ครูยุคใหม่


ครูยุคใหม่

ครูยุคใหม่

          ครูในโลกยุคโลกาภิวัตน์นั้นต้องเป็นทั้งผู้ให้ความรู้ ผู้ให้เครื่องมือในการแสวงหา ความรู้ และผู้จุดประกายไฟแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น คนที่จะเข้ามาทำ หน้าที่ครู จะต้องเป็นผู้รอบรู้ในเนื้อหาวิชา ทั้งแนวลึกและแนวกว้างคร จะต้องแตกฉานในทักษะและวิธีหาความรู้สมัยใหม่ และเป็นผู้ที่มีหูตากว้างไกล เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งในชุมชุน นอกชุมชน ในสังคมหรือในชาตินอกจากนั้นยังต้องเป็นนักจิตวิทยาน นักแนะแนว ที่ดีที่จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน พร้อมกับแนะนำดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้เป็นอย่างดี ครูในอนาคต ต้องเชี่ยวชาญ ภาษาอังกฤษ อันเป็นภาษาสากลภาษาเดียวที่จะช่วยถอดรหัสความรู้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งปวงไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เนต โปรแกรม คอมพิวเตอร์ และ มัลติมีเดีย หรืออื่นๆ ครูในอนาคตจะต้องติดตามความก้าวหน้าในด้านเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา อยากให้ในอนาคตมีสภากาแฟอินเตอร์เนต หรือชมรมครูอินเตอร์เนต ที่เปิดโอกาสให้ครูแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคนิคใหม่ ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ครูในอนาคตต้องมีแนวคิดด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) เพื่อให้นักเรียนผชิญความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ และนำไปเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ของคนในอนาคต ครูในอนาคตที่สังคมไทยพึงประสงค์นั้น นอกจากจะมีบรรทัดฐานของความเป็นครูดังกล่าว มีสมรรถนะหลักในความเป็นครู ครูยังต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อความก้าวหน้าทางวิทยาการ เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม อีกด้วย ถ้าประเทศไทยสามารถสร้างครูพันธ์ใหม่ ครูแนวใหม่ หรือครูแบบใหม่ให้ตรงตาม ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ กล่าวมาในข้างต้นได้ คุณภาพของการศึกษาไทย น่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวคิดว่าการพัฒนาวิชาชีพครูนั้นต้องมุ่งที่ตัวครูเป็นสำคัญ ครูดีย่อมช่วยให้สังคมดีขึ้นทุก ๆ ด้าน สังคมจึงต้องช่วยดูแล ให้ครูอยู่ในฐานะที่เหมาะสมกับความรับผิดชอบ ต่อภารกิจที่หนักหน่วง การให้ได้สิทธิประโยชน์เหมาะสมกับภารกิจ ย่อมจะสร้างแรงจูงใจให้ ครูประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นครูดีที่สังคมต้องการได้

 

อ้างอิง

ครูน้อย.  ครูยุคใหม่”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:http://www.krunoi.in.th/content/view/1/27/

คำสำคัญ (Tags): #ครูยุคใหม่
หมายเลขบันทึก: 208173เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2008 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คุณภาพของการศึกษาไทย น่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวคิดว่าการพัฒนาวิชาชีพครูนั้นต้องมุ่งที่ตัวครูเป็นสำคัญ ครูดีย่อมช่วยให้สังคมดีขึ้นทุก ๆ ด้าน สังคมจึงต้องช่วยดูแล ให้ครูอยู่ในฐานะที่เหมาะสมกับความรับผิดชอบ ต่อภารกิจที่หนักหน่วง การให้ได้สิทธิประโยชน์เหมาะสมกับภารกิจ ย่อมจะสร้างแรงจูงใจให้ ครูประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นครูดีที่สังคมต้องการได้

ข้อความข้างบนตรงใจมากค่ะ

เราเป็นสมาชิกใหม่ยังบันทึกไมเก่ง ได้แต่มาอ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท