การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ


รวบรวมมาจากบทที่ 2 ของวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ

                การพัฒนาคุณภาพของผู้บริหาร

                บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียน

                การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเป็นลักษณะของการดำเนินงานที่มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาเด็กให้มีศักยภาพ เป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องดำเนินการตามบทบาทและหน้าที่เพื่อไปสู่จุดหมายดังกล่าว ได้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนดังนี้

                กรมสามัญศึกษา (2533, หน้า 3 – 4) ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนตามนโยบายกรมสามัญศึกษา มีดังต่อไปนี้

                1.    กำหนดนโยบาย และชี้แนวทางในโรงเรียน

                ผู้บริหารเป็นผู้กำหนดกรอบแผนงานโครงการจากหน่วยเหนือ คือ กรม กระทรวง รัฐบาลวางแผนเป็นนโยบายของโรงเรียน พร้อมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ชัดเจนให้ผู้ปฏิบัติสามารถ เข้าใจได้ตรงกัน และนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง

                2.    กำหนดกรอบของแผนงาน

                ผู้บริหารเป็นผู้กำหนดกรอบแผนงานโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ตามนโยบายในข้อ 1 เพื่อให้สอดคล้องกับแผน โครงการ และกิจกรรมที่กำหนดให้ทำในระยะเวลาใดมีขอบเขตกว้างแคบมากน้อยเพียงใดตามความเหมาะสมของงานแต่ละแผน

                3.    กำหนดผู้รับผิดชอบ แผนงาน งานโครงการ กิจกรรม

                ผู้บริหารเป็นผู้กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ โดยการพัฒนาองค์กร และจัดตั้งเป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน หรือเป็นส่วนบุคคล ทุกขั้นตอนของนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม โดยสามารถควบคุม ตรวจสอบ ติดตามงานได้ทุกระยะขั้นตอน จนกว่างานนั้นจะสัมฤทธิ์ผลตามที่ต้องการ

                4.    กระตุ้นเร่งรัด

                ผู้บริหารเป็นผู้พัฒนาด้วยการกระตุ้น เร่งรัดให้ผู้รับผิดชอบแผนงาน โครงการ กิจกรรม ดำเนินงานตามนโยบาย เพื่อให้งานนั้นดำเนินการไปตามกำหนดเวลาของแผน

                5.    การติดตาม และนิเทศ

                ผู้บริหารจำเป็นต้องควบคุม ติดตาม ดูแล และนิเทศ เพื่อให้งานนั้นเป็นไปตามแผนงาน โครงการ จึงจำเป็นต้องกำหนดการ ติดตามผลงานนั้นเป็นระยะสั้น ระยะยาวตามความจำเป็นเพื่อ         ผู้บริหารจะได้สังเกตและดูความเคลื่อนไหวของงาน และยังเป็นการให้ผู้ปฏิบัติเกิดความรู้สึกว่าเขาได้ทำงานภายใต้ความสนใจและดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บริหารอีกด้วย

                6.    การประเมินผลงาน เพื่อสัมมนาประชาสัมพันธ์ และรายงานผู้บริหารเป็นผู้กำหนด         รูปแบบแนวทางการประเมินผล เพื่อนำไปสู่การประชาสัมพันธ์ และการรายงานผลต่อประชาชนและหน่วยเหนือ

                ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์ (2535, หน้า 29) ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้บริหารไว้ดังนี้

                ผู้บริหารโรงเรียนย่อมต้องมีภารกิจหรือบทบาทหน้าที่ (Function of Administrator)           หรือต้องมีกระบวนการการบริงานที่จะต้องยึดถือเป็นจุดยืน สำหรับปฏิบัติกิจกรรมในการ               บริหารงาน กระบวนการบริหารจะช่วยให้ผู้บริหารโรงเรียนประสบความสำเร็จ ดังนี้

                1.    ช่วยให้การบริหารงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น เพราะมองเห็นความสำคัญของงานลดปัญหาความซ้ำซ้อน และสามารถมอบหมายงานได้ถูกต้อง

                2.    ช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ในการปรับปรุงการทำงานให้ทัน         ความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของสังคม

                3.    ช่วยให้โรงเรียนขยายงาน มีความเจริญเติบโต และก้าวหน้ามองเห็นปัญหาสามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามที่วางไว้

                4.    ช่วยส่งเสริมบุคคลในการทำงาน การจัดหน่วยงาน การบริหารงานได้งานเหมาะกับบุคคลเพื่อให้บุคคลปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ

                5.    ช่วยให้ผู้บริหารได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นให้บุคคลในองค์การทำงานอย่างอิสระ และมีความคิดริเริ่ม

                6.    ช่วยให้การจัดหมวดหมู่ของงานให้เป็นไปตามความเหมาะสม และรวดเร็ว

                7.    ช่วยให้มีการประเมินผล และการติดตามผลของการปฏิบัติงาน

                สนอง  เครือมาก (2537, หน้า 1168 – 1178) สรุปว่า ภารกิจการบริหารโรงเรียนเมื่อพิจารณาเทียบกับวัตถุประสงค์ของการบริหารโรงเรียน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                1.    งานหลัก เป็นงานที่เป็นไปเพื่อนักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยตรง คือ  งานวิชาการ

                2.    งานสนับสนุน  เป็นงานที่ช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติงานหลักเป็นไปอย่างมี                    ประสิทธิภาพ คือ งานกิจการนักเรียน งานบุคลากร งานธุรการ งานอาคารสถานที่ และ                       งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

                ชาญชัย  อาจินสมาจาร (2540, หน้า 96 – 106) ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารเป็นกระบวนการ มีขั้นตอน ดังนี้

                1.    ด้านวัตถุประสงค์ คือ การกำหนดเป้าหมาย ส่งเสริมสนับสนุนให้ปฏิบัติตามเป้าหมายให้คนยอมรับเป้าหมาย และหาวิถีทางให้บรรลุเป้าหมาย

                2.    ด้านการวางแผน เป็นการออกแบบแนวทางเลือก  กำหนดตามเป้าหมายแผนต้องมีความชัดเจ กระจ่าง ยืดหยุ่น สมบูรณ์ ให้เข้ากับแผนระดับบน ทำแผนให้เป็นจริง มีการวิจัยแผน และทุกคนเข้าใจแผน

                3.    ด้านจัดองค์การ การวางโครงสร้างรูปแบบตำแหน่ง หน้าที่รับผิดชอบพฤติกรรม

                4.    การปฏิบัติ ความปลอดภัย บรรยากาศ และประชาธิปไตย

                5.    ปฏิบัติงาน ให้ความรู้แก่ผู้ร่วมงาน ประสานงาน เคารพให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงาน ส่งเสริมความสามัคคีในหน่วยงาน ใช้อำนาจในการตัดสินใจ มีความรับผิดชอบ มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา และเข้าใจความรู้สึกของคน

                6.    ปรับปรุงงานและคน ซึ่งมีผลทางจิตวิทยา และก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ

                ดำรง  พลโภชน์ (2545, หน้า 28 – 31) กล่าวว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีส่วนสำคัญในการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายนั้น จะต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยทั้งภายใน และนอกโรงเรียนต้องปรับปรุง พัฒนา ทำความเข้าใจ และขอความร่วมมือ และกล่าวถึงบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ที่สำคัญ          4 ประการ

                1.    การกำหนดหลักการและแนวทางในการจัดการศึกษา โดยยึดหลักการว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ (มาตรา 22) รวมทั้งจัดการศึกษาเน้นความรู้ คู่คุณธรรม กระบวนการเรียน และบูรณาการตามความเหมาะสม (มาตรา 23)

                2.    การจัดกระบวนการเรียนการสอน กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษาใน          ด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และบริหารทั่วไป (มาตรา 39) ซึ่งเป็นบทบาทที่ผู้บริหาร          โรงเรียนจะต้องดำเนินการ

1.1   การจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา  ตามความต้องการของชุมชน

(มาตรา 27)

1.2   การจัดกระบวนการเรียนรู้ ปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นไทย การปกครองระบบ

ประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (มาตรา 7) กระบวนการสอนที่หลากหลาย (มาตรา 24)  การประเมินผู้เรียน (มาตรา 26) และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน (มาตรา 30)

                3.    การประกันคุณภาพ (มาตรา 47 – 50) โรงเรียนจะต้องประเมินภายในด้วยตนเอง เพื่อให้รู้สภาพในการพัฒนา การปรับปรุงแก้ไข และเตรียมสู่การประเมินภายนอกต่อไป

                4.    การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จัดการศึกษาทุกที่ทุกเวลาทุกโอกาสโดยการประสานจากทุกฝ่ายจากประสบการณ์   ภูมิปัญญา   ทรัพยากร (มาตรา 57)

                กรมวิชาการ (2545, หน้า 51) ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนไว้ ดังนี้

                1.    จัดให้มีแผนพัฒนาสถานศึกษา เพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน

                2.    จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ          ผู้เรียน

                3.    จัดระบบและเครื่องมือการประเมินด้านคุณลักษณะ

                4.    ประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคลรวมทั้งของ         ผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น ร่วมกับครูผู้สอน  ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง

                5.    เสนอแนวทางในการปรับปรุงสาระหลักสูตรของสถานศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                6.    สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาเพื่อร่วมพัฒนาและสร้าง       คุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียน

                จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ผู้บริหารการศึกษาควรมีบทบาทคือ ต้องมีกระบวนการบริหารที่จะต้องยึดถือเป็นจุดยืน เพื่อให้การบริหารโรงเรียนประสบความสำเร็จ โดยเป็นผู้กำหนดนโยบาย แผนงาน กำหนดผู้รับผิดชอบ แผนงาน โครงการ กิจกรรมในการพัฒนาสถานศึกษา การจัดกระบวนการการเรียนการสอน การประกันคุณภาพการศึกษา การนิเทศการเรียนการสอน การเสนอแนวทางการปรับปรุงหลักสูตร รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน

                คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียน

                คุณลักษณะ หมายถึง ลักษณะทางด้านร่างกาย และการแสดงออกของพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นส่วนของอุปนิสัย ซึ่งแสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น  ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้แสดงทัศนะไว้อย่างน่าสนใจและควรนำมาศึกษาดังนี้

                กิตติ  ตยัคคานนท์ (2532, 70 – 81) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะทั่วไปของผู้นำ หรือผู้บริหาร โรงเรียน ไว้ ดังนี้

                1.    คุณลักษณะทางกาย มีสุขภาพทางกายและใจสมบูรณ์แข็งแรงดี มีท่าทางบุคลิกดี

                2.    คุณลักษณะทางวาจา พูดเป็น พูดดี

                3.    คุณลักษณะทางจิตใจและความคิด

1.1    มีความซื่อสัตย์ต่อเองและผู้อื่น

1.2    มีความรู้ในหน้าที่และความรู้ทั่วไป

1.3    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความกระตือรือร้น

1.4    มีความฉลาดรอบรู้ สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้งานมีความก้าวหน้า

1.5    มีความศรัทธา เชื่อมั่นในงานที่ทำ

1.6    มีความรู้ รักหน่วยงาน รักงาน รักเพื่อนร่วมงาน

1.7    มีความออมชอม ประสานกันได้ดี

1.8    มีความเป็นธรรม

1.9    รู้จักจูงใจคน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน

1.10  รู้จักควบคุมตนเอง ไม่หวั่นไหวง่าย

1.11  มีการตัดสินใจกับการใช้ดุลยพินิจที่ดีและถูกต้อง

1.12  มีความกล้าหาญ เด็ดขาด จริงจัง และไม่โลเล

1.13  มีความอดทน มีสมาธิในการทำงาน ใจคอหนักแน่น และมีการบังคับใจตน

1.14  มีความตื่นตัว ทันเหตุการณ์ ทันสมัย

1.15  มีความเห็นอกเห็นใจ

1.16  ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละ และไม่ใช่อภิสิทธิ์พิเศษในทางที่ผิด

1.17  ยกย่องให้เกียรติ และให้ความไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชา

1.18  มีความสงบเสงี่ยม และถ่อมตน

1.19  มีความจงรักภักดีต่อหน่วยงาน

                จะเห็นว่า คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนมีดังนี้ คือ มีบุคลิกภาพที่ดี มีคุณธรรม รู้หน้าที่ มีเทคนิควิธีการในการบริหาร

                นพพงษ์  บุญจิตราดุลย์ (2534, หน้า 39 -40) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของ                     ผู้บริหารโรงเรียน ดังนี้

                1.    คุณลักษณะทางด้านวิชาการ

1.1   ด้านการศึกษาทางวิชาชีพ

1.2   ด้านความรู้ทั่วไปของผู้บริหาร

1.3   ด้านประสบการณ์ของผู้บริหาร

                2.    คุณลักษณะทางด้านบุคลิกภาพของผู้บริหาร

2.1   บุคลิกภาพทางกาย

2.2   บุคลิกภาพทางด้านจิตใจ

2.3   บุคลิกภาพทางด้านสังคม

                3.    คุณลักษณะทางด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน

1.1   ความมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและไหวพริบ

1.2   ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน

1.3   ความสามารถในการจูงใจคน

1.4   ความสามารถในการตัดสินใจ

1.5   ความสามารถในการประสานทั้งงานและคน

กรมสามัญศึกษา (2536, หน้า 51 – 53) ได้กำหนดลักษณะของผู้บริหารโรงเรียน มีลักษณะ

ดังนี้

1.    ลักษณะบุคลิกภาพทั่วไป เป็นลักษณะพื้นฐานที่ผู้บริหารควรมี ได้แก่ ยอมรับตนเอง นับถือคนอื่น มีความรับผิดชอบ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความอดทน มีอารมณ์ขัน ล้มแล้วลุก กล้าตัดสินใจการแก้ปัญหาต่าง ๆ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สนุกกับงาน มีหลักการที่ดี และ        มีดุลยภาพ

                2.    ลักษณะทางวิชาชีพ  ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพควรมีทักษะและความสามารถใน          ด้านต่าง ๆ ดังนี้

2.1    มีความสามารถในการบริหารตนเอง

2.2    ทราบค่านิยมที่แท้จริง

2.3    มีเป้าหมายในการทำงาน

หมายเลขบันทึก: 206243เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2008 04:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าจะบอกที่มาด้วย จะได้อ้างอิงได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท