ทำปุ๋ยละลายช้าใช้เอง เพื่อลดการสูญเสียในยุคที่ปุ๋ยแพง


ประหยัดปุ๋ย

 

ในช่วงที่ปุ๋ยแพง เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยทุกเม็ดให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะทำให้ต้นไม้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ไม่เกิดการสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์  ปุ๋ยเคมีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีองค์ประกอบอื่นๆ เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยไม่ใช่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์   เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเติมเต็มหรือเกาะยึด ซึ่งนักวิชาการบางท่านอาจจะเรียกว่าตัว ฟิลเลอร์ (Filler) จึงทำให้เราสามารถที่จะรับรู้ได้ว่า ปุ๋ยหนึ่งกระสอบนั้น จะมิได้หมายถึงว่าจะต้องมีปุ๋ยจริงๆ อยู่เต็มจำนวนตามน้ำหนักข้างกระสอบนั้นจริงๆ 

ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0  นั้นหมายถึงมีเนื้อปุ๋ยอยู่เพียง 46 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักหรือร้อยละ 46 ของน้ำหนักข้างกระสอบ ดังนั้นถ้าปุ๋ยหนึ่งกระสอบหนัก 100 กก. ก็จะมีปุ๋ยอยู่ในกระสอบนั้น 46 กิโลกรัม แต่ถ้าเราเปรียบเทียบกับความเป็นจริงของน้ำหนักปุ๋ยในปัจจุบันส่วนมากจะมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมต่อหนึ่งกระสอบ ดังนั้นภายในกระสอบก็จะมีปุ๋ยจริง ๆ เพียง 23  กิโลกรัมของน้ำหนักปุ๋ย 50 กิโลกรัม ฉะนั้นเมื่อเรานำปุ๋ยใส่ลงไปรอบ ๆ ทรงพุ่มของต้นไม้แล้วทำการรดน้ำ บางครั้งอาจจะยังมีกากหรือเศษปุ๋ยหลงเหลืออยู่ที่พื้นดิน  โดยเกษตรกรยังคงเข้าใจผิดคิดว่าเนื้อปุ๋ยนั้นยังคงอยู่ที่พื้นดินนั้น ก็ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดจริงๆ เพราะความจริงแล้วเนื้อปุ๋ยอาจจะละลายไปกับน้ำที่นำมารดตั้งนานแล้ว และบางส่วนก็อาจจะระเหยไปในอากาศตามความร้อนแรงของอุณหภูมิและแสงแดดที่ส่องเข้ามา  หรืออีกทางหนึ่งก็อาจจะละลายไหลลึกลงไปในชั้นดินระดับลึกๆ  ต่ำกว่าระดับรากของพืชที่จะดูดกินหรือนำมาใช้ได้

ดังนั้นเราควรนำหินแร่ภูเขาไฟซึ่งมีค่า C.E.C. (Catch-ion  Exchange Capacity) หรือภาษาไทยของเราเรียกว่าค่าความสามารถในการยึดหรือจับตรึงประจุบวก อย่างเช่น ภูไมท์, สเม็คไทต์ และไคลน็อพติโลไลท์ โดยการนำมาผสมร่วมกับปุ๋ยเคมีได้ทุกสูตรในอัตราที่จำนวนของปุ๋ยเคมี 5 ส่วน และใช้ หินแร่ภูเขาไฟ  5 ส่วน หรือจะเทียบเป็นกระสอบก็ให้ใช้ ปุ๋ยเคมี 2 กระสอบ และใช้ภูไมท์ 1 กระสอบ  ก็จะช่วยทำให้ปุ๋ยที่มีคุณสมบัติในการละลายและสลายตัวเองค่อนข้างเร็วก็จะถูกจับตรึงเข้าไปอยู่ในโครงสร้างของหินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้ และถูกรากพืชค่อยๆ ดูดซับกินเข้าไปที่ละน้อย ๆ และต่อเนื่องอย่างพอดี ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ทำให้พืชไม่มีอาการเฝือใบ หรืออาการขาดสารอาหาร จึงช่วยทำให้เกษตรสามารถที่จะใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คุ้มค่าต่อเงินที่ซื้อมาทุกบาททุกสตางค์

ในยุคนี้อาจจะต้องหาตัวช่วยเกาะ ช่วยยึด หรือพันธมิตรกันไว้บ้างก็ดีนะครับ  ถ้าอยู่หัวเดียวกระเทียมลีบอาจจะไม่ได้เป็นรัฐบาล  เหมือนดังที่เราได้เห็นพรรคการเมืองบางพรรคเป็นอยู่ตอนนี้ก็ได้นะครับ

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

 

หมายเลขบันทึก: 205404เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 07:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท