ปัจจุบันเป็นยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลกไปแล้ว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประโยชน์ของการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นเรียกได้ว่ามากมายมหาศาล ทั้งในด้านการศึกษา ในวงการธุรกิจ การค้า การลงทุน รวมทั้งด้านความบันเทิง เรียกว่า ครอบคลุมข้อมูลทุกมิติก็ว่าได้ ในด้านการบรรเทาสาธารณภัย อินเทอร์เน็ตก็ช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข่าวสารข้อมูล และความช่วยเหลือต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนมีส่วนประสานความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมโลกนี้อย่างใกล้ชิด
องค์ประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตเว็บไซท์ (Web Site) เพราะเว็บไซท์เป็นแหล่งหลักที่เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่นำเสนอบนอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้ทั่วโลกสามารถเข้าไปอ่านหรือชมได้นั่นเอง ในปัจจุบันองค์กรและบริษัทห้างร้านต่าง ๆ จำเป็นต้องมีเว็บไซท์ของตนเองอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อที่จะใช้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเป้าหมายได้ครอบคลุมมากที่สุด ช่วยส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันในด้านธุรกิจ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย
มารู้จักกับอินเทอร์เน็ตกับก่อน
ก่อนที่จะไปสร้างเว็บไซท์ เรามาทำความรู้จักกับอินเทอร์เน็ตกันก่อน สำหรับท่านที่ยังไม่เคยใช้งานหรือยังไม่คุ้นเคยมากนัก เพื่อจะได้รู้กระบวนการทำงานเบื้องต้นของระบบสำหรับนำไปเป็นความรู้ประกอบการพัฒนาเว็บไซต์ต่อไป
อินเทอร์เน็ตคืออะไร?
อินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องจากประเทศและสถานที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จนเรียกได้ว่าเป็น “เครือข่ายที่ไร้พรมแดน”
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อเครื่องของตนเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ทั้งประเภทข้อความ ภาพ เสียง และอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางด้านการศึกษา ธุรกิจ การค้า การลงทุน ตลอดจนถึงข้อมูลที่ให้ความบันเทิง โดยทุก ๆ คนสามารถที่จะเข้ามาใช้บริการเครือข่ายได้จากทั่วทุกมุมโลก ขอเพียงแต่ให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเท่านั้น
อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งที่รวมของข้อมูลมหาศาล และยังเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สะดวกและรวดเร็ว ความจริงแล้วอินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้น คอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่เชื่อมต่อกันต่างหากที่เป็นเจ้าของข้อมูลหรือ “ผู้ให้บริการ” ถ้าจะเปรียบเทียบกับธุรกิจการค้าทั่วไป อินเทอร์เน็ตคือศูนย์การค้า และคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อต่อคือผู้ที่มาเช่าพื้นที่เปิดร้าน ส่วนผู้ใช้ก็คือลูกค้าที่เข้ามาเดินช้อปชิ้งเข้าร้านโน้นออกร้านนี้ บ้างก็จจับจ่ายซื้อของ บ้างก็เดินเล่นตากแอร์ บ้างก็ใช้เป็นที่นัดพบ จะต่างกันก็แต่เพียงศูนย์การค้านี้เก็บผ่านประตู คือค่าบริการเชื่อมต่อที่ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตหรือ ISP (Internet Service Provider) เก็บจากทุกคนที่ใช้งานนั่นเอง
เราเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกเชื่อมต่อกันโดยหน่วยงานที่เรียกว่า “ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต” หรือ ISP (Internet Service Provider) ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่องกับอินเตอร์ เหมือนกับการที่เอาคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนมาต่อกันเป็นเครือข่าย ย่อมไม่มีใครเป็นเจ้าของเครือข่ายทั้งระบบแต่ทุกคนเป็นเจ้าของเครื่องเฉพาะส่วนของตนเอง
ISP เป็นบริษัทหรือหน่วยงานใด ๆ ก็ได้ ที่เปิดบริการให้ผู้ใช้ทั่วไปเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายของตน เพื่อต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตอีกทีหนึ่ง โดยมีการเก็บค่าบริการเป็นทอด ๆ ไป ใครต่อผ่านเครื่องของใครก็ต้องเสียค่าบริการให้กับคนนั้น การเก็บค่าบริการจากลูกค้าที่เป็นผู้ใช้รายบุคคล องค์กร บริษัท หรือจาก ISP รายย่อยภายใต้เครือข่ายของตนที่อยู่ในต่างจังหวัดอีกทีหนึ่ง ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในเมืองไทยมีหลายรายเช่น
- บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด
- บริษัท ทรูอินเทอร์เน็ต จำกัด
- บริษัท สามารถอินโฟเนต จำกัด
- บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เอ-เน็ต จำกัด
- บริษัท จัสมินอินเทอร์เน็ต จำกัด
- บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด
- และบริษัทอื่น ๆ อีกหลายราย
คอมพิวเตอร์ของเราเชื่อมต่อกับ ISP อย่างไร้
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของเราเข้ากับเครือข่ายของ ISP ทำได้หลายแบบ แต่ที่นิยมในปัจจุบันคือการต่อผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐานโดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “โมเด็ม” (Modem) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Digital) ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Analog) และแปลงกลับที่ปลายทาง
นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่อด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยให้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น เช่น
- ผ่านสายโทรศัพท์และโมเด็ม ADSL หรือนิยมเรียกกันว่า hispeed internet ที่มีความเร็วสูง
- ผ่านสายโทรศัพท์และโมเด็ม ISDN (Integrated Service Digital Network)
- ผ่านสายเช่าความเร็วสูง (Leased Line)
วิธีการเชื่อต่อแต่ละชนิดจะให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้ก็ต้องแล้วแต่ความจำเป็นของแต่ละองค์กรหรือแต่ละบุคคล รวมทั้งราคาค่าบริการก็จะแตกต่างกันด้วย
สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เราจะต้องมีโมเด็มแบบไร้สาย (Wireless Modem) หรือโทรศัพท์มือถือ เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายไร้สาย ซึ่งมักจะเป็นของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใดระบบหนึ่ง คือ DTAC, AIS หรือ Hutch
การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายอีกวิธีหนึ่งซึ่งกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือการเชื่อต่อผ่านเครือข่ายไร้สายสาธารณะ ซึ่งจะมีจุดให้บริการที่เรียกว่า “ฮ็อตสป็อต” (Hotspost) อยู่ตามศูนย์การค้า และแหล่งชุมชน โดยเราจะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมและซื้อชั่วโมงบริการจากเจ้าของ Hotspot เหล่านั้น
ที่มา : http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/33