เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกำจัดได้โดยกระเทียมพริกไท


เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


แสงแดดที่แผดเผาลงมาในช่วงเดือนเมษายน เมื่อมองออกไปเห็นเปลวแดดไหวไกลระยิบดูแล้วไม่ว่าจะใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงเท่าไรก็เห็นท่าจะต้านไม่ไหว สภาพของอุณหภูมิที่สูงเช่นนี้ส่งผลกระทบให้อากาศเกือบทั่วทั้งภาคกลางร้อนอบอ้าว  แหล่งน้ำต่างแห้งเหือดลงอย่างรวดเร็ว สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ อย่างเช่น เชื้อโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดก็เจริญเติบโตได้ดีเช่นกันในอุณหภูมิแบบนี้ โดยเฉพาะเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่เป็นตัวปัญหาและอุปสรรคอย่างหนักแก่พี่น้องเกษตรในช่วงนี้  เราลองมาศึกษาข้อมูลเจ้าตัวนี้จากกรมการข้าวดูนะครับ
 
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงจำพวกปากดูด อยู่ในอันดับ Homoptera วงค์ Delphacidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nilaparvata lugens (Stal) ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย (generation
ลักษณะการทำลาย

        เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆเรียก “ อาการไหม้ ( hopperburn )” โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 ( generation ) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว นาข้าวที่ขาดน้ำตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก ( rice ragged stunt ) มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น )  (ที่มาของข้อมูล : กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ http://www.ricethailand.go.th/rkb/data_005/rice_xx2-05_bug02.html)
ปัจจุบันปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการปรับปรุงสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสม เพื่อให้ดินตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยสามารถกินปุ๋ยได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม เพิ่มและสะสมปริมาณซิลิสิค แอซิดให้แก่ข้าวตั้งแต่ต้นยังเล็ก ๆ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ผนังเซลล์โดยการเติม ภูไมท์ซัลเฟต 1 – 2 กระสอบต่อไร่ เพื่อเป็นการยับยั้งการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้เขาดูดและเจาะทำลายได้ยากขึ้น  ทางใบฉีดพ่นด้วย “ไพเรี่ยม” (สารสกัดจากกระเทียมพริกไท) ในอัตรา 5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร คุณสมบัติของสมุนไพรทั้งสองตัวนี้จะช่วยป้องกันและกำจัดเพลี้ยต่างๆ โดยเฉพาะเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 208051เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2008 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท