1.ชมรมตามรอยพ่อ/กลุ่มพืชผักปลอดสารพิษ/ปุ๋ยคอกชีวภาพ


สนองแนวพระราชดำริ "ในหลวง"
     
         

       ในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนและมั่นคง  แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานไว้นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 แล้วนั้น จะพบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอใช้ พอประมาณคำนึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ทรงเตือนสติประชาชนไม่ให้อยู่บนความประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาที่เป็นขั้นเป็นตอน ถูกต้องตามหลักวิชาตลอดจนใช้คุณธรรมเป็นกรอบในการดำเนินชีวิต ทรงแนะนำ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ให้ เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน และปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ในทุกระดับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มุ่งเน้นให้สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9(พ.ศ.2545-2549)  และการพัฒนาในระยะยาวของประเทศที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต  ในขณะที่กระแสโลกาภิวัฒน์ และการค้าเสรีได้ส่งผลกระทบแก่ชุมชนที่ยังไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงเพียงพอ  รัฐบาลจึงส่งเสริมให้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้   เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านได้ ทางโรงเรียนร่องคำจึงน้อมรับ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”  ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต ให้แก่พสกนิกรชาวไทย   และโรงเรียนน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดีที่สุด

                        ดังนั้น โรงเรียนร่องคำ นำโดย นายกิตติพร  อินทะสีดา ผู้อำนวยการโรงเรียนร่องคำ   จึงได้จัดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ขึ้น     

วัตถุประสงค์   

          1. เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียน  โรงเรียน ชุมชน ส่วนราชการและบุคคล ทั่วไป

          2. เพื่อประสานความร่วมมือให้นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับสภาพหลากหลายในวิถีการดำรงชีวิต วิถีทางเศรษฐกิจและวิถีวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จากนักวิชาการ   วิทยากร  ปราชญ์ชาวบ้าน และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน

          3.  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้

          4.  เพื่อให้นักเรียนและครอบครัวมีรายได้เสริมและช่วยลดปัญหาเศรษฐกิจให้ครอบครัว

          5.  เพื่อให้นักเรียนเกิดความผูกพันกับกิจกรรม โครงการที่ตนได้มีส่วนร่วม

เป้าหมายและผลผลิต 

          -  เป้าหมายด้านปริมาณ  นักเรียนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ  30 คน

          -  เป้าหมายด้านคุณภาพ  เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับ นักเรียน   โรงเรียน ชุมชน ส่วนราชการและบุคคลทั่วไป และนำเอาความรู้นำไปประกอบเป็นอาชีพหลักมีรายได้เสริม ช่วยลดปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัวและประเทศได้ 

ระยะเวลาดำเนินการ   ตลอดปีการศึกษา 

สถานที่   หลังบ้านพักครูหลังที่ 6  โรงเรียนร่องคำ (ทิศเหนือของโรงเรียน)

การดำเนินการ 

          1. ประชุม ปรึกษาหารือ

          2.  เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ

          3. ดำเนินการตามโครงการ

                3.1 การเลี้ยงแพะ  การทำสบู่ (นมแพะ  สมุนไพร น้ำผื้ง ถ่านชีวภาพ)

                3.2 การเผาถ่านชีวภาพ          

                3.3  การเลี้ยงปลาในบ่อพิเศษ (โอ่งน้ำขนาดใหญ่)

                3.4  การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ/ปุ๋ยชีวภาพ/น้ำหมักชีวภาพ

          4. ประเมินผลการจัดกิจกรรมงบประมาณทุนเรือนหุ้นจากสมาชิก(1,500 บาท)

ที่ปรึกษาชมรมนางอมีนา  ศิริเกษ

ผลที่คาดหวังว่าจะได้รับ  

          1. เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับ นักเรียน โรงเรียน ชุมชน ส่วนราชการและบุคคลทั่วไป

          2. นักเรียนมีความรู้ที่จะสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพเสริมรายได้ให้กับครอบครัว

          3. นักเรียนได้บริโภคสินค้าราคาถูกและปลอดสารพิษ   ลดค่าใช้จ่ายให้กับนักเรียนและครอบครัว

          สอดคล้องกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ชมมตามรอยพ่อแบ่งออกเป็น  6  กลุ่ม

 

- กลุ่มเลี้ยงแพะ

 

-กลุ่มเผาถ่านชีวภาพ/น้ำส้มควันไม้

 

-กลุ่มสบู่

  

-กลุ่มเลี้ยงปลาชีวภาพ

 
 
 
   

- กลุ่มน้ำหมักชีวภาพ/ปุ๋ยชีวภาพ

 

  

 

กลุ่มพืชผักปลอดสารพิษ

 

การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ 

                คนไทยบริโภคพืชผักเป็นจำนวนมาก สังเกตได้จากปริมาณพืชผักที่ส่งไปที่ตลาดแต่ละแห่ง ทั้งนี้ไม่นับรวมการบริโภคในครัวเรือน ชมรมตามรอยพ่อ (กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)จึงได้ทดลองการปลูกพืชผักสวนครัว โดยมีแนวคิดที่ว่า “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” โดยเน้นพืชผักที่ใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

 

  1. ปลูกผักแต่ละชนิด คือการปลูกผักในแปลงแยกเป็นชนิดๆ เช่นผักกาด 1 แปลง ผักคะน้า 1 แปลง ผักบุ้ง 1 แปลง หากเป็นการปลูกเพื่อบริโภคเองก็ควรคำนวณปริมาณให้พอดีกับการบริโภคในแต่ละครั้ง แต่ถ้าเป็นการปลูกเพื่อจำหน่ายก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด

      

2.ปลูกผักทุกอย่างรวมกัน คือการปลูกพืชผักคละกันหลายชนิด เพื่อประหยัดพื้นที่และให้มีพืชผักหลายชนิดบริโภคในเวลาเดียวกัน ต้องสังเกตว่าพืชผัก ชนิดใดที่อยู่รวมกันได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต เช่น ปลูกต้นหอมกับผักชี ผักกาดกับคะน้าและกวางตุ้งเป็นต้น

 

       

 

ชมรมตามรอยพ่อ (กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอกชีวภาพ และน้ำส้มควันไม้ เสริมและทดแทนปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน และยาปราบศัตรูพืช เป็นที่น่าสังเกตว่าผลผลิตที่ได้สูง ไม่เน่าเสียเร็ว พืชผักหวานกรอบ ไม่มีสารพิษตกค้าง การใช้น้ำจากการเลี้ยงปลาชีวภาพมารดต้นไม้เป็นระยะ จะช่วยลดการใช้ปุ๋ยได้มาก

 

            

 

การทำปุ๋ยคอกชีวภาพ

                เนื่องจากชมรมตามรอยพ่อ เลี้ยงแพะจำนวนหนึ่ง ในแต่ละเดือนจะมีปริมาณมูลแพะมากพอสมควร หลังจากที่ได้นำมูลแพะไปใส่ต้นไม้โดยตรง ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงาม จึงมีความคิดที่จะบูรณาการกับกลุ่มต่างๆภายในชมรมฯ เช่น กลุ่มเผ่าถ่านชีวภาพ กลุ่มน้ำหมักชีวภาพ กลุ่มเลี้ยงปลา และกลุ่มเลี้ยงแพะ ทำปุ๋ยคอกชีวภาพขึ้นภายในฟาร์มแพะ

แนวคิด 

                นำประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำมักชีวภาพ จุลินทรีย์จากการเลี้ยงปลา มาช่วยย่อยสลายมูลแพะในฟาร์ม

            

ขั้นตอนและวิธีทำ

  1. ปรับพื้นที่ หาไม้มาทำเป็นคอก

 

 

2. นำกระเบื้อง สังกะสี หรือวัสดุเหลือใช้มากั้นภายในคอก

 

 

 

3. กวาดมูลแพะนำมาใส่ภายในคอกทุกๆวัน หรือตามความเหมาะสม

 

       

4. นำเศษใบไม้ แกลบหรืออาหารที่แพะกินเหลือผสมกับมูลแพะ

5. นำน้ำหมักชีวภาพมารดบนกองมูลแพะ เพื่อให้จุลินทรียช่วยย่อยมูลแพะและเศษพืชต่างๆ

  

 6. ใช้น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำรดบนกองมูลแพะ ช่วยยับยั้งการเกิดก๊าซแอมโมเนีย และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ลดกลิ่นของมูลสัตว์ เป็นการเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ให้ดีขึ้นด้วยช่วยยับยั้งการฟักไข่ของแมลงในมูลสัตว์ ทำให้ลดปริมาณของแมลงโดยเฉพาะแมลงวัน

 

 

  

 

 7.กลับกองปุ๋ยคอกทุก 7 วัน

 

 

 

     ความสมดุลย์ของระบบนิเวศ

                จากการใช้ชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ก่อให้เกิดความสมบูรณ์ในระบบนิเวศ เกิดความสมดุลย์ ห่วงโซ่ของอาหารเกิดขึ้น จึงสังเกตุได้จากสัตว์ที่มาอาศัยในบริเวณชมรมตามรอยพ่อ เช่นผึ้ง แมลง นกต่างๆ

       

 

 

 

  

 

   

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 205955เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2008 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ คุณครูอมีนา ชื่นชมค่ะ

สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่แวะเยี่ยมชม ให้กำลังใจ

สวัสดีค่ะ เป็นกำลังใจให้เสมอ รักเเละคิดถึงคุณครูคนสวยเสมอ สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ

แวะมาทักทาย   บันทึกแรกค่ะ

มีความสุขในทุกๆวัน นะคะ

Take care

P ขอบคุณมากๆค่ะ

  • ขออภัยมากๆ  พึ่งกลับมาเยี่ยมบันทึกแรกค่ะ
  • มีความสุขเช่นกันค่ะ

ขอชื่นชมคุณครูนะครับ ว่าง ๆจะให้พี่ ๆ เพื่อน ๆ ไปเยียมชมนะครับ ผมอยู่ ตปท แต่สนใจเกษตรผสมผสาน เกษตรพอเพียงมากครับ

สวัสดีค่ะ อ. แกะ

ยินดีต้อนรับด้วยตวามยินดียิ่งค่ะ

ติดต่อโดยตรงที่ 043 897030 นะคะ

ขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท