Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

สิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายไทย : มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของประชากรแต่ละคน


นับช่วงเวลาที่มีการก่อตั้งรัฐสมัยใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่ในปลายรัชกาลที่ ๕  ประชากรที่อาศัยอยู่จริงในประเทศไทยก็ได้ถูกจำแนกแยกแยะโดยกฎหมายของรัฐให้มีสิทธิในสถานะบุคคล (Right to legal personality) ในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของประชากรแต่ละคน

ในประการแรก การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยภูมิลำเนา ทำให้ประชากรในรัฐไทยถูกจำแนกออกเป็น ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) บุคคลที่มีตั้งบ้านเรือนในประเทศไทย “ย่อมมีสถานะเป็นผู้มีภูมิลำเนาตามกฎหมายเอกชนในประเทศไทย” ในขณะที่ประชากรที่ไม่มีบ้านเรือนในประเทศไทย “ย่อมไม่มี” สถานะเป็นผู้มีภูมิลำเนาตามกฎหมายเอกชนในประเทศไทย ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมส่งผลต่อการกำหนดกฎหมายที่มีผลกำหนดสาระแห่งสิทธิในความเป็นบุคคลตามกฎหมายที่สำคัญ กล่าวคือ (๑) การเริ่มต้นสภาพบุคคลตามกฎหมาย (๒) ความสามารถโดยสมบูรณ์ของบุคคลตามกฎหมาย และ (๓) การสิ้นสุดสภาพบุคคลตามกฎหมาย

ในประการที่สอง  การก่อตั้งสถาบันกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในประเทศไทยในราว พ.ศ.๒๕๔๒[1]  ทำให้ประชากรในรัฐไทยถูกจำแนกออกเป็น ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) บุคคลที่ได้รับการบันทึกชื่อในทะเบียนบุคคลของรัฐ ซึ่งทำให้มีสถานะเป็น “บุคคลที่มีรัฐให้ความคุ้มครอง” หรือมักเรียกสั้นๆ ได้ว่า “คนมีรัฐ” และ (๒) บุคคลที่ไม่ได้รับการบันทึกชื่อในทะเบียนบุคคลของรัฐ ซึ่งทำให้มีสถานะเป็น “บุคคลที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากรัฐ” หรือที่มักเรียกสั้นๆ ว่า “คนไร้รัฐ (Stateless)

ในประการที่สาม  การก่อตั้งสถาบันกฎหมายว่าด้วยสิทธิในสัญชาติไทยในประเทศไทยในราว พ.ศ.๒๕๕๔[2]    ทำให้ประชากรในรัฐไทยถูกจำแนกออกเป็น ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) บุคคลที่ได้รับรองว่า มีสิทธิในสัญชาติไทยแล้ว ก็ย่อมมีสถานะเป็น “คนสัญชาติไทย” และ (๒) บุคคลที่ได้รับรองว่า มีสิทธิในสัญชาติไทยแล้ว ก็ย่อมมีสถานะเป็น “คนต่างด้าว”



[1] อันเป็นปีที่มีการประกาศใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อจัดทำทะเบียนบุคคลที่มีสถานะเป็นประชากรของรัฐไทย กล่าวคือ บุคคลที่อาศัยอยู่จริงในประเทศไทย

[2] อันเป็นปีที่มีการประกาศใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกว่าด้วยสัญชาติไทย เพื่อรับรองสิทธิและให้สิทธิในสัญชาติไทยแก่ประชากรของรัฐไทย

คำสำคัญ (Tags): #iccpr
หมายเลขบันทึก: 204945เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 03:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท