเก็บรักษาผลกล้วยให้สุกในสภาพปลอดเชื้อ-โรค แต่ก็ยังพบการตกกระของผลกล้วยไข่อยู่

ศ.ดร.สายชล...จึงสันนิษฐานว่า การตกกระของกล้วยไข่สุก สาเหตุเบื้องต้นไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคอย่างแน่นอน และ คงเกิดจากการที่ปล่อยทิ้งไว้ให้กล้วยงอมเต็มที่

ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดรอยตกกระเกิดรอยบุ๋ม ส่งผลให้น้ำบริเวณรอบข้างไหลเข้ามาทดแทน ทำให้เนื้อเยื่อติดเชื้อได้ง่าย กระทั่งผิวของกล้วยไข่กลายเป็นสีดำ

     ด้วยเหตุนี้ทางคณะวิจัยฯ จึงได้เริ่มศึกษาเปรียบ เทียบกับการเกิดสีน้ำตาล (browning) ของเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ อาทิ สีขาวของผลแอปเปิลที่ตากลมไว้เกิดสีน้ำตาล การเกิดสีผิดปกติของผลิตผลเขตร้อน เมื่ออยู่ภายใต้อุณหภูมิต่ำเหนือจุดเยือกแข็ง (chilling injury; 0-12 C) และการเกิดจุดสีน้ำตาลของผักกาดหอมห่อ (rusett spotting)

      ผลที่ได้พบว่าเมื่อได้รับเอทิลีนที่อุณหภูมิต่ำ สีน้ำตาลที่เกิดขึ้นมาเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเอนไซม์ กับสารฟีนอลิก ในสภาวะที่มีออกซิเจน โดยเม็ดสีเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่และตกตะกอนอยู่ตามเนื้อเยื่อของพืช

และ...เมื่อนำกลับมาไว้ในอุณหภูมิห้อง กล้วยไข่จะยังคงตกกระเช่นเดิม อีกทั้งความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ จะช่วยให้การตกกระเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีความชื้นมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์

 เมื่อทราบถึงปัจจัยเหล่านี้ จึงได้คิดวิธีการชะลอการตกกระ ด้วยวิธีการเก็บรักษากล้วยไข่สุกในบริเวณที่มีอุณหภูมิ 12-18 C หรือช่องแช่เย็นปกติ ซึ่งจะช่วยลดการตกกระได้นาน 5 วัน ใช้พลาสติกฟิล์มพีวีซี (PVC Film) หรือพลาสติกที่ยอมให้อากาศถ่ายเท ห่อผลกล้วยไข่เพื่อควบคุมปริมาณออกซิเจนให้เหลือน้อยที่สุด การใช้สารเคลือบผิว เพื่อลดการหายใจด้วยออกซิเจนของผลกล้วยไข่

  

   จากการวิจัยและศึกษาการตกกระของกล้วยไข่ ได้ถูกนำมาใช้ป้องกันผิวของผลกล้วย โดยมีการนำกล้วยไข่ไปบรรจุในภาชนะ จานโฟมและห่อด้วยพลาสติก หรือแช่เก็บในชั้นวางของที่มีอุณหภูมิ 12-18 C เหล่านี้ก็ เพื่อชะลอการตกกระของกล้วยไข่และดึงดูดใจผู้บริโภค

********  นอกจากจะลดปัญหาการตกกระแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่คณะวิจัยได้รับรู้ ต้องการ คือความเข้าใจในธรรมชาติของกล้วยไข่ว่าจุดตกกระเกิดขึ้น เมื่อกล้วยไข่นั้นสุกมิใช่เกิดจากโรคแต่อย่างใด. *************

 

 

  ที่มาข่าวเกษตร http://www.thairath.co.th

หมายเลขบันทึก: 208726เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2008 03:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรื่องบางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องหาคำตอบหรือแก้ไขโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เสมอไป บางครั้งการเข้าใจในเรื่องธรรมชาติก็ป็นสิ่งจำป็น

  • อืม..น่าสนใจนะคะ
  • มีคำถามว่า "กล้วยไข่" ต่างจาก "กล้วยน้ำว้า หรือกล้วยอื่นๆ อย่างไรไหมคะ ประมาณว่า กล้วยอื่นๆ ไม่เห็น มีการตกกระ
  • เอ..หรือว่าตัวเองไม่ได้สังเกต แต่ดูๆๆ แล้วไม่ตกกระ เหมือนกล้วยไข่ ตอนสุกงอม นะค่ะ
  • ทั้งๆ ที่เป็นกล้วยเหมือนกัน ถามแบบไม่มีความรู้ และขี้สงสัยอีกต่างหาก
  • อิอิ ขอบคุณค่ะ
  • สาวๆใครกลัวตกกระก็ปรับอุณหภูมิ 0-12 องศาได้นะจ๊ะ เดี๋ยวผิวสวยเลยละ ฮิฮิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท