การจัดการความรู้ส้มโอขาวแตงกวาที่อำเภอวัดสิงห์ จ.ชัยนาท


ผู้ที่คิดจะปลูกจะต้องเป็นผู้มีใจรักที่จะปลูกส้มโอขาวแตงกวา มิได้คำนึงถึงเฉพาะในเรื่องของธุรกิจ

จากการเสวนาเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอขาวแตงกวา อำเภอวัดสิงห์ และครูติดแผ่นดิน เกษตรกรอำเภอ วัดสิงห์   จำนวน 7   คน พื้นที่ปลูก

ที่

ชื่อ - สกุล

พื้นที่ปลูก(ไร่)

ระยะเวลาปลูก(ปี)

1

นายเกรียงกมล   เหมือนกรุด

30

3

2

นายทวาย           มั่นอ่วม

10

10

3

นายวิเชียร         จ่าแสง

4

10

4

นายทวี              อิ่มรัง

10

5

5

นายกลิ่น           เหมือนกรุด

10

12

6

นายอนันต์        บัวลอย

5

12

7

นายอาง             อินขำ

6

10

8

นายประกอบ    เมงทอง

4

3

9

นายออง            อินขำ

6

10

ครูติดแผ่นดิน  นายชัชชัย  ทับทอง  ตำบลนางลือ  อ.เมืองชัยนาท 

ผู้อำนวยการ  นายรังสรรค์  กองเงิน  เกษตรจังหวัดชัยนาท

                นายชัชชัย  ทับทอง  ครูติดแผ่นดิน(ส้มโอ) กล่าวว่า  การปลูกส้มโอ  ขาวแตงกวา  มีความยุ่งยากมากกว่า ผลไม้อื่น ดังนั้น ผู้ที่คิดจะปลูกจะต้องเป็นผู้มีใจรักที่จะปลูกส้มโอขาวแตงกวา  มิได้คำนึงถึงเฉพาะในเรื่องของธุรกิจ   

นายชัชชัย  ทับทอง  ครูติดแผ่นดิน(ส้มโอ)

จุดคอขวด  ประเด็นที่จะต้องระวังหรือให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ  ดังนี้

1.       ดิน

2.       กิ่งพันธุ์

3.       การจัดการและดูแลรักษา

1.       ดิน 

การเตรียมดิน  ควรนำดินไปวิเคราะห์  เพื่อทราบข้อมูลของดินและแนวทางการจัดการ  ปริมาณและชนิดของปุ๋ยที่จะนำมาใช้  จากการดำเนินงานของเกษตรกร พบปัญหาและแนวทางแก้ไข  ดังนี้

1.1    ดินขาดความอุดมสมบูรณ์

แนวทางแก้ไข  ควรปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยหมัก 2 กำมือ / 1 ตารางเมตร และ
การใช้เศษวัชพืชคลุมดิน

 

 

1.2    ดินดานและดินเหนียว 

แนวทางแก้ไข  สวนที่สร้างจากแปลงนาข้าวเก่ามักจะพบปัญหาดินเหนียวและดินดานจะแก้ปัญหา โดยขุดให้กว้างและลึกก่อนใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้ว

2.       กิ่งพันธุ์ 

กิ่งพันธุ์   มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับการปลูกส้มโอขาวแตงกวา  เนื่องจาก ถ้าใช้กิ่งพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ และได้จากต้นที่ไม่ให้ผลหรือผลผลิตไม่ดี   จะส่งผลเมื่อส้มโอเจริญเติบโตแล้วให้ผลผลิตไม่ดีไม่ติดผล เหลืองและร่วงหล่น ดังนั้น

แนวทางแก้ไข  เลือกใช้กิ่งพันธุ์ที่ได้จากต้นที่ให้ผลผลิตสูง ปลอดโรค  จึงต้องติดต่อกิ่งพันธุ์จากสวนที่ให้ผลผลิตดีและเชื่อถือได้

เกษตรกรมอบส้มโอให้กับนายรังสรรค์  กองเงิน เกษตรจังหวัดชัยนาท

3.       การจัดการ และการดูแลรักษา

ในช่วงระยะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมี  ควรหยุดการให้น้ำ  เพื่อให้ดินแห้งก่อนใส่ปุ๋ยอินทรีย์   จำนวน  10   กก./ต้น  ควบคู่กับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7  จำนวน 2 กก./ต้น

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว  เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ   เพื่อเตรียมความพร้อมของการให้ผลผลิตในฤดูต่อไป  ดังนี้

3.1   ตัดแต่งกิ่งให้ถูกต้อง  กิ่งที่ให้ผลผลิตแล้วควรตัดออกแต่ไม่ต้องตัดออกจนหมด  ควรตัดเหลือไว้ห่างจากโคนกิ่งประมาณ  12  นิ้ว  เพื่อให้แตกกิ่งใหม่ ไม่โปร่งจนแดดส่องผลไหม้แกรียม  อีกทั้งเพื่อให้มีผลผลิตในปีต่อไป      

3.2   หมั่นตรวจสอบรักษาสภาพของใบส้มโอ  ในช่วงระยะแรกของการแตกใบอ่อน นานประมาณ 1 เดือน  ก่อนใส่ปุ๋ย  8-24-24  ประมาณ  1  กก./ต้น  และใส่อีกครั้งหลังจากใส่ครั้งแรก  15  วัน  กระตุ้นการสะสมของตาดอก   ด้วยการฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสาหร่ายผสมอาหารเสริมทางใบ

3.3   อาจฉีดพ่นสารระงับการแตกใบอ่อน ประมาณ 100- 200 CC  ต่อน้ำ 20  ลิตร ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน  ถ้ามีฝนตกจะใช้ปริมาณมาก  เพื่อให้ออกดอกพร้อมกัน สะดวกแก่การจัดการ ปล่อยหยุดการให้น้ำประมาณ  1  เดือน ตากดินให้แห้ง หมั่นตรวจสอบดูแลรักษา ป้องกันโรคและแมลง เมื่อพบว่าใบส้มโอแสดงอาการสลดแล้ว (ดินแห้งจริงๆ)   จึงให้น้ำครั้งแรก พอปรับสภาพและเพิ่มปริมาณน้ำจนถึงการให้เต็มที่

3.4   ฉีดพ่นสารสกัดจากสารสาหร่าย อัตรา 300-400  CC  ต่อน้ำ  20  ลิตร (ไม่ต้องใช้สารจับใบ)  เพื่อให้ออกดอกสม่ำเสมอจะทำให้ง่ายแก่การจัดการดูแลรักษา

3.5    การดูแลรักษาดอก ฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมจำพวกแคลเซียมโบรอน

3.6   การดูแลรักษาหลังติดผล หลังติดผล  3   เดือน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา  2  กิโลกรัม /ต้น โดยให้ทุก  2  เดือน และใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา  2  กก./ต้น  เพื่อปรับปรุงคุณภาพผลผลิตหลังติดผล  5 เดือน  เกษตรกรบางรายจะพิจารณาเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่มีคุณภาพสูงหรือเลือกใช้เฉพาะยี่ห้อของปุ๋ย

เกษตรกรมอบส้มโอให้กับนายทินกร เสือรัก  เกษตรอำเภอวัดสิงห์

3.7    การป้องกันและรักษาผลผลิต

1)      ฉีดพ่นสารเคมีคาเบนดาซิม เพื่อป้องกันเชื้อรา เมื่อผลอ่อนเท่าลูกมะนาวฉีดพ่น ประมาณ 2 ครั้ง ฉีดพ่นอาหารเสริม ทุก 7 วัน ประมาณ 5 ครั้ง ไรแดงใช้สารเคมีมิทาด เมื่อผลอายุได้ 3-4 เดือน

2)       การห่อเกษตรกรกลุ่มส่งออกจะฉีดพ่นสารเคมีป้องกันเพลี้ยไฟไรแดง เมื่อผลอายุ 3 เดือน และเลือกผลที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ห่อผลป้องกันศัตรูส้ม

4. ด้านตลาด

-                ปรับปรุงคุณภาพให้มีคุณภาพดี

-                ลดการใช้สารเคมี โดยใช้เมื่อจำเป็น

-                 ลดต้นทุนโดยใช้สารชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์

-                - แก้ปัญหาเพลี้ยไฟ ไรแดง และแคงเกอร์

-                การร่วมกลุ่ม เพื่อผลิตส้มโอมีคุณภาพตามมาตรฐานส่งออก โดยอาจใช้เทคนิคการห่อผล

ปัญหาบางส่วนที่เกิดขึ้น

2.       เปลือกผลส้มโอหนา เกิดจากอายุของต้นส้มโอน้อย อยู่ในช่วงอายุไม่เกิน 5 ปี หรือส้มโอที่ได้รับการใส่ปุ๋ยคอกจำนวนมาก

3.       เมล็ดมาก เกิดจากส้มโอช่วงระยะให้ผลได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ จึงควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

4.       ส้มโอมีรสขม แนวทางแก้ไข

-    เก็บเกี่ยวผลส้มโออายุ 7-8  เดือน  หลังออกดอก

-    ให้น้ำสม่ำเสมอ

-    เกษตรกรบางรายใส่เกลือแกงปริมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 2 ขีด)  หว่านรอบทรงพุ่ม (ควรพิจารณา เนื่องจากอาจจะส่งผลเสียจากความเค็มของเกลือตกค้างในดิน

-    ไม่ควรใช้มีดร่วมกัน  ระหว่างมีดปลอกผิวส้มและมีดผ่าส้ม

เรื่องเล่าจากเกษตรกรผู้เข้าร่วมเสวนา

นายกลิ่น  เหมือนกรุด  เล่าถึงประสบการณ์และแนะนำการดำเนินงานว่า  

                     ปัญหาการทำสวนส้มโอ  จากการสังเกตต้นส้มโอที่โตแล้ว  ให้ผลผลิตไม่ดีหรือบางกิ่งไม่ให้ผลผลิต  พบว่า รากที่เจริญเติบโต คดงอทับซ้อนกัน และรากไม่แพร่กระจายรอบลำต้น แต่จะแผ่กระจายในด้านใดด้านหนึ่งของลำต้น

แนวทางแก้ไข  ได้ทดลองปลูกโดยใช้กิ่งตอนและจัดระเบียบรากให้กระจายรอบๆ  พบว่า  สัมโอขาวแตงกวาเจริญเติบโตดี คาดว่าจะให้ผลผลิตที่ดี เพราะรากสามารถหาอาหารได้รอบลำต้นแต่จะต้องเตรียมหลุมปลูกที่ดี  ดังนี้ ขุดหลุม กว้าง  X ยาว   X   ลึก   ประมาณ 70-80  เซนติเมตร   ขุดตากแดดทิ้งไว้ให้หลุมแห้ง  นำดินที่ขุดจากหลุมเตรียมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายแล้วประมาณ  1  ปีบ ผสมลงหลุมปลูก

                        ในส่วนของผู้เสวนารายอื่นๆ เห็นด้วยสำหรับกิ่งพันธุ์แต่ขอให้ใช้กิ่งตอน เพราะจะเห็นความสมบูรณ์ของราก  ไม่ควรใช้กิ่งที่ชำลงถุงเพราะไ

คำสำคัญ (Tags): #ส้มโอ#เสวนา
หมายเลขบันทึก: 208471เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2008 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ชอบส้มโอพันธ์ขาวแตงกวามากค่ะ อร่อยกว่าส้มโอพันธ์ใดๆในประเทศไทย

เคยซื้อกิ่งมาปลูกที่ ขอนแก่น ต้นตายไปก่อนค่ะ ไม่ยอมโต

หวัดดีพี่ชัด

พาเกษตรกรไปศึกษาดูงานที่แม่กลอง ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับ

เซียนส้มโอของบางคนทีมาเหมือนกัน

จะเก็บเอามาเล่าให้ฟังภายหลังนะครับ

น่าสนใจมาก

  • พี่ชัช..เก๋เคยไปสวนคุณปราณีตที่ตำบลนางลือ...เห็ฯน้องที่สนง.บอกว่าเป็นส้ม GI (ไม่ใช่ GMO นะ.555) ที่อร่อยสุดยอดของชัยนาท...จริงปะ
  • อยากรู้ว่าส้มที่วัดสิงห์อยู่ที่ตำบลอะไรอ่ะ กลับบ้านจะแวะไปซื้อ   

อยากทราบอ่ะค่ะว่าที่ตัดส้มโอมาแล้วทิ้งไว้หลาย ๆวันอ่ะค่ะถึงจะหวานเพราะอะไรอ่ะค่ะอยากทราบมากอ่ะค่ะเพราะว่าทามโปรเจ็คเรื่องนี้อยู่อ่ะค่ะ

ตอบทางวิชาการหน่อยนะค่ะ

และทราบข้อมลมาจากไหนอ่ะค่ช่วยบอกหนูด้วยนะค่ะ

[email protected]

รบกวนส่งคำตอบมาให้หน่อยนะค่ะ จะรอค่ะ

ต้องการผลไม้อินทรีย์ 100% ทุกชนิดที่มีใบรับรองที่เชื่อถือระดับนานาชาติ

สนใจติดต่อ

081 7834849

ส้มโอสวนปราณีตอร่อยมากค่ะ คุณภาพดี ซื้อที่สวนนี้ประจำ นานกว่า 10 ปี แล้วค่ะ

อยากทราบว่าสวนคุนปรานี .ยุ่ที่ไหนคับ

0929261299#วี

ช่วงนี้ราคาส้มโอ ขาวแตงกวา กก.ละ 70 บาท ลูกละ ร้อยกว่าบาท ทำไมมันแพงมหาโหดเลย นี่ขนาดซื้อแถว อ.มโนรมย์ นะเนี่ย อุตส่าห์ขับรถมาตั้งไกล หวังจะซื้อแหล่งเลย รู้สึกผิดหวังมากเลยครับ(แดก: รับทานไม่ลงครับ) เข็ดเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท