โครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆของมนุษย์


                การวิจัย  การศึกษาผลการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เรื่อง  โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆของมนุษย์  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่2  มีวัตถุประสงค์   เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่มีประสิทธิภาพผ่านตามเกณฑ์ 75/75   เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2  ต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ  จังหวัดสุรินทร์  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2551 จำนวน  37  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้คือ ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 7 ชุด  แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.35-0.92 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.83  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  0.24-0.97  ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.87   และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อมั่น 0.94   สถิติที่ใช้ คือร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน  ใช้  t-test 

                ผลการวิจัยพบว่า  ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์  มีประสิทธิภาพ   87.10/76.04 และ89.03/75.50  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  75/75  ที่ตั้งไว้  ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆของมนุษย์โดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  อยู่ในระดับมาก

                สรุปได้ว่า ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเพียงพอที่ให้ครูผู้สอนนำไปใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ได้

หมายเลขบันทึก: 207783เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท