Are You โครม?


ถ้าคนได้เจอคนในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม คนจะสร้างสิ่งที่คนอื่นๆ ตะลึงได้

หลังจากบราวเซอร์เวอร์ชั่นเบต้าของกูเกิลออกมาได้ไม่นาน ใครๆ ก็พูดถึง ใครๆ ก็บล็อกถึง แค่เฉพาะใน RSS Feed ที่ผมรับอยู่ บล็อกเกอร์มากกว่า 10 คน ออกมาเล่าเรื่องราวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโปรแกรมตัวนี้ แต่... จะมีใครเคยสงสัยไหมครับว่าทำไม

เพราะมันเป็นผลิตภัณฑ์ของกูเกิลหรือ? (คงไม่ใช่มั้งมีหลายโปรแกรมถมไปของกูเกิลที่คนไม่สนใจ)

เพราะมันเป็นบราวเซอร์ซึ่งมีอยู่ไม่กี่เจ้าในท้องตลาด? (อันนี้ก็ไม่จริง มีหลายคนพยายามเข็นบราวเซอร์ออกมาใหม่แต่ยังไม่เห็นเป็นที่นิยมเลย)

หรือเพราะว่า มันมีคนพูดถึง เราเลยต้องพูดถึงต่อ แล้วเราจะเท่ห์มากถ้าได้พูดถึง? (อืมมม... อันนี้มีเคล้าแหะ)

กูเกิลได้อานิสงค์จากการบอกต่อปากต่อปากครั้งนี้เยอะมากครับ ไม่ใช่เฉพาะแค่ในอเมริกา แต่มันเป็น message ที่ถูกกระจายไปทั่วโลกเพียงชั่วข้ามคืน นี่สิ Viral marketing ของแท้ ที่นักการตลาดฝันหา ผมในฐานะนักการตลาด(ที่อ่อนประสบการณ์คนหนึ่ง)เลยพยายามมองดูรอบๆ และค้นหาคำตอบว่าเค้าทำได้อย่างไร

สมมติฐานข้อ 1

จากปากคำให้การของคุณยอด บรรมีจาก Sukiflix เคยเล่าให้ผมฟังว่า เขาเคยไปสัมภาษณ์คุณกระทิง พูนผล คนไทยที่ไปทำงานที่กูเกิล ด้วยคำถามง่ายๆ ว่า "ทำอย่างไรให้เว็บดัง" คำตอบที่กลับมาคือ "เอาไปปล่อยให้ถูกแหล่ง" ซึ่งแหล่งที่ว่านี้ในอเมริการคือ Silicon Valley หรือจะเอาให้ชัดๆ คือมหาวิทยาลัย Standford ถ้าเว็บที่เอาไปปล่อยดีจริง นักศึกษาที่ได้ทดลองใช้จะบอกต่อและทำให้มันดัง ผมเลยลองมานึกดูว่า เว็บเมืองไทย เว็บไหนที่เข้าข่ายดังแล้วเกิดจากสภาวะแวดล้อมในมหาวิทยาลัยบ้าง ก็ลิสต์ออกมาได้ 2-3 เว็บ คือ Gotoknow เกิดที่ ม.สงขลา Blognone น่าจะเป็น ม.เกษตร และ Duocore ที่มาจาก SIIT
อืมมมม มหาวิทยาลัยที่กล่าวมาข้างต้นมีลักษณะอะไรที่คล้ายคลึง Standford จึงมีระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมในการบ่มเพาะเว็บไทยได้??? อันนี้น่าสนใจครับ

สมมติฐานข้อ 2

ตามสุภาษิตไทยโบราณว่าไว้ "ตามผู้ใหญ่ หมาไม่กัด" ในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตปัจจุบันมียักษ์ใหญ่อยู่ไม่กี่เจ้า เขาประสบความสำเร็จจากอะไรบ้างอย่างให้เราได้จดจำ ถ้า wikipedia พี่ใหญ่สารานุกรมจะผันตัวไปทำ  Intelligent search engine คงไม่แปลกเพราะเค้ามีข้อมูลเยอะที่สุดในโลกอยู่ เช่นเดียวกัน Google ที่โตมาจาก search engine จะมาทำบราวเซอร์จึงไม่แปลกด้วย และน่าชื่นชมมากเพราะเป็นกลยุทธการขยายตัวแบบ vertical integration ในลักษณะ backward ไปยังต้นน้ำ ทำให้คนที่ใช้บราวเซอร์ท่องอินเทอร์เน็ตสะดวกขึ้นในการค้นหา แต่... ถ้าเว็บเล็กๆ อย่าง Tag.in.th ที่เป็น Directory อยู่ วันหนึ่งจะบอกว่าเดี๋ยวจะเปิดให้บริการ Social bookmark ด้วย มันจะมีคนใช้ไหมเนี่ย??? เป็นคำถามที่น่าคิดครับ

สมมติฐานข้อ  3

"คุณค่า" สิ่งที่ผมได้ยินมาหลายต่อหลายครั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายคือจะทำอะไรมันต้องมีคุณค่า (value proposition) ให้กับผู้ใช้ ดังนั้นซอฟต์แวร์ทุกชนิดที่อยู่รอดให้มีชื่อมาจนทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเดสก์ท็อปแอ็พหรือเว็บแอ็พ เมื่อทำขึ้นมาต้องให้ประโยชน์อะไรสักอย่าง บ่อยครั้งที่ First comer ไม่ได้เป็นที่หนึ่ง IE สามารถกินตลาด Netscape หลัง bandle โปรแกรมเข้ากับ OS ได้ หลายคนอาจมองว่า monopoly แต่ประโยชน์ที่ไมโครซอฟต์มอบให้กับผู้ใช้สูงสุดก็คือ"ความสะดวก" ครั้งนี้ Chrome มอบ "ความสบาย" ให้กับผู้ใช้ ไม่ต้องติดตั้ง plug-in พิเศษให้มีช่องค้นหาในบราวเซอร์ ไม่ต้องรอโหลดเข้าเว็บ ก็แค่พิมพ์อะไรก็ได้ที่ต้องการลงในช่อง address เมื่อคนรู้สึกถึงคุณค่า ถึงประโยชน์ จึงบอกต่อกันไป

สมมติฐานข้อ 4

ผมกำลังอยากจะคุยถึงเรื่องเหนือธรรมชาติที่เรียกว่า "ศรัทธา" ครับ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยว Apple เข้าไปอยู่ในใจของสาวก สร้างพื้นที่ในจิตใต้สำนึกของกลุ่มคนผู้ชื่นชอบ ให้รู้สึกว่า ไม่ใช้ไม่ได้แล้ว และเมื่อเขาคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ก็ปล่อยข่าวออกมา กระตุ้นความสนใจก่อน สร้างความตื่นเต้น ความเร้าใจ ยั่วให้อยากและจำกัดจำนวน ทำให้ผู้รอคอยรู้สึกถึงความคุ้มค่าที่ต้องรอ นอกจากนี้ยังมีศรัทธาอีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่เราเห็นตัวอย่างชัดเจนในเมืองไทยของเราตอนนี้ เรื่องศาสนาที่มีการรวมกลุ่มก้อนของผู้ที่เชื่อเหมือนๆ กัน คนที่ชอบ คนที่เชื่อ ย่อมพยายามทำให้คนอื่นเชื่อเหมือนที่ตนเองเชื่อด้วย

ทั้งหมดที่เขียนมานี้ อาจจะไม่ใช่เลยสักข้อ ถึงได้เรียกว่าสมมติฐานเพราะยังไม่ได้ทำการพิสูจน์ วิจัย ก็แค่ความคิดที่มันอยู่ดีๆ ก็นึกสนุกขึ้นมาเฉยๆ แต่ถ้าใครสนใจอยากจะหยิบไปทำเป็นหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวกับการตลาดแบบบอกต่อในบริบทของไอซีที ก็ลองดูนะครับ ผมเชื่อว่าถ้าคนได้เจอคนในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม คนจะสร้างสิ่งที่คนอื่นๆ ตะลึงได้ ทำให้มันคึกโครมไปเลย แล้วได้ผลอย่างไร กลับมาบอกต่อกันด้วยนะครับ แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

หมายเลขบันทึก: 208538เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2008 00:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ถือว่ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะครับ

สมมุติฐานที่ 1 เรื่องการปล่อยให้ถูกแหล่ง ผมว่าน่าจะหมายถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ มากกว่าที่จะเป็นสถานที่หรือเปล่าครับ เพราะการทำเว็บ มันเป็นการสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ท ซึ่งไม่จำกัดสถานที่ ตัวอย่างเช่น ถ้าผมจะทำเว็บแนวเดียวกับ HI5 ถึงแม้จะไปปล่อยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดก็ตาม แต่ถ้าไปปล่อยในกลุ่มอาจารย์ หรือนักวิจัย ผมก็ว่ายากที่ประสบความสำเร็จ

สมมติฐานที่ 2 ผมยังงงๆ ว่าเกี่ยวข้องอะไรกับ "ตามผู้ใหญ่ หมาไม่กัด" เพราะจากตัวอย่างที่ยกมา แต่ละบริษัทใช้จุดเด่นของตัวเอง ในการสร้าง product ใหม่มากกว่า แล้วอีกอย่าง การทำตามเจ้าของตลาดที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป (ตัวอย่างมีให้เห็นมากมาย) ในทางกลับกัน การที่บริษัทอย่าง google หรืออย่าง wikipedia ประสบความสำเร็จได้ เพราะว่าการมองต่างจากกระแส ในช่วงเวลานั้นๆ มากกว่า

ป.ล. ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ ^^

ได้อีกแง่คิดดีๆ ครับ (ยังไม่มีอะไรแลกเปลี่ยน)

ขอบคุณ คุณ Mr.JoH สำหรับลปรร. ครับ ผมขอขยายความที่เขียนทิ้งไว้นะครับ

สมมติฐานข้อที่ 1 "ถูกที่ ถูกทาง ถูกเวลา" เคยได้ยินไหมครับ Silicon Valley มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ธุรกิจไฮเทค บริษัทดังมากมายเกิดและเิติบโตขึ้นที่นั่น เพราะเป็นแหล่งสถานศึกษา แหล่งเงินทุน แหล่งงาน แหล่งวิจัย ระบบนิเวศน์ตรงจุดนั่นก่อให้เกิดนวัตกรรมที่โลกยอมรับ อย่าง Fackbook ที่เกิดในอเมริกาตะวันออกยังย้ายไปตั้ง ผมมองเมืองไทยก็รู้สึกรันทดเพราะมีแต่คนบอกว่าจะสร้างระบบนิเวศน์แบบนั้น แต่ยังไม่เคยเห็น และคงต้องรอกันต่อไปอีกนานไม่รู้เท่าไร

สมมติฐานข้อที่ 2 "ตามผู้ประสบความสำเร็จ" point ของข้อนี้มีอยู่ว่า คนเรามักจะเฮโลไปตามๆ กันโดยยึดติดกับภาพอันยิ่งใหญ่ที่เค้าสร้างไว้ มันไม่ได้มีอะไรจะบอกว่าเส้นทางของ Chrome เป็นเช่นไร จะดีไม่ดีแค่ไหน แต่เราจะบอกต่อมันก่อนเพราะกูเกิลน่าเชื่อถือ แล้วเว็บเล็กๆ ของคนไทย จะได้รับโอกาสดีๆ นั้นไหม ก็คงต้องพยายามกันต่อไป ใช่ไหมครับ?

มีเรื่องชวนคิดในประเด็นของ world-of-mouth อีกเยอะครับ ถ้ามีอะไรแชร์ก็ยินดีนะครับ

ทุกวันนี้ยังคงค้นหาทุกอย่างในกูเกิ้ลอยู่ดีรวมทั้งค้นหารถรับจ้างขนของด้วย https://www.winpickup.com/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท