นวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา


นวัตกรรม

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

2. พัฒนาสมรรถภาพการอ่านออก เขียนไม่ได้มาตรฐานช่วงชั้น

วัตถุประสงค์ของการจัดสร้างแบบฝึก

1.เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดพฤติกรรมทางด้านพุทธพิสัย เช่น ความรู้ ความจำ
ความข้าใจ ,การประยุกต์,การวิเคราะห์,การสังเคราะห์ และการประเมินค่า
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดพฤติกรรมทางด้านจิตพิสัย เช่น การรับรู้,การตอบสนอง
การเกิดคุณค่า,การรวบรวมพินิจ และการประเมินคุณค่า
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดพฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย เป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรม
ทางกล้ามเนื้อ และระบบประสาทกล้ามเนื้อ

ลักษณะของแบบฝึกเสริมทักษะที่ดี

ศศิธร สุทธิแพทย์ (2517: 72) วรสุดา บุญยไวโรจน์ ( 2536 : 37)
ได้สรุปและกล่าวถึงลักษณะของแบบฝึกเสริมทักษะที่ดีมีดังนี้
1. แบบฝึกที่ดีควรมีความชัดเจนทั้งคำสั่ง และวิธีทำ
2. แบบฝึกที่ดีควรคิดได้เร็วและทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน
3. แบบฝึกที่ดีควรเหมาะสมกับวัยและพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน
4. แบบฝึกที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
5. แบบฝึกที่ดีควรแยกเป็นเรื่อง ๆ แต่ละเรื่องไม่ควรยาวเกินไป

6. แบบฝึกที่ดีควรมีทั้งแบบกำหนดคำตอบให้แบบให้ตอบโดยเสรี เช่นเลือกใช้คำ ข้อความ หรือรูปภาพในแบบฝึกหัด
7. แบบฝึกที่ดีควรเร้าความสนใจของนักเรียนตั้งแต่ หน้าปกไปจนถึงหน้าสุดท้าย
8. แบบฝึกที่ดีควรได้รับการปรับปรุงควบคู่ไปกับหนังสือแบบเรียนอยู่เสมอ
9. แบบฝึกที่ดีควรมีความหมายต่อผู้เรียน และตรงตามจุดมุ่งหมายของการฝึก
10. แบบฝึกที่ดีควรเป็นแบบฝึกหัดที่ประเมิน และจำแนกความเจริญงอกงาม
ของเด็กไปด้วย

ส่วนประกอบของแบบฝึกเสริมทักษะ

1. คู่มือการใช้แบบฝึก ประกอบไปด้วย
- ส่วนประกอบของแบบฝึก - สิ่งที่ครู นักเรียนต้องเตรียม
- จุดประสงค์ในการใช้แบบฝึก - ขั้นตอนต่าง ๆ - เฉลยแบบฝึก
2. แบบฝึกเสริมทักษะ ควรมีส่วนประกอบดังนี้
- ชื่อชุดฝึกในแต่ละชุดย่อย- จุดประสงค์ -คำสั่ง - ตัวอย่าง - ชุดฝึก
- ภาพประกอบ- ข้อทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน- แบบประเมินผล

วิธีดำเนินการในการสร้างแบบฝึก

1. วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. ศึกษารายละเอียดหลักสูตร เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์ และกิจกรรม
3. พิจารณาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อ 1. โดยการสร้างแบบฝึก
4. ศึกษารูปแบบของการสร้างแบบฝึกจากเอกสารตัวอย่าง
5. ออกแบบชุดฝึกของแต่ละชุด ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย น่าสนใจ
6. ลงมือสร้างแบบฝึกในแต่ละชุด พร้อมทั้งข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

7. ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
8. นำไปทดลองใช้ แล้วบันทึกผลเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่อง
9. ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
10. นำไปใช้จริงและเผยแพร่ต่อไป

วิธีการหาประสิทธิภาพของแบบฝึก

สุนันทา สุนทรประเสริฐ(2535:55)ได้กล่าวถึงวิธีคำนวณหาประสิทธิภาพไว้ดังนี้
1.โดยใช้สูตร กระทำได้โดยใช้สูตรดังต่อไปนี้
1.1 สูตรที่ 1  E 1= ∑X         E1  คือประสิทธิภาพของกระบวนการ

  X 100
A
∑x คือ คะแนนรวมของแบบฝึกหัด
A คือ คะแนนเต็มของแบบฝึกหัด
N คือ จำนวนผู้เรียน

1.2 ใช้สูตรที่2  E 2 = ∑F     E 2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ 

  X  100

B

  ∑F คือคะแนนรวมผลลัพธ์หลังเรียน
     B คือคะแนนเต็มการสอบหลังเรียน

    N คือ จำนวนผู้เรียน
2. โดยใช้วิธีคำนวณธรรมดา
หาค่าE1 = ประสิทธิภาพของงาน เอาคะแนนงานทุกชิ้นมารวมกัน แล้วหาค่าเฉลี่ยเทียบ ส่วนเป็นร้อยละ
หาค่าE2 = ประสิทธิ์ภาพผลลัพธ์ เอาคะแนนงานทุกชิ้นมารวมกัน แล้วหาค่าเฉลี่ยเทียบส่วนเป็นร้อยละ

 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวกับแบบฝึก

1.จินตนา ใบกาซูยี ( 2535 : 17) แบบฝึกเป็นสื่อการเรียน
2. อ้อมน้อย เจริญธรรม ( 2533: 15 ) แบบฝึกเป็นอุปกรณ์การสอน
3.ศศิธร สุทธิแพทย์ ( 2517 : 63) แบบฝึกหัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
4.ผศ.จุรีย์ วิมาลา ( 2536: 54) แบบฝึกต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะ
5.วรสุดา บุญไวโรจน์ ( 2536 : 37) แบบฝึกเป็นเครื่องมือสำคัญ
6.ผศ.ศิริวรรณ ศรีกมล ( 546 : 50 ) ชุดวิชาการตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

ผลการดำเนินงาน

1. ครูประจำชั้น ครูประจำวิชาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6
มีแบบฝึกเสริมทักษะ อย่างน้อย คนละ 5 ชุด
2. นักเรียนได้รับการฝึกทักษะจากแบบฝึกที่ครูสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. ความคาดหวัง ที่ตามมา ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนคงจะดีขึ้นตามลำดับ
4. ครูทุกคนในโรงเรียนมีการพัฒนาแบบฝึกให้ดียิ่ง ยิ่งขึ้นต่อไป

ข้อเสนอแนะในการสร้างแบบฝึก

1. พึงระลึกเสมอว่าต้องให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหา ก่อนใช้แบบฝึก
2. ควรสร้างแบบฝึกให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ต้องการไม่ยาก และ
ไม่ง่ายจนเกินไป
3. การออกแบบชุดฝึกควรมีหลากหลายไม่ซ้ำซาก เพื่อให้ฝึกอย่างกว้างขวาง
4. ใช้ภาพประกอบเพื่อเร้าความสนใจ และยังเป็นการพักสายตาให้กับผู้เรียน
5. แบบฝึกต้องมีความถูกต้อง อย่าให้มีข้อผิดพลาดโดยเด็ดขาด
6. ควรกำหนดเวลาในการใช้แบบฝึกให้เหมาะสมและกระดาษที่ใช้ควรมีคุณภาพ

 

หมายเลขบันทึก: 208396เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2008 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

อาจาย์มีตัวอย่างแบบประเมินผลแบบฝึกหรือเปล่าครับ

อ่า....นึกว่าใครที่ไหน พ่อเรานี่เอง ..55+

ขอบรรณานุกรมของ อ.วรสุดา บุญไวยโรจน์ ด้วยค่อ ขอบคุณค่ะ ส่งเมลให้ด้วยจะเป็นพระคุณมากค่ะ

ขอบรรณานุกรมของ อ.วรสุดา บุญไวยโรจน์ ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ได้เข้าศึกษา เนื้อหาของท่าน โดยเฉพาะ ความหมายของแบบฝึก ของท่าน วรสุดา บุญไวโรจน์ ( 2536 : 37) แบบฝึกเป็นเครื่องมือสำคัญ

ขอบคุณมากครับ ได้ได้บรรณานุกรม

น่าสนใจค่ะ อยากได้บรรณานุกรมของอ.วรสุดา บุญยไวโรจน์ค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

วรสุดา บุญยไวโรจน์. การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในระดับ ประถมศึกษา

เรื่องน่ารู้สำหรับครูคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร

: ไทยวัฒนาพานิช, 2536.

ได้นำหัวข้อส่วนประกอบของแบบฝึกไปอ้าง นะค่ะ แต่อยากได้บรรณานุกรม ด้วยค่ะ

นรินทร์ ทองขอน. (ปีอะไรค่ะ). ชื่อเรื่องที่ปรากฎหรือเปล่าค่ะ. ...............

ขอบรรณานุกรมส่วนประกอบของแบบฝึกด้วยค่ะ...ต้องการใช้ด่วน  กำลังปรับปรุงผลงานอาจารย์ 3  จะต้องส่งภายใน 2,3 วันนี้ค่ะ...ส่งมาทาง e-mail...ขอด่วนเลยนะคะ...ขอบคุณมากค่ะ!!...

ขอบรรณานุกรมเกี่ยวกับส่วนประกอบของแบบฝึก  ดิฉันทำ คณิตศาสตร์  หาในเน็ตเจอเห็นว่า เหมาะสมกับงานดี  เพราะกรรมการติงมาว่ายังขาดส่วนประกอบของแบบฝึกในบทที่  2   ขอขอบคุณค่ะ เห็นมีในหน้าความเห็นแต่ยังไม่ได้ขออนุญาติ  เลยไม่กล้านำมาใช้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท