บทคัดย่อ


แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตรา

ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ผู้ศึกษา นางศิริพร สุขอนันต์ ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านโคกเมา อำเภอบางกล่ำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2

                                                                  บทคัดย่อ

            การศึกษาการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบ้านโคกเมา อำเภอบางกล่ำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 2) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ให้เป็นแบบอย่างที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนตัวสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกเมา อำเภอบางกล่ำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 ระหว่างก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มประชากรเป้หมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านโคกเมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2 จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน 8 ชุด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย ( p ) ของแบบทดสอบรายข้อ มีความยากง่ายพอเหมาะอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ ส่วนค่าอำนาจจำแนก ( r ) รายข้อ ก็มีอำนาจในการจำแนกกลุ่มเด็กเก่งและเด็กอ่อนได้ดี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( x ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ) , ค่าดัชนีความสอดคล้อง (ICO ) , เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบอาศัยกรแจกแจงแบบ ที ( Paired Sample t – test ) ผลการศึกษาพบว่า 1. แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบ้านโคกเมา ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76/79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ตั้งไว้ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ที่ได้รับการฝึก โดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา สระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

หมายเลขบันทึก: 206082เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2008 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 02:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท