พัฒนาทักษะปลูกคะน้าโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง (3)


คะน้าปลอดสารพิษ

 


เราอาจจะนำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่เตรียมไว้นำมาคลุกผสมร่วมกับไตรโคเดอร์ม่าเสียก่อน เพื่อให้มี        จุลินทรีย์คอยควบคุมเชื้อราโรคพืชซึ่งอาจจะปนเปื้อนหรือบุกรุกเข้ามาได้  โดยวิธีการทำให้ใช้ เชื้อไตรโคเดอร์ม่า  1  กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก  10  กิโลกรัม  ครั้งที่ 1 เมื่อเข้ากันดีแล้ว นำไปคลุกเคล้าเพิ่มอีกกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกจำนวน  40  กิโลกรัม พรมน้ำพอชื้นทิ้งไว้  2 -3 คืน เราก็จะได้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่มีเชื้อไตรโคเดอร์ม่ารวมอยู่ด้วยทั้งหมด 51 กก. แล้วนำมาใส่ลงในแปลง ก็จะทำให้เราได้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่มีตัวช่วยในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชไปด้วยในตัว  ซึ่งเขาจะทำหน้าที่เหมือนทหารยามที่คอยปกป้องดูแลราก และลำต้นของคะน้าของเราให้ปลอดภัยจากเชื้อราต่างๆ ที่จะเข้ามาทำลายได้

หลังจากเตรียมแปลงและปรับปรุงสภาพดินด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก และภูไมท์ซัลเฟตเรียบร้อยแล้ว บางท่านก็อาจจะใส่ปุ๋ยในช่วงก่อนปลูกเลยหรือจะใส่หลังปลูกก็ได้แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของดินในท้องถิ่นนั้นๆ  นะครับถ้าดินมีลักษณะสีดำ โปร่งร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุอยู่ในเนื้อดินอย่างเพียงพอก็ไม่จำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยในระยะก่อนปลูกก็ได้ครับ เกษตรกรบางรายเคยเล่าให้ฟังว่าเข้าใช้เทคนิคในการใส่ปุ๋ยหลังปลูกไปแล้วประมาณ 30 วัน เพราะการที่ยังไม่ใส่ปุ๋ยในช่วงแรก ๆ จะช่วยทำให้คะน้ามีโครงสร้างต้นที่ไม่อ่อนแอต่อโรคและแมลง   ต้นจะเตี้ย  แกรน ทำให้แข็งแรง ทนทาน ต่อโรคและแมลง แต่เมื่อครบอายุ 30 วัน จะเริ่มทำการใส่ปุ๋ยเข้าไป และก็สังเกตุว่าในที่สุดแล้วคะน้าก็จะเจริญเติบโตเท่ากันทั้งแปลงเองโดยอัตโนมัติ แถมยังช่วยทำให้ประหยัดปุ๋ยและยาฆ่าแมลงได้ดีมากๆ เพราะ หนอน โรคและแมลงเข้ามารบกวนน้อยมาก  อันนี้ก็เป็นความคิดเห็นและเทคนิคของแต่ละคนนะครับ ใครจะนำไปประยุกต์ใช้กับตัวเองก็ไม่ว่ากันครับ

ส่วนในแนวทางมาตรฐานที่ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะแนะนำก็คือให้เกษตรกรใช้ประมาณ ปุ๋ย 25 – 30 กิโลกรัมต่อไร่ (อย่าลืมผสมกับภูไมท์ โดยใช้ ปุ๋ย 5 ส่วน ต่อภูไมท์ผง 1 ส่วน) หว่านลงไปบนแปลงก่อนปลูก แล้วจึงค่อยทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ตามลงไปในแปลงภายหลัง โดยใช้ทั้งหมดประมาณ 1.5  - 2  กิโลกรัมต่อไร่ (เพื่อเป็นการกระตุ้นการงอกของเมล็ด  ให้นำ ไคโตซานMT  5 - 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมให้เข้ากันแล้วนำเมล็ดพันธุ์คะน้ามาแช่ไว้ 12 ช.ม.ก่อนนำไปปลูก ) หลังจากนั้นให้นำเศษไม้ใบหญ้ามาคลุมทับบาง ๆ หรือจะเป็นฟางข้าวก็ยิ่งดี เพราะจะได้ช่วยลดอุณหภูมิจากแสงแดดที่แผดเผาลงมา ทำให้ความชื้นในดินคงอยู่ได้นานขึ้น และยังช่วยให้เมล็ดของผักคะน้าไม่ถูกกระแทกจากแรงของน้ำที่เราได้ราดรดขึ้นมาจากท้องร่องจนอาจจะทำให้เมล็ดพันธุ์กระเด็นออกไปนอกแปลงหรือไหลไปรวมกันเป็นกระจุกได้ ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก และที่สำคัญคือให้เป็นที่อยู่ เป็นที่พักอาศัยของเชื้อจุลินทรีย์ในดินทำให้เขาสามารถที่จะมีชีวิตได้ยืนยาวขึ้น  หลังจากทำการหว่านเมล็ดพันธุ์เรียบร้อยแล้วควรให้น้ำให้ชุ่มชื่นทั้งแปลง และวันต่อไปควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในช่วงเช้าและเย็นทุกวัน ประมาณ 1 สัปห์ดาเมล็ดก็จะงอกออกมา
มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreenagro.com)

หมายเลขบันทึก: 205430เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท