บางส่วนของการบรรยายเรื่อง HR ที่นิด้า


      เมื่อวานผมได้ไปร่วมงาน "HR Innovation 2006"  ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)  เป็นงานที่จัดขึ้นโดยนักศึกษาปริญญาโทโครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ภายใต้การดูแลของท่าน ศ. ดร. ชาติชาย  ณ เชียงใหม่   ในงานนี้มีนักศึกษาคณาจารย์ ศิษย์เก่า และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HR) ประมาณ 600 คน 

      เริ่มต้นเปิดงานด้วยการบรรยายเรื่อง "ประเด็นท้าทายของ HRD"  โดย ดร. จิระ  หงศ์ลดารมณ์  ตามด้วยการบรรยายเรื่อง "ทุนมนุษย์ (Human Capital)" โดย ดร. สุรพงษ์   มาลี (สำนักงาน ก.พ.)  และคุณเดือนเพ็ญ   ภวัครานนท์ (ธ. กสิกรไทย)   ซึ่งผมไม่ได้ฟังการบรรยายในช่วงเช้า  จึงไม่สามารถเล่าละเอียดได้

       ในตอนช่วงบ่ายผมได้ฟังการบรรยายของ 2 ท่าน คือ คุณสุรพงศ์  ศุภจรรยา  จากบริษัท เอ็น โอ เค พรีซิซั่น คอมโพเนนท์  จำกัด และคุณฉัตรพงษ์   วงศ์สุข    นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT)    วันนี้จะขอนำบางส่วนจากการบรรยายของคุณฉัตรพงษ์มาแชร์ให้ฟังดังนี้ครับ...

      ในฐานะนายกสมาคม PMAT   คุณฉัตรพงษ์  ได้พูดถึงการพัฒนานัก HR  ว่ามี 3 ระดับ คือ

        1. ระดับ Practioner
        2. ระดับ Professional และ
        3. ระดับ Senior Professional

      ทาง PMAT  มีแผนที่จะ Certify นัก HR ระดับ 2 และ 3  อาจอยู่ในรูปของการให้ใบประกอบวิชาชีพ  นอกจากนั้นท่านยังได้พูดถึงขีดความสามารถ หรือ Competency ที่สำคัญของนัก HR ว่าแยกได้เป็น 2 หมวดใหญ่ คือ

      1. หมวดบริหารทั่วไป หรือ Generic/Management Copetency  ซึ่งในนั้นแบ่งเป็น 3 เรื่อง คือ Personal Effectiveness, Organization Effectiveness และ Business Effectiveness

      2. หมวด HR หรือ Human Resource Competency  ซึ่งประกอบด้วย 2 เรื่องใหญ่ คือ HR Management (HRM) และ HR Development (HRD)  ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะต้องไปคู่กันเสมอ

      หากย้อนกลับมาที่ Competency ในเรื่อง Personal Effectivness (ในหมวด 1) จะพบว่ามีขีดความสามารถที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งก็คือ เรื่อง ภาวะผู้นำ (Leadership)  ซึ่งคุณฉัตรพงษ์  ได้พูดถึงคุณลักษณะ 7 ประการ ของการเป็นผู้นำ (ซึ่งผมนำมาเรียบเรียงใหม่เป็นภ่ษาไทยให้ฟังคล้องจอง) ว่าจะต้อง....

     1. มองการณ์ไกล (มี Vision)
     2. ให้คุณค่าสูงสุดแก่องค์กร (Maximzing Values)
     3. สอนงานเป็น (Mentoring)
     4. เน้นการรู้จักตน (Knowing Self)
     5. ค้นหาประสบการณ์ที่ท้าทาย (Challenging Experience)
     6. ใช้ประสบการณ์สร้างภูมิคุ้มกัน (Making Sense of  Experience)
     7. ขยันสร้างความเป็นปึกแผ่น (Building a Constitnency)

      ในช่วงสุดท้าย คุณฉัตรพงษ์ ยังได้ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์  ท่านได้พูดถึง "New Mindset" ว่าจะต้อง....

     1. มองไปข้างหน้า (Proactive)
     2. มองหายุทธศาสตร์ (Strategic)
     3. กล้าที่จะเสี่ยง (Willing to take risks)
     4. มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Results-oriented)
     5. ชัดเรื่องมูลค่าเพิ่ม (Focused on adding Value)

       ... หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะพอมองเห็นประเด็นความรู้ด้าน HR ที่ผมเก็บเกี่ยวมาจากงานนี้นะครับ และต้องขอชมเชยนักศึกษานิด้าโครงการ HR ว่าจัดงานได้น่าประทับใจยิ่งครับ

คำสำคัญ (Tags): #hrd
หมายเลขบันทึก: 20656เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2006 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (หัวหิน) หลักสูตร                               บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตรหัสวิชา / ชื่อวิชา                ภว.524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอาจารย์ผู้สอน                       ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira  Academy ในการสอนของอาจารย์ยม  นาคสุข  ในวันศุกร์ ที่ 23 และ เสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์  2550 มีคำถามให้กับนักศึกษาในชั้นเรียนว่า  ทั้ง 2 วันที่ผ่านมานั้น  เรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไร?”  ผมเป็นหนึ่งในนักศึกษาในชั้นเรียนที่อาจารย์ยมสอน  เนื้อหาที่อาจารย์สอนจะครอบคลุมเน้นในเรื่อง ความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำ ทำให้สิ่งที่ผมได้รับคือ1.    ได้เข้าใจความหมายของผู้นำ และภาวะผู้นำ  แยกออกจากกันโดยชัดเจน2.    ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร / แนวทางสู่การเป็นผู้นำที่ดีแห่งยุค3.    สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ4.    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง5.    แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ6.    ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21จากความรู้ดังกล่าวข้างต้น  ผมสามารถนำกลับมาใช้พิจารณาปรับปรุงตนเองในส่วนที่ขาดหรือยังไม่เคยปฏิบัติหรือปฏิบัติยังไม่ถูกต้องในฐานะส่วนที่จะต้องแสดงบทบาทเป็นผู้นำ   ตลอดจนสามารถนำความรู้ดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์เป็นแผนงานใช้กับองค์กรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน  พร้อมกับนึกถึงสังคมไทย  ในแง่มุมของผู้นำประเทศไทยในอดีต, ปัจจุบัน และอนาคตที่อาจจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลที่มาจากประชามติของประชาชนชาวไทย ที่คาดว่าจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2550 นี้  ว่าผู้นำของประเทศไทยควรจะมีคุณสมบัติและมีภาวะผู้นำอย่างไร  ซึ่งในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทยที่มีสิทธิออกเสียงคงจะต้องพิจารณาและชี้ชวนให้บุคคลรอบข้างเลือกผู้นำในแนวทางที่อาจารย์ได้สอน หรือมีภาวะผู้นำใกล้เคียงกับทฤษฎี  เนื่องจากผู้นำจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมไทยจากสังคมที่เล็กที่สุด คือ ครอบครัว และครอบครัวใหญ่ ก็คือประเทศชาติว่าจะมีทิศทางหรือแนวโน้มดีหรือไม่ดีได้อย่างไร                                                                                                                                 ราเชนทร์   แดงโรจน์                                                                                                                                รหัส 106242005
มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ดนานาชาติ   จังหวัดเพชรบุรี จากการเรียนภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรเมื่อวัน ศุกร์ที่  24  และ เสาร์ที่  25  กุมภาพันธ์  2550  ที่ผ่านมานั้น กับอาจารย์ ยม  นาคสุข  และอาจารย์ได้ถามว่าเรียนแล้วได้รู้อะไร  ?  ก่อนอื่นต้องขอตอบว่าได้รู้จักอาจารย์ผู้สอน  และคณะทีมการสอนของ ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ จากอาจารย์ ยม นาคสุข  พร้อมทั้งประวัติการศึกษา และประสบการณ์ของอาจารย์ทีมการสอนทุกท่าน  จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการฟังและเรียนรู้การยอมรับจากอาจารย์ผู้สอนในทางบวกจึงทำให้เกิดการเข้าใจในการเรียนรู้ และได้ทราบว่าผู้นำกับภาวะผู้นำแตกต่างกันอย่างไร  ซึ่งก่อนที่จะได้เรียนตามความคิดที่ตัวเองเข้าใจคือผู้นำกับภาวะผู้นำมีความหมายเหมือนกัน  และขณะนี้เข้าใจแล้วว่าผู้นำคือ ตัวคน  ส่วนภาวะผุ้นำคือพฤติกรรมที่แสดงออกมาไม่ว่าจะเป็นการคิดหรือตัดสินในกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ต้องคิดและทำให้ประสบความสำเร็จ และภาวะผู้นำที่ดีต้องมีความเสียสละ มีคุณธรรม  และจริยธรรม ควบคู่กันไปและได้รู้ว่าความสำเร็จขององค์กรต้องมีผู้นำที่ดีที่มีภาวะผู้นำสามารถขับเคลื่อนได้  และทำให้เราทราบว่าผู้นำที่ดีและฉลาดมีลักษณอย่างไร และสามารถนำไปปรับใช้ภายในองค์กรเราได้ว่าส่วนใหนเรามีส่วนใหนเราขาดก็เติมให้เต็มในส่วนที่ขาด      และการสร้างผู้นำนั้นต้องใช้สมรรถนะ5  ด้านสำหรับการนำสุ่ภาวะผู้นำ     และได้ทราบถึงการบริหารทรัพยากรณ์บุคคลและพัฒนาคนเป็นอย่างไร  คนกับมนุษย์ต่างกันอย่างไร  และได้รู้ถึงที่ว่าการพัฒนาคนก็ต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ให้แต่สิ่งที่ดีดีเพื่อเป็นการสร้างคนให้แผ่นดินและประเทศชาติ สรุปจากการที่ได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร สามารถนำไปปรับใช้กับบทบาทที่ตัวเองเป็นอยู่ได้ว่าผู้นำที่ดีต้องมีภาวะนำ                  นางเสาวนีย์   ทวีเผ่า 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท