การวาดภาพ และรูปทรงต่าง ๆ
นอกเหนือจากการตกแต่งรูปภาพแล้ว ในโปรแกรม Photoshop
ยังมีเครื่องมืออยู่จำนวนหนึ่งที่ใช้สำหรับวาดภาพ
หรือสร้างภาพกราฟิกขึ้นมาใหม่ ซึ่งแบ่งออกเป็นเครื่องมีระบายสี
กับเครื่องมือเติมสี
เครื่องมือระบายสีจำลองมาจากเครื่องมือวาดภาพจริง โดยมีเครื่องมือ
Brush จำลองมาจากพู่กัน เครื่องมือ Pencil จำลองมาจากดินสอสี
และเครื่องมือ Eraser จำลองมาจากยางลบ
ส่วนเครื่องเติมสี สำหรับเติมสีภายในขอบเขตที่กำหนดไว้นั้น
มีทั้งเครื่องมือเติมสีแบบทึบ คือเครื่องมือ Paint Bucket
และเครื่องมือเติมลวดลาย Pattern Stamp
และการเติมแบบไล่ระดับเฉดสีเข้มจางด้วยเครื่องมือ Gradient
การใช้ภาษาไทยใน Photoshop
Photoshop CS ไม่สามารถใช้ฟอนด์ชุด UPC ที่มากับ Windows ได้
โดยคุณต้องไปหาฟอนต์ชุดอื่นมาติดตั้งเพิ่ม
และมีปัญหาเรื่องวรรณยุกต์ที่อยู่สูงกว่าปกติ หรือเรียกว่า
“วรรณยุกต์ลอย” และพิมพ์ตัว ญ ไม่ได้
สำหรับใน Photoshop CS 2 สามารถใช้ฟอนด์ UPC และพิมพ์ ญ ได้
แต่ปัญหาเรื่อง “วรรยุกต์ลอย” ยังต้องมีการแก้ไขเพิ่มอยู่
แปลงข้อความเป็นรูปภาพ
ข้อความเป็นข้อมูลชนิดเวคเตอร์ Vector เช่นเดียวกับ Shape Layer
ดังนั้น คุณจึงไม่สามารถใช้คำสั่งปรับ สี/แสงเงาหรือตกแต่งได้
หากต้องการตกแต่งต้องแปลงข้อความให้เป็นภาพก่อน โดยใช้คำสั่ง
Rasterize Layer แต่หลังจากนั้นจะไม่สามารถแก้ไขแบบข้อความได้อีก
สร้างข้อความให้โค้งไปตามเส้นพาธ Text on Path
คุณสมบัตินี้เป็นของใหม่ใน Photoshop CS
ซึ่งเราสามารถสร้างข้อความที่ทอดโค้งไปตามแนวเส้น Path ใด ๆ ก็ได้
text on path
รวมทั้งสามารถบรรจุข้อความไว้ภายในรุปทรงที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน Text
in shape และที่สำคัญคือคุณสมบัติเหล่านี้ใช้กับภาไทยได้ดี
การปรับข้อความ
จะเห็นว่าทิศทางของข้อความที่เราพิมพ์จะไปตามทิศทางของเส้น Path เสมอ
นั่นคือเส้นที่ลากจากซ้ายไปขวา ข้อความก็จะอยู่ด้านบนของเส้น ส่วนเส้น
Path ที่เราลากจากขวาไปซ้าย
ข้อความก็จะอยู่ด้านล่านแต่เราก็สามารถพลิกกลับได้
นอกจากนี้ยังสามารถเลื่อนตำแหน่งของข้อความที่พิมพ์ได้เช่นกัน
1. คลิกเลือกเครื่องมือ path selection หรือ Direct Selection
2. เลื่อนเมาส์ไปบนข้อความ สังเกตว่าเมาส์จะเป็นรูป l>
3. จากนั้นก็คลิกลากข้อความไปตามเส้น Path เพื่อเลื่อนตำแหน่ง
4. และหากต้องการพลิกพลับข้อความ ก็ทำได้โดยการเลื่อนเมาส์ไปบนข้อความ
จากนั้นก็คลิกลากเมาส์ข้ามเส้น Path ข้อความก็จะพลิกกลับตำแหน่ง
5. คลิกปุ่ม /
การนำรูปภาพไปใช้ในเว็บเพจ
หลังจากที่คุณตกต่างรูปภาพได้สวยงามตามที่ต้องการแล้ว
ขั้นตอนต่อไปคือวิธีการนำรูปภาพไปใช้ในเว็บเพจ
โดยการบันทึกและกำหนดขนาดของไฟล์รูปภาพ ประเภท
และความละเอียดของรูปภาพ เป็นต้น
เพื่อที่จะนำไปใช้กับเว็บเพจนได้อย่างเหมาะสม
คำสั่ง Save for web
เป็นคำสั่งสำหรับการนำรูปภาพไปใช้ในเว็บเพจโดยเฉพาะ
โดยคำสั่งนี้จะให้คุณกำหนดค่าออปชั่นการบันทึกภาพประเภทต่าง ๆ
พร้อมกับดูภาพตัวอย่าง
ขนาดของไฟล์และระยะเวลาในการดาวน์โหลดเปรียบเทียบกันได้อีกด้วย
1. เลือกคำสั่ง File > Save for web
2. กำหนดออปชั่นต่าง ๆ ในการแปลงไฟล์ แล้วดูภาพ ขนาด
และเวลาในการดาวน์โหลดเปรียบเทียบกันในไดอะล็อกบ็อกซ์ Save for
Web
3. เลือกภาพจากกรอบตัวอย่างที่ต้องการใช้งาน
4. คลิกปุ่ม Save บันทึกภาพ
5. เลือกตำแหน่งโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บ
6. กำหนดชื่อไฟล์ภาพ
7. คลิกปุ่ม Save
การเลือกใช้ชุดออปชั่นสำเร็จรูปในการบันทึก
เมื่อต้องการผลลัพธ์แบบรวดเร็ว
คุณสามารถเลือกออปชั่นสำเร็จรูปในการแปลงไฟล์ได้จากช่อง Setting
ก็จะได้ภาพตามรายละเอียดในชุดออปชั่นที่เลือก
1. เมื่อเลือก file > Save for web เข้ามาแล้วคลิกเลือกภาพตัวอย่าง
ภาพใดภาพหนึ่ง
2. เลือกออปชั่นที่ช่อง Prest ภาพตัวอย่างตามข้อ 1
จะแสดงผลของออปชั่นที่เลือก
3. เปรียบเทียบภาพตัวอย่างกับภาพต้นฉบับ
4. เมื่อพอใจภาพตัวอย่างภาพใด ก็คลิกเลือกภาพนั้นแล้วคลิกปุ่ม Save
จากไดอะล็อกบ็อกซ์ Save for web
5. กำหนดชื่อไฟล์รูปภาพ และเลือกตำแหน่งเก็บไฟล์ คลิกปุ่ม Save
จากไดอะล็อกบ็อกซ์ Save Optimized As
ที่มา : http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/33
ไม่มีความเห็น