ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่ม ถ้าดูแลรักษาพืชผัก ไม้ผลให้ สมบูรณ์แข็งแรงอย่างถูกวิธี (2)


ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่ม

 

 นอกจากการให้อาหารที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ดินก็เป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะช่วยส่งเสริมให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีด้วยเหมือนกัน ถ้าดินไม่ดีเสียแล้วปลูกอะไรก็ไม่งาม ดินที่ดีคือดินที่มีอินทรียวัตถุอยู่ในโครงสร้างของดินมากมายเพียงพออย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 5 % และมีค่าความเป็นกรดและด่างอย่างเหมาะสม คือ ดินจะต้องมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 6.0  -  6.5 ช่วงระยะที่เป็นกรดอ่อน ๆ  ค่าพีเอชของดินระยะนี้เหมาะต่อการละลายของแร่ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุอาหารที่มีอยู่เดิม หรือแร่ธาตุอาหารที่เราเติมลงไปใหม่ เมื่อเรารดน้ำลงไปน้ำก็จะเป็นตัวทำละลายแร่ธาตุเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้พืชสามารถรับธาตุอาหารในดินนั้นอย่างพอเพียง  แต่ถ้าปล่อยให้ดินเปรี้ยวมากเกินไป หรือเป็นด่างมากเกินไป ก็จะทำให้เขาละลายแร่ธาตุบางตัวออกมามากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวก  แมงกานีส, เหล็ก  และทองแดง จนเป็นพิษต่อพืชได้ เพราะแร่ธาตุในกลุ่มดังกล่าวจะละลายได้ดีในสภาพที่มีความเป็นกรดหรือด่างจัดนั่นเอง
 อันดับต่อมาก็คือ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับเซลล์ของเขา อันนี้ก็จัดว่ามีความสำคัญอย่างมากอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการเติม ซิลิก้า (ซิลิสิค แอซิด, ซิลิคอน, ซิลิเกตุ) ที่ละลายน้ำได้ขอย้ำว่าต้อง ละลายน้ำได้นะครับ เพราะว่าซิลิก้าที่ไม่ละลายน้ำพืชก็จะไม่สามารถจะดูดซับเอาไปใช้ประโยชน์ได้ ดังที่บางคนบอกว่าซิลิก้านั้นมีอยู่ทั่วไปเกือบทุกแห่งหน เช่น อิฐ หิน ดิน ทราย แกลบ ซึ่งคำตอบก็น่าจะใช่ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้นทั้งหมด เพราะซิลิก้าในกลุ่มดังกล่าวอาจจะมีอยู่จริง แต่ที่ละลายน้ำได้นั้นจะมีอยู่น้อยมาก จึงจะขอเปรียบเทียบให้ดูพอเป็นที่เข้าใจนะครับ  เช่นให้ลองสังเกตุดูว่าเมล็ดข้าวโพดที่นำมาคั่วเป็น ป๊อปคอร์น นั้น ซึ่งทั้งแข็งและเหนียวไม่สามารถที่จะละลายน้ำได้ ถ้าเรานำมาละลายในแก้วที่มีน้ำ ก็อาจจะมีบางส่วนละลายออกมาบ้างแต่ก็น้อยมาก  แต่ในทางกลับกันถ้าเรานำ ป๊อปคอร์น (ข้าวโพดที่คั่วและพองตัวออกแล้ว) นำมาแช่น้ำ อันนี้จะเห็นภาพเลยว่า เขาสามารถที่จะละลายกับน้ำได้ดีกว่ามาก เมื่อละลายน้ำได้ง่าย ก็หมายถึง เขาสามารถที่จะซึมซาบเข้าสู่สิ่งอื่น ๆ ได้ง่ายด้วยเช่นกัน   ดังเช่นซิลิก้า ที่ได้จากหินแร่ภูเขาไฟ เช่น ภูไมท์, ภูไมท์ซัลเฟต และ ไคลน็อพติโลไลท์  ซึ่งได้หินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้ เป็น ลาวา ที่ผ่านความร้อนเป็น ล้าน ๆ องศ์ศาแล้ว เกิดแรงบีบแรงอัดจากภายในปล่องภูเขาไฟ และทะลักทะลายออกมาจากปล่อง เจอชั้นบรรยากาศที่เบาบางกว่า จึงทำให้เกิดการขยายและพองตัวขึ้น จึงทำให้มวรสารภายในเปราะ เบาบาง และส่วนหนึ่งในนั้นก็คือซิลิก้า จึงทำให้ซิลิก้าที่ได้จากหินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้ละลายออกมาได้ง่ายและถูกพืชดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายกว่า ซิลิก้า ที่ได้จาก ทราย   ดังนั้นจึงทำให้ผนังเซลล์ของพืชที่ได้รับซิลิก้าเข้าไปจึงมีความแข็งแกร่งขึ้นมาเกือบทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ  จึงทำให้เหมือนกับมีเกราะป้องกันอยู่อีกชั้นหนึ่ง ทำให้พวกเพลี้ย หนอน แมลง รา ไร ต่าง ๆ ไม่สามารถที่จะเจาะเข้าทำลายได้ง่าย
 ปัจจัยพื้นฐานที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับที่จะช่วยทำให้เราสามารถผลิตเกษตรแบบปลอดสารพิษได้สำเร็จ และยั่งยืนตลอดไป  เพราะยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมายที่ยังต้องศึกษาและค้นคว้าต่อไป  โดยเฉพาะประสบการณ์ในแปลงนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรมือใหม่  แต่ถ้าเดินมาถูกทางแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป อย่างน้อยปัจจัยพื้นฐานที่ได้อธิบายให้ฟังนั้นก็เป็นพื้นฐานที่จะช่วยทำให้เรามีความสามารถ และศักยภาพในการผลิตเกษตรปลอดสารพิษได้โดยทื่ไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคที่เกิดจากปลายเหตุให้สิ้นเปลืองไปโดยเปล่าประโยชน์ และบางครั้งก็ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นเลย

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

 

หมายเลขบันทึก: 205408เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท