ประวัติความเป็นมาของบทเรียนสำเร็จรูป


มารู้จักบทเรียนสำเร็จรูปกันเถิด

ประวัติความเป็นมาของบทเรียนสำเร็จรูป

                   บทเรียนสำเร็จรูปเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่ง ซึ่งได้รับความสนใจใน           วงการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542, หน้า 39-40)  ธีระชัย ปูรณโชติ (2532, หน้า 7-9) ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของบทเรียนสำเร็จรูป พอสรุปได้ดังนี้

                   บทเรียนสำเร็จรูปมีจุดเริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกา โดยศาสตราจารย์ เพรสซี่ (Presscy) แห่งมหาวิทยาลัย โอไฮโอ ได้ประดิษฐ์เครื่องสอน (teaching machinc) สำหรับทดสอบนักเรียน เมื่อ พ.ศ.2563 และได้ทำการปรับปรุงออกเผยแพร่ในปี พ.ศ.2472 แต่เนื่องจากยังไม่ค่อยมีคนเห็นความสำคัญ จึงไม่ได้รับความสนใจขากบุคคลทั่วไปนัก จนกระทั่ง เบอรุส สกินเนกอร์ (Burrhus F. Skinner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์เครื่องช่วยสอนแบบอัตโนมัติ โดยอาศัยหลักการวางเงื่อนไขการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ ซึ่งนำไปสู่การสร้างบทเรียนโปรแกรม       สกินเนอร์ ได้เสนอผลงานออกเผยแพร่ในสารสาร Scicnce  เมื่อปี พ.ศ. 2500 ทำให้บทเรียนโปรแกรมแพร่หลายไปทั่วสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ผลการค้นคว้านี้เองทำให้ สกินเนอร์ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ให้กำเนิดบทเรียนโปรแกรมแบบเชิงเส้น ซึ่งลำดับดังนี้

1.    เสนอข้อมูลหรือเนื้อหาสาระตามลำดับขั้นคราวละ 1 ข้อ

2.    มีวิธีการให้ผู้เรียนหาคำตอบต่อปัญหาแต่ละข้อ

3.    บอกให้ผู้เรียนทราบทันทีว่าคำตอบถูกหรือผิด

                   ต่อมามีนักจิตวิทยาอีกคนหนึ่ง คือ นอร์แมน เอ โครเดอร์ (Norman A. Crowder) ได้สร้างบทเรียนโปรแกรมขึ้นอีกแบบหนึ่ง โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ ความยาวไม่มากนักตั้งคำถามมีคำตอบให้เลือกตอบถึงสี่คำตอบ ถ้าตอบถูกก็เรียนเนื้อหาในส่วนต่อไป ถ้าตอบผิดจะมีคำอธิบายว่าทำไมถึงผิดแล้วให้กลับไปศึกษาเนื้อหาเดิมนั้นใหม่อีกครั้ง แล้วเลือกคำตอบใหม่ โดยวิธีนี้นักเรียนแต่ละคนจะเรียนแตกต่างกันไป บทเรียนโปรแกรมแบบนี้เรียกว่า บทเรียนโปรแกรมแบบแตกกิ่ง หรือแบบสาขา

                   แบบเรียนโปรแกรมได้รับการพัฒนาต่อ ๆ มา โดยอาศัยแนวคิดของสกินเนอร์ และ    โครเดอร์ เป็นหลัก แบบเรียนโปรแกรมในระยะหลัง ๆ ได้นำเอาเทคนิคการวิเคราะห์งานเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้มาใช้ร่วมด้วยและได้มีการนำสื่อการสอนประเภทต่าง ๆ มาใช้ในการเรียนแบบโปรแกรมร่วมกับแบบเรียนโปรแกรมด้วย

 

 

ลักษณะสำคัญของบทเรียนสำเร็จรูป

                   บทเรียนสำเร็จรูปมีลักษณะเป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ตามความสามารถของแต่ละคน โดยเนื้อหาจะเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก มีคำถามและคำตอบ โดยใช้หลักจิตวิทยาเป็นแรงจูงใจ ได้มีผู้กล่าวถึงลักษณะของบทเรียนสำเร็จรูปไว้หลายท่านด้วยกัน เช่น อาคม จันทสุนทร และเชาวลิต ชำนาญ (2521, หน้า 201-202) บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542, หน้า 42-43) ไพโรจน์ เบาใจ (2520, หน้า 1-2) บุญเหลือ ทองเอี่ยม และสุวรรณ นาภู (2520, หน้า151) เป็นต้น ซึ่งพอสรุปลักษณะสำคัญของบทเรียนสำเร็จรูปได้ดังต่อไปนี้

1.    กำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างชัดเจน สามารถวัดได้จริง หรือที่เรียกว่าจุประสงค์เชิงพฤติกรรม

2.    เนื้อหาวิชาจะแบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า กรอบ” (frame) เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ในแต่ละกรอบจะมีข้อความตั้งแต่ประโยคสั้น ๆ 2-3 ประโยค ไปจนถึงข้อความ 2-3 ตอน แล้วแต่ความเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไปตามลำดับขั้น

3.    ผู้เรียนต้องปฏิบัติหรือตอบสนองกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในกรอบ อาจจะเป็นการตอบคำถามหรือเติมคำในช่องว่าง เพื่อเป็นการย้ำทวนและผู้เรียนได้ทดสอบตนเองอยู่ตลอดเวลา

4.    การตอบของนักเรียนจะได้รับการเสริมแรง (reinforcement) โดยการทราบคำตอบโดยทันทีจากการเฉลย และอาจจะมีคำอธิบายเพิ่มเติมให้ด้วย

5.    ผู้เรียนค่อย ๆ เรียนเพิ่มขึ้นทีละขั้นเรื่อย ๆ เป็นการก้าวจากสิ่งที่รู้แล้วไปสู่ความรู้ใหม่ ที่บทเรียนสำเร็จรูปเตรียมไว้ให้

6.    ผู้เรียนมีโอกาสเรียนได้ด้วยตนเอง ไม่จำกัดเวลาจะมากหรือน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับสติปัญญาและความสามารถของนักเรียนแต่ละคน

7.    บทเรียนสำเร็จรูปจะมีการาวัดผลที่แน่นอน คือ มีทั้งการทำสอบย่อยในระหว่างที่เรียนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อวัดความก้าวหน้าในการเรียนให้เห็นอย่างชัดเจนด้วย

                  

ประเภทของบทเรียนสำเร็จรูป

                   การแบ่งบทเรียนสำเร็จรูป ตามการจัดลำดับประสบการณ์ของการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ตอสนองนั้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรงและบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา ไพโรจน์ เบาใจ (2520, หน้า 3-8) บุญชม ศรีสะอาด (2537, หน้า 78-79)บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542, หน้า 46-50) และ อำนวย  เดชชัยศรี ( 2542, หน้า 123-124) ได้กล่าวถึงประเภทของบทเรียนสำเร็จรูปไว้ พอสรุปดังนี้

1.    บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง (liner programmer) บทเรียนชนิดนี้จะจัดลำดับเนื้อหาบรรจุลงในกรอบ ตามลำดับจาก กรอบที่ 1 กรอบที่ 2 กรอบที่ 3 ไปจนกระทั่งกรอบสุดท้าย (กรอบจบ) ผู้เรียนจะต้องเรียนเรียงตามลำดับทีละกรองต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่กรอบแรกจนถึงกรอบสุดท้าย จะข้ามกรองใดกรอบหนึ่งไม่ได้ ฉะนั้นไม่ว่าคนเรียนเก่งหรือเรียนก่อนทุกคนจะต้องเรียนหมดทุกทุกกรอง แต่ผู้เรียนอาจใช้เวลาเรียนไม่เท่ากัน  ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของแต่ละคน บทเรียนแบบเส้นตรงนี้ทำได้ง่าย แต่ละกรองจะบรรจุเนื้อหาน้อย ๆ ต่อเนื่องกันไปตามลำดับ ดังเช่น ภาพประกอบต่อไปนี้

 

กรอบ 1

กรอบ 2

กรอบ 3

กรอบ 4

 

 

 

 


ภาพที่ 1 แสดงแผนภาพบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง (อำนวย เดชชัยศรี,2542, หน้า 123)

 

                   ลักษณะของการเรียนบทเรียนเป็นแบบให้ความรู้ แล้วติดตามด้วยคำถามให้ผู้เรียนตอบว่าถูกหรือผิด หรือเว้นช่องว่างไว้ให้ตอบ ถ้าผู้เรียนตอบผิดในขั้นตอนใด จะต้องอ่านทำความเข้าใจซ้ำจนกว่าจะสามารถตอบได้ถูกต้อง แล้วจึงจะก้าวหน้าอ่านในกรอบต่อ ๆ ไปได้

                   บทเรียนแบบเส้นตรงเหมาะสำหรับสอบวิชาที่เน้นเนื้อหาสาระหรือเน้นความรู้ ความจำ ความเข้าใจ แต่ไม่เหมาะที่จะสอนเนื้อหาที่เป็นความคิดเห็น เนื่องจากคำตอบที่ถูกต้องอาจมีได้หลายคำตอบ

2.    บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา ( branching programmer) เป็นบทเรียนที่มีการจัดเนื้อหาเป็นกรอบ ๆ เช่นเดียวกับแบบส้นตรง แต่การเขียนบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขาจะมีการเรียงลำดับข้อความย่อย โดยอาศัยคำตอบของผู้เรียนเป็นเกณฑ์ ถ้าผู้เรียนตอบคำถามของข้อความย่อย ๆ ที่เป็นหลักของบทเรียนได้ถูกต้อง ผู้เรียนก็จะได้รับคำสั่งให้ข้ามหน่วยย่อยได้จำนวนหนึ่งแต่ถ้าผู้เรียนตอบคำถามไม่ถูกต้องก็อาจได้รับคำสั่งให้เรียนข้อความย่อยต่าง ๆ เพิ่มเติมก่อนที่จะก้าวหน้าต่อไป การเรียนจากบทเรียนสำเร็จรูปชนิดนี้ ผู้เรียนจะต้องพยายามทำตามคำสั่งที่ปรากฏในแต่ละกรอบ การเรียนจะไม่ดำเนินไปตามลำดับตั้งแต่กรอบแรกจนถึงกรอบสุดท้าย ผู้เรียนอาจจะต้องย้อนกลับไปกลับมาในหน้าต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการให้คำตอบที่ถูกต้องของผู้เรียนเป็นสำคัญ ลักษณะของแผนภาพบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขาเป็นดังนี้

กรอบยืน1

กรอบยืน 2

กรอบยืน 3

กรอบจบ

สาขา

สาขา

สาขา

สาขา

สาขา

สาขา

 

ภาพที่ 2 แสดงแผนภาพบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา ( เปรื่อง กุมุท, 2519, หน้า 69)

 

                   ลักษณะของบทเรียนสำเร็จแบบสาขาประกอบด้วยกรอบหลักซึ่งผู้เรียนทุกคนจะต้องเรียน ซึ่งเรียกว่า กรอบยืนกรอบยืนนี้เป็นกรอบที่เป็นลำดับที่แท้จริงของบทเรียน ถ้าผู้เรียนตอบถูกต้อง ผู้เรียนก็จะเรียนตามกรอบยืนเหล่านี้ไปโดยตลอด ในแต่ละกรอบยืนจะบรรจุเนื้อหาที่เป็นหลักของเรื่องที่จะสอบอย่างสั้น ๆ ประมาณ 1-2 ย่อหน้า แล้วติดตามด้วยปัญหาหรือคำถามให้ผู้เรียนตอบแต่ลักษณะของคำถามเป็นแบบให้เลือกตอบแบบ 2 หรือ 3 ตัวเลือก ในแต่ละตัวเลือกจะระบุหน้ากำกับไว้ให้ผู้เรียนพลิกไป ถ้าผู้เรียนเลือกตัวเลือกเหล่านั้น ในกรอบยืนแต่ละกรอบจะมีกรอบสาขาหนึ่งหรือสองกรอบ แต่ละกรอบสาขามีไว้สำหรับผู้เรียนที่เลือกคำตอบไม่ถูก เพื่อสอนหรือให้คำแนะนำเสียก่อน แล้วค่อยให้ผู้เรียนกลับไปยังกรอบยืนเดิมอีกครั้ง

                   3. บทเรียนสำเร็จรูปแบบผสม (combination programmer) เป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่โอกาสการตอบสนองของผู้เรียนโดยมีทั้งแบบ เส้นตรง และแบบแตกกิ่งในเนื้อหาเดียวกัน ดังรูป

                         

                  

 


 

 

1

2

3

4

 

 

 


ภาพที่ 3 แสดงแผนภาพบทเรียนสำเร็จรูปแบบผสม (อำนวย เดชชัยศรี, 2542, หน้า 123)

1

2

3

4

 

ภาพที่ 4 แสดงบทเรียนสำเร็จรูปแบบผสม ( อำนวย เดชชัยศรี, 2542, หน้า 36)

 

            การจะใช้แบบเส้นตรงและแบบแตกกิ่งในกรอบใด ต้องพิจารณาแต่ละตอนและใช้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาของบทเรียน

          

หลักจิตวิทยาที่เป็นพื้นฐานของบทเรียนสำเร็จรูป

                   ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปนั้น อาศัยพื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สำคัญ ได้แก่ หลักจิตวิทยาของธอร์นไดด์ (Thorndike) และสกินเนอร์ ( Skinner) บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542, หน้า 41) ได้กล่าวงถึงทฤษฏีจิตวิทยาการเรียนรู้ของธอร์นไดด์ ที่นำมาใช้ในบทเรียนสำเร็จรูป ดังนี้

1.    กฎแห่งผล (law of effect) กฎนี้ได้กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทั้งสองสิ่งนี้จะเชื่อมโยงกันได้ ถ้าสามารถสร้างภาพอันพึงพอใจให้แก่ผู้เรียนได้ ซึ่งอาจจะได้จากการเสริมแรง เช่น การรู้ว่าตนเองตอบคำถามได้ถูกต้อง หรือการให้รางวัล เป็นต้น

2.    กฎแห่งการฝึกหัด (law of exercise)  การที่ผู้เรียนได้กระทำซ้ำหรือทำบ่อยครั้งจะเป็นการช่วยเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้ที่มั่นคงขึ้น ฉะนั้นการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นมากน้อยจะขึ้นอยู่กับการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกหัดในเรื่องที่เรียนนั้นตามความเหมาะสมด้วย

3.    กฎแห่งความพร้อม (law of readiness)  เมื่อร่างกายพร้อมที่จะกระทำแล้วถ้ามีโอกาสที่จะกระทำ ย่อมเป็นที่พึงพอใจ แต่ถ้าไม่มีโอกาสที่จะกระทำย่อมไม่พอใจ ในทางตรงกันข้าม ถ้าร่างกายไม่พร้อมที่จะกระทำแต่ถูกบังคับให้ต้องกระทำ ก็จะเกิดความไม่พอใจเช่นกัน

                  

                   ธีระชัย ปูรณโชติ (2532, หน้า 11) ได้กล่าวถึงหลักจิตวิทยาของ สกินเนอร์ ที่นำมาใช้เป็นหลักในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป ได้แก่

1.    หลักการเสริมแรง กล่าวคือ ผู้เรียนจะเกิดกำลังใจ ต้องการเรียนต่อไปเมื่อได้รับการเสริมแรงในขั้นตอนที่เหมาะสม และเมื่อผู้เรียนแสดงอาการตอบสนองออกมาและเห็นว่าอาการตอบสนองที่แสดงออกมานั้นถูกต้อง ก็จะเสริมแรงได้ดีกว่าการได้รับรางวัลอื่นใด บทเรียนโปรแกรมจึงนำการรู้ผลมาเป็นการเสริมแรง โดยในคำถามแต่ละกรอบหรือแต่ละตอนจะมีคำตอบเฉลยไว้ให้เพื่อผู้เรียนจะได้ทราบว่าคำตอบของตนถูกหรือผิด

2.    การเสริมแรงจะต้องกระทำทันทีทันใด

                  

หลักการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป

                   บุญชม ศรีสะอาด (2537, หน้า 77) ได้กล่าวถึงหลักการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป จะยึดหลักที่สำคัญของการสอน 4 ประการดังนี้

1.    หลักของการเรียนรู้เพิ่มทีละน้อย (gradual approximation) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้ามีการจัดแบ่งขั้นของกิจกรรมการเรียนให้เป็นขั้นตอนสั้น ๆ พอสมควร เพื่อให้เรียนรู้เป็นขั้น ๆ ขั้นแรก ๆ เป็นพื้นฐานเสริมหรือเชื่อมโยงหรือเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ในขั้นต่อ ๆ ไป ถ้ากิจกรรมการเรียนมีขั้นตอนที่ยาวและซับซ้อนเกินไป อาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายท้อถอยได้ จากหลักดังกล่าวในการสร้างบทเรียนโปรแกรมจึงมีการแบ่งเนื้อหาการเรียนออกเป็นตอน ๆ เป็นกรอบ ผู้เรียนจะค่อย ๆ เรียนรู้สั่งสมขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อเรียนหลาย ๆ กรอบจนจบบทเรียนก็จะบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ครบตามต้องการ

2.    หลักของการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (active participation) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนทำกิจกรรม เช่น คิดแก้ปัญหา ค้นหาความสัมพันธ์ ระลึกถึงความรู้เดิม ฯลฯ จากหลักดังกล่าวในการสร้างบทเรียนโปรแกรมจึงมีส่วนที่ผู้เรียนจะต้องตอบสนองอยู่บ่อย ๆ แทนทุกกรอบ บางกรอบอาจตอบมากกว่า 1 ครั้ง ลักษณะดังกลาวจะทำให้ผู้เรียนติดตามบทเรียนตลอดเวลา

3.    หลักของการรู้ผล (feedback)  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนได้รู้ผลการกระทำของตน รู้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นถูกหรือผิด ถ้าผิดที่ถูกต้องเป็นอย่างไร จากหลักการดังกล่าวในการสร้างบทเรียนโปรแกรมจึงมีการเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้ผู้เรียนทราบว่าที่ได้ตอบสนองไปนั้น หรือที่ได้เติมข้อความที่เหมาะสมลงในช่องว่าง หรือได้เลือกคำตอบแล้วนั้น ถูกต้องหรือไม่ โดยเทียบกับคำตอบที่เฉลยไว้ให้แล้ว

4.    หลักของความสำเร็จ (success experience) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนรู้สึกว่าได้รับความสำเร็จ ทำได้ถูกต้อง ในทางกลับกันถ้าผู้เรียนไม่ได้รับความสำเร็จทำไม่ได้อยู่บ่อย ๆ ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายท้อถอย ไม่อยากทำ จากหลักดังกล่าวนี้ จึงมีการปูพื้นฐานเริ่มจากง่าย ๆ มีการเขียนย้ำความรู้ และที่สำคัญคือ ในการตอบสนองบทเรียนจะพยายามให้ตอบโดยที่มั่นใจว่าถ้าผู้เรียนติดตามอย่างตั้งใจจะสามารถตอบได้ถูกต้อง<

หมายเลขบันทึก: 206241เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2008 03:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นกำลังใจให้ค่ะ เก่งมาก

บทเรียนสำเร็จรูปมีจุดเริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกา โดยศาสตราจารย์ เพรสซี่ (Presscy) แห่งมหาวิทยาลัย โอไฮโอ ได้ประดิษฐ์เครื่องสอน (teaching machinc) สำหรับทดสอบนักเรียน เมื่อ พ.ศ.2563 และได้ทำการปรับปรุงออกเผยแพร่ในปี พ.ศ.2472

แก้ไขปี พ.ศ. ให้ถูกต้องด้วยครับ พ.ศ. 2563 ยังไม่ถึงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท